Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ใช้เทคนิคการวาวรังสีเอกซ์ ใช้ศึกษาทองโบราณ กรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ  

สทน.ใช้เทคนิคการวาวรังสีเอกซ์ ใช้ศึกษาทองโบราณ กรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ อยุธยา ในโอกาสครบรอบ 666 ปีของกรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งที่สองของไทย และร่วมฉลองการขึ้นทะเบียนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในฐานะมรดกโลกครบ 25 ปี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดเสวนา ความรู้ใหม่จากการศึกษาเครื่องทองสมัยอยุธยา ซึ่งในโอกาสนี้นักวิจัยของ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้ร่วมเสนอผลงาน “การศึกษาทองกรุ วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะเบื้องต้น โดยวิธีการวาวรังสีเอกซ์” งานวิจัยนี้จัดขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของทองโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากกรุวัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นโบราณสถาน 2 แห่งสำคัญมีการมีการขุดพบเครื่องทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเครื่องทองที่รอดพ้นจากการศูนย์เสียให้พม่าเมื่อไทยเราเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2310 ดร.ศศิพันธ์ คะวีรัตน์ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ชำนาญการ จากกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาของ สทน. ได้เล่าถึงที่มาของโครงการวิจัยนี้ว่า ต้องการทราบว่าแหล่งที่มาของทอง ลักษณะ เพื่อเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ ด้านสังคม วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ในสมัยโบราณ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เทคนิค การวาวรังสีเอกซ์ (X-ray fluorescence) หรือเอกซ์อาร์เอฟ (XRF) การวาวรังสีเอกซ์สามารถวิเคราะห์ธาตุได้หลายธาตุ ที่หนักตั้งแต่ แม็กนีเซียม จนถึง ยูเรเนียม แต่อาจจะมีธาตุที่วิเคราะห์ไม่ได้อยู่ ไม่ถึง 20 ธาตุ จากทั้งหมด ร้อยกว่าธาตุ เราก็ใช้วิธีการกระตุ้นตัวอย่าง จะได้เป็นสเปคตรัม แล้วสเปคตรัมจะอ่านค่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ให้เราสามารถทราบได้เลย การใช้เทคนิคการวาวรังสีเอกซ์นี้ เป็นเทคนิคการตรวจวิเคราะห์โดยที่ไม่ต้องทำลายตัวอย่าง ทำให้ไม่เกิดความเสียหายแก่ทองที่นำมาศึกษาโบราณ และเทคนิคนี้ยังเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก” ดร.ศศิพันธ์กล่าว การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ นักวิจัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างทองจากพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จำนวน 12 ชิ้น ประกอบด้วยเครื่องทอง โบราณ 10 ชิ้น และตัวอย่างที่ทำจากวัสดุไม่ใช่ทองอีก 2 ชิ้น ตัวอย่างทองคำจากแหล่งโบราณคดีทางภาคใต้ 2 ชิ้น และได้นำทองรูปพรรณสมัยปัจจุบัน จำนวน 11 ชิ้น มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ด้วยเครื่องวิเคราะห์การวาวรังสีเอกซ์แบบพกพา (Portable XRF) วัดรังสีเอกซ์จากตัวอย่าง โดยใช้เวลาในการวัดตัวอย่างละ 60 วินาที วัดอย่างน้อยตัวอย่างละ 2 ตำแหน่ง แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าทองคำ จากกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะมีความบริสุทธิ์อยู่ในช่วง 19 ถึง 23 K ยกเว้น 2 ชิ้นงานที่มีความบริสุทธิ์สูงถึงเกือบ 24 K ได้แก่ ผอบทองคำ และแผ่นตาลบัตรจำลอง ซึ่งทั้ง 2 ชิ้นนี้ประกอบอยู่ในเจดีย์ศรีสุริโยทัย สันนิษฐานว่า การที่ชิ้นงานดังกล่าวมีความบริสุทธิ์สูงเป็นพิเศษ น่าจะมาจากกระบวนการผลิตที่แตกต่างจากชิ้นอื่น ซึ่งเมื่อเปรียบกับทองในปัจจุบันมีการกระจายตัวของความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 9 ถึง 24 K และมีส่วนผสมของดีบุก ผลการศึกษาทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทองจากอยุธยานี้มีส่วนผสมของดีบุกมาได้อย่างไร เพราะดีบุกมาจากทางภาคใต้ คณะวิจัยจึงประสานขอตัวอย่างเครื่องทองโบราณที่มากจากทางภาคใต้ด้วย ซึ่งทองของภาคใต้จะมีดีบุกผสมอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับทองของอยุธยาแล้ว ยังมีองค์ประกอบของธาตุอื่นเหมือนเช่นเดียวกับที่เจอในอยุธยา แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างเดียวกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทองทั้งภาคใต้ที่ได้ตัวอย่างมากับทองที่อยุธยาอาจจะมาจากแหล่งเดียวกัน การใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาทองในโลกนี้เริ่มมาราว 20 ปีที่แล้ว แต่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียงงานวิจัย ของ แอนนา เบนเน็ต นักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นผู้ศึกษาทองโบราณที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นคนเดียวที่มีการศึกษาเรื่องทองโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อมูลที่ได้ข้างต้น ดร.ศศิพันธ์และคณะวิจัยจะดำเนินการตรวจสอบและเก็บข้อมูลลักษณะของทองโบราณในพระนครศรีอยุธยา และแหล่งทองในประเทศไทยให้ได้มากขึ้น เพื่อให้เห็นถึงแนวทางในการวิเคราะห์เครื่องทองโบราณโดยไม่ทำลายชิ้นงาน เพื่อประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลเครื่องทองโบราณของประเทศ ทำให้เข้าใจรูปแบบเทคโนโลยี การผลิตเครื่องทองสมัยโบราณ และสามารถสืบหาแหล่งที่มาของทองโบราณแล้วความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนได้ สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการจำแนกทองคำโบราณและทองคำ ที่ผลิตในปัจจุบันนี้ได้อีกด้วย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มี.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร