Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

AMP-Gold ชุดตรวจกุ้งตายด่วน ผลงานการันตีรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ  

โรคกุ้งตายด่วนหรือโรคอีเอ็มเอส เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและอุตสาหกรรมกุ้ง จนทำให้ประเทศไทยผลิตกุ้งลดลงถึง 50-60% และเสียแชมป์การส่งออกให้แก่ประเทศอื่น มากกว่านั้นไทยยังต้องนำเข้ากุ้งทดแทนจากประเทศอื่น การตรวจที่ให้ผลแม่นยำและรวดเร็วจะช่วยควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที และนักวิจัยไทยได้พัฒนาชุดตรวจที่สามารถใช้งานง่าย โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ผล เป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งตลอดจนอุตสาหกรรมส่งออกกุ้งระดับประเทศ เมื่อนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาชุดตรวจ โรคกุ้งตายด่วนหรือโรคอีเอ็มเอส (EMS: Early Mortality Syndrome) ที่ใช้งานง่ายและตรวจได้รวดเร็ว ข้อมูลจากไบโอเทคระบุว่า ประเทศไทยเสียอันดับการส่งออกกุ้งมาตั้งแต่ปี 2555 เนื่องจากปัญหาจากโรคระบาดในกุ้ง โดยเฉพาะโรคกุ้งตายด่วนที่สร้างความเสียหายอย่างมาก และส่งผลกระทบให้ไทยผลิตกุ้งลดลงกว่า 50-60% และแม้ว่าเกษตรกรจะมีลูกกุ้งสายพันธุ์ดี แต่หากยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อโรคในกุ้งได้ โอกาสการติดเชื้อในบ่อกุ้งก็ยังมีอยู่มาก ดังนั้น การตรวจพบเชื้อก่อโรคดังกล่าวให้ได้โดยเร็ว จะสามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถวางแผนการกำจัดหรือควบคุมไม่ให้เชื้อระบาดไปในบ่อเลี้ยงกุ้งอื่นๆ ได้อย่างทันท่วงที สำหรับโรคกุ้งตายด่วอีเอ็มเอสหรือกลุ่มอาการตับและตับอ่อนตายเฉียบพลัน เป็นโรคที่เกิดขึ้นในกุ้งขาวแวนนาไม กุ้งกุลาดำ และกุ้งน้ำเงินตะวันออก โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มวิบริโอพาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) เข้าทำลายเซลล์ตับและตับอ่อนของกุ้งอย่างรุนแรง ส่งผลให้ตับและตับอ่อนมีสีซีดขาว ลีบฝ่ออย่างเห็นได้ชัด อาจมีจุดหรือเส้นสีดำที่ตับ เชื้อก่อโรคชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงและมีความเค็มมาก การติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายใน 20-30 วันหลังจากปล่อยลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยง ในช่วงแรกกุ้งในบ่อจะไม่แสดงอาการผิดปกติอย่างชัดเจนมากนัก ไม่มีการเกยขอบบ่อให้เห็น แต่จะมีการว่ายน้ำแบบเฉื่อย กินอาหารลดลง เปลือกนิ่ม และมีสีเข้มขึ้น หลังจากนั้นจะเริ่มพบกุ้งตายในยอ และตายก้นบ่อ สุดท้ายจะพบซากกุ้งลอยขึ้นมา และทยอยตายมากขึ้น จนกระทั่งตายเกือบหมดบ่อ สำหรับการรักษาโรคกุ้งที่ผ่านมานั้น มีการใช้ยาปฏิชีวนะแต่ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และยังเป็นสาเหตุของสารตกค้างในตัวกุ้งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตรวจพบการติดเชื้อของกุ้งก่อนปล่อยลงบ่อรวมทั้งมีการตรวจกุ้งในบ่อเพื่อเฝ้าระวังโรค จึงนับเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและลดความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจได้ จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาชุดตรวจเชื้อก่อโรคตับตายเฉียบพลันสาเหตุหนึ่งของโรคกุ้งอีเอ็มเอส หรือ “Amp-Gold” ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงเพาะฟักหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ผล วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย หัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด ไบโอเทค ผู้พัฒนาชุดตรวจ Amp-Gold กล่าวถึงจุดเด่นของชุดตรวจนี้ว่า ชุดตรวจนี้เป็นการพัฒนาวิธีตรวจเชื้อแบคทีเรียวิบริโอพาราฮีโมไลติคัส ด้วยการใช้เทคนิคแลมป์ (LAMP: Loop-mediated isothermal amplification) เป็นเทคนิคเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อยีนที่สร้างสารพิษ (toxin gene) ของเชื้อดังกล่าว เทคนิคดังกล่าวอาศัยการทำงานของเอ็นไซม์ที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 45 นาที ต่อจากนั้นนำสารละลายที่ได้มาตรวจจับกับดีเอ็นเอ ที่ติดฉลากด้วยอนุภาคทองคำนาโน แล้วเติมเกลือแม็กนีเซียมซัลเฟตลงไป ซึ่งจะทำให้สามารถอ่านผลการตรวจได้ด้วยตาเปล่าจากสีที่เกิดขึ้น คือ สีแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อ และสีเทาม่วง แสดงว่าไม่พบการติดเชื้อ วรรณสิกา อธิบายต่อไปว่าเทคนิคนี้ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมง มีความไว (Sensitivity) มากกว่าเทคนิคพีซีอาร์ (PCR) ซึ่งเป็นเทคนิคดั้งเดิมถึง 100 เท่า และไม่ปรากฎผลบวกเมื่อทดสอบกับดีเอ็นเอของแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ที่พบได้ทั่วไปตามบ่อเลี้ยงกุ้ง ด้วยเทคนิคนี้ทำให้ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพงและไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ในการอ่านผลการตรวจ เทคนิคนี้สามารถนำไปตรวจลูกกุ้งหรือกุ้งทุกระยะการเลี้ยงได้ทั้งในฟาร์มขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ทันท่วงที เพื่อช่วยลดความเสียหายจากการระบาดของโรคนี้ และเป็นการลดการนำเข้าชุดตรวจจากต่างประเทศ นำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของประเทศอีกทางหนึ่ง นักวิจัยไทยระบุ สำหรับผลงานวิจัยเรื่อง “Amp-Gold” ชุดตรวจเชื้อก่อโรคตับตายเฉียบพลันสาเหตุหนึ่งของโรคกุ้งอีเอ็มเอสนี้ ยังได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี 2560 ประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ซึ่งมีคณะผู้วิจัย คือ วรรณสิกา เกียรติปฐมชัยในฐานระหัวหน้าคณะผู้วิจัย ณรงค์ อรัญรุตม์, จันทนา คำภีระ และศราวุฒิ ศิริธรรมจักร จากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด ไบโอเทค สวทช. โดยการวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ (วช.) ผู้จัดการออนไลน์ 20 ก.พ.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร