Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไทย-จีน จับมือผุด "วิทยาลัยยางพาราไทยจีน" เชื่อม ม.อ.-ม.เทคโนโลยีชิงเต่า ผลิตบุคลากร ยกระดับอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง  

ประธานสภาวัฒนธรรมไทยจีน ลงนามความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ ม.เทคโนโลยีชิงเต่า ผลักดัน “วิทยาลัยยางพาราไทยจีน” ยกระดับอุตสาหกรรมยางพาราไทย พร้อมผลิตหลักสูตรร่วมสองชาติ ด้านจีนตั้ง “พินิจ จารุสมบัติ” เป็นอธิการบดีกิตติมศักดิ์วิทยาลัย วันนี้ (21 มี.ค.) ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า มณฑลซานตง ประเทศจีน มีการลงนามความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างสภาวัฒนธรรมไทยจีน โดยนายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทยจีนและส่งเสริมความสัมพันธ์ และนายหม่า เหลียนเซียง อธิการบดี ม.เทคโนโลยีชิงเต่า เพื่อร่วมมือผลักดันวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน (泰中国际橡胶学院) ผลิตบุคลากรรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยางพารา โดยมีสักขีพยานเป็นบุคคลสำคัญประกอบไปด้วย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายหลิว ซิงหยุน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมหาวิทยาลัยชิงเต่า นางวรพรรณี ดำรงมณี รองกงสุลใหญ่ ณ นครชิงเต่า นายหลิว เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมหาวิทยาลัยชิงเต่าระบุว่าความร่วมมือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างไทยจีน ตามยุทธศาสตร์ One Belt, One Road (一带一路) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่จะทำให้ภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีความร่วมมือกันมากขึ้น มีสันติสุข มีความรุ่งเรือง ช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและความยากจน ในเส้นทางการค้าทางบกและทางทะเล นายพินิจกล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เพียงแค่คิดก็เป็นกำไรแล้ว โดยเป็นกำไรของทั้งสองประเทศ เพราะเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของทั้งสองประเทศคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตวัตถุดิบด้านยางพาราอันดับหนึ่งของโลก คือ ปีหนึ่งประมาณ 4 ล้าน 2 แสนตัน ส่วนประเทศจีนก็เป็นประเทศผู้ใช้วัตถุดิบยางพาราอันดับหนึ่งของโลกเช่นเดียวกัน ซื้อจากประเทศไทยปีหนึ่งประมาณ 2 ล้าน 6 แสนตัน หรือประมาณร้อยละ 60 ของการใช้ของประเทศจีน ดังนั้นเมื่อมาพบกันจะเป็นวินวินทั้งสองฝ่าย” ประธานสภาวัฒนธรรมไทยจีนระบุ และว่า“ผมคิดไม่ถึงว่าจากยุทธศาสตร์ประชารัฐของท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงวันนี้จะถูกพัฒนามีรูปธรรมเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่า ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางภาคตะวันออกของจีน วันนี้โรงงานยางรถยนต์ที่อยู่ในมณฑลซานตง และมณฑลอื่นๆ ไปลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทย 4-5 โรงงาน นายพินิจกล่าวอีกว่า สำหรับความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์กับ ม.เทคโนโลยีชิงเต่านั้นพิสูจน์ให้เห็นว่าการไปมาหาสู่ระหว่างสองสถาบันนั้นจะเป็นไปด้วยความรวดเร็วกว่าในอดีตมาก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางทางเรือ ซึ่งเมืองทั้งสองล้วนแล้วแต่เป็นเมืองท่า ขณะที่หากเดินทางทางเครื่องบินระหว่างสองเมืองก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น อนึ่ง วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา โดยวางแผนจะเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมวัสดุโพลิเมอร์, วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมอัตโนมัติ ในสองรูปแบบคือ แบบปกติ เรียนที่จีนอย่างเดียวเป็นเวลา 4 ปี และแบบ 2+2 คือเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ 2 ปี และ ม.เทคโนโลยีชิงเต่า 2 ปี โดยแบบ 2+2 ผู้จบการศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้งสองมหาวิทยาลัยในสองประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนจะเปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาโทอีกด้วย โดยแบ่งเป็นสองรูปแบบเช่นกัน คือแบบปกติ และแบบ 1+1 (เรียนที่ไทย 1 ปี และเรียนที่จีน 1 ปี) ในงานนี้ ทางมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่ายังได้แต่งตั้งนายพินิจเป็นอธิการบดีกิตติมศักดิ์ของวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนอีกด้วย โดยจะมีการรับนักศึกษาชุดแรกในปี 2560 นี้ ข้อมูลจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว เมื่อปี 2556 ระบุว่า ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดยางพาราธรรมชาติของจีนมากกว่าครึ่งของการนำเข้าทั้งหมด โดยในปี 2555 ไทยสามารถส่งออกไปยังจีนประมาณ 1.1 ล้านตัน รองลงมาเป็นการส่งออกยางสังเคราะห์ปริมาณ 1.4 ล้านตัน ทั้งนี้ปริมาณที่ไทยส่งออกยางพาราไปยังจีนนั้นคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 จีนจะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงปีละ 11.5 ล้านตัน เป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของผลผลิตยางพาราโลก โดยจีนไม่มีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้ายางธรรมชาติ แต่ผู้นำเข้าต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล โดยที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงเขตการคาเสรีอาเซียน-จีน เนื่องจากจีนจัดให้ยางธรรมชาติเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว จึงมีการเก็บอัตราภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควันและยางแท่งอยู่ที่ร้อยละ 20 น้ำยางข้นเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 7.5 อีกทั้งการนำเข้ายางทุกประเภทจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 17 ผู้จัดการออนไลน์ 21 มี.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร