Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักวิจัยเร่งพิทักษ์ “ปะการังโต๊ะ” ที่เหลืออยู่หลังถูกขโมยเกลี้ยงในเขตทหาร  

นักวิจัยเผยหลังพบ “ปะการังโต๊ะ" ที่ปลูกไว้ในเขตทหารถูกขโมยเกือบเกลี้ยง ทิ้งไว้เพียงปะการัง 4 กอที่เอาไปลำบาก ระบุเป็นข้อคิดในการทำงานว่าต้องพิจารณาถึงความยั่งยืนในการพิทักษ์ปะการังปลูกด้วย จากนี้ต้องเร่งนำปะการังที่เหลือออกมาก่อน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุถึง “ปะการังโต๊ะ” เพาะฟักแบบอาศัยเพศและนำไปปล่อยที่เกาะจาน จ.ชลบุรี หายไป ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะถูกขโมยไป เนื่องจากไม่เหลือร่องรอยที่บ่งบอกว่าถูกพายุพัด และปะการังที่ปลูกนั้นสวมเข้าไปในรูของโครงสร้างสำหรับยึดปะการัง ที่สามารถออกแรงดึงได้ ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้สอบถามไปยัง รศ.ดร.สุชนาถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปะการังที่ปลูกที่เกาะจานนั้นมีหลายรุ่น โดยรุ่นแรกที่ปลูกไปนั้นตายหมด แต่ได้ทยอยปลูกใหม่หลายครั้ง รวมแล้วมีปะการังเกือบ 100 กอ แต่หลังจากไปดำน้ำที่บริเวณดังกล่าวพบปะการังหายไปและเหลือทิ้งไว้เพียง 4กอ สำหรับปะการังที่เหลือไว้นั้นเป็นปะการังที่อายุมากกว่ารุ่นอื่นๆ และยึดกับโครงสร้างค่อนข้างแน่น ซึ่ง รศ.ดร.สุชนาตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นเหตุให้ขโมยไปได้ยาก ส่วนปะการังอื่นๆ ที่หายไปนั้นยังเล็กอยู่มีขนาดประมาณ 15 เซ็นติเมตร ซึ่งเอาไปได้ง่าย คาดว่าคนขโมยน่าจะนำไปขาย และปะการังขนาดนี้พอดีสำหรับใส่ในตู้ปลา อย่างไรก็ตาม นักวิจัยทางทะเลระบุว่า ลักษณะของปะการังที่ปลูกนั้นมีลักษณะเฉพาะ ทั้งขนาดและพันธุ์ที่ไม่ค่อบพบตามธรรมชาติ ดังนั้นหากเธอเห็นก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นปะการังจากงานวิจัย และปกติปะการังโต๊ะในธรรมชาติไม่ค่อยถูกขโมยเพราะมีขนาดใหญ่และยึดแน่น ทำให้เอาไปได้ยาก ปกติแล้วทีมวิจัยจะเข้าไปตรวจสอบปะการังที่ปลูกไว้เสมอ ซึ่งนอกจากที่เกาะจานแล้วยังที่อื่นอีก 2-3 ที่ และช่วงหลังๆ สังเกตว่ามีทั้งเรือขนาดเล็กและเรือขนาดใหญ่เข้ามาในพื้นที่เกาะจานซึ่งเป็นพื้นที่ทหาร แม้ทหารทีติดตามคณะวิจัยไปด้วยจะออกไปขับไล่เรือที่บุกรุกพื้นที่แต่ก็ไม่มีเรือลำใดปฏิบัติตาม พวกเขาไม่กลัวทหารเลย” รศ.ดร.สุชนาตั้งอีกข้อสังเกต จากเหตุการณ์ดังกล่าว รศ.ดร.ระบุว่า จะเร่งนำปะการังกอที่เหลือออกมา และตอนนี้ได้แง่คิดว่าการจะฟื้นฟูนั้นต้องทำให้ปะการังได้รับผลกระทบจากภายนอกน้อยที่สุด และจะต้องเลือกสถานที่ปลูกที่สามารถปกป้องปะการังได้ อีกทั้งจะเพิ่มวิธีในการปลูกปะการังที่ยึดแน่นกว่าเดิม เพื่อเอาไปได้ยากขึ้น ผู้จัดการออนไลน์ 21 มี.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร