Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ทำความรู้จัก “กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ” จานแรกของไทย  

คาดว่าอีก 4 ปี “กล้องโทรทรรศน์วิทยุ” ขนาด 40 เมตรจานแรกของไทยจะได้เริ่มใช้งาน และจะเป็นเครื่องมือดาราศาสตร์วิทยุที่ช่วยเฝ้าระวังภัยพิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อโลก รวมทั้งเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างกำลังคนและการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยโจทย์ทางดาราศาสตร์ ใหญ่สุดในอาเซียน กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 40 เมตร จานแรกที่จะติดตั้งในอนาคตนั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานในโครงการพัฒนาเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุและยีออเดซี่ ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อขยายศักยภาพการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ กล้องโทรทรรศน์วิทยุดังกล่าวจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักทางดาราศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ นอกเหนือจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่” รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร.กล่าว ทั้งนี้ สดร.เพิ่งลงนามกับ บริษัท เอ็มทีเมคคาทรอนิกส์ (MT Mechatronics GmbH) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อจัดซื้อกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตรจานแรกของไทย เมื่อ 17 มี.ค.60 ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกล้องดังกล่าวจะเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนด้วย ผู้อำนวยการ สดร.ระบุอีกว่า โครงการฯ ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความร่วมมือกับเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุทั่วโลก เพื่อการพัฒนางานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์วิทยุและทางด้านธรณีวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเปลือกโลกซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการเกิดภัยพิบัติบนพื้นโลก เช่น การเกิดแผ่นดินไหว หรือ สึนามิ ดาราศาสตร์วิทยุ” โจทย์ท้าทายสู่เทคโนโลยีขั้นสูง การศึกษาดาราศาสตร์ด้วยคลื่นวิทยุนั้นมีความจำเป็น เพราะเทหวัตถุในเอกภพไม่ได้แผ่แค่คลื่นแสงที่ตามองเห็น แต่ยังแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นอื่นๆ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นอินฟราเรด รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา สำหรับคลื่นวิทยุนั้น สามารถใช้ศึกษาเทหวัตถุในเอกภพและปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์มากมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ดาวเคราะห์และดาวหางในระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ การระเบิดของดาวฤกษ์ อีกทั้งการศึกษาดาวนิวตรอนในช่วงคลื่นวิทยุยังนำไปสู่ผลการยืนยันความถูกต้องของทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ นอกจากนี้จำนวนรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์วิทยุยังมีมากถึง 5 ใน 7 รางวัล จากบรรดางานวิจัยดาราศาสตร์แขนงอื่นๆ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร.ยังได้ยกตัวอย่างถึงผลพลอยได้จากงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ว่า ต้นกำเนิดของระบบไวไฟ (Wi-Fi) ที่นิยมใช้ในปัจจุบันนั้น เกิดจากการคิดค้นวิธีรับสัญญาณจากวัตถุท้องฟ้ากลับมายังโลก โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ โดยใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางรับส่งข้อมูลผ่านอากาศ รองผู้อำนวยการ สดร.กล่าวว่า การวิจัยด้านดาราศาสตร์วิทยุ ต้องใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมขั้นสูงในหลายสาขา ซึ่งปัจจุบันงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมมีข้อจำกัดตรงที่ไม่มีโจทย์ที่ท้าทายและไม่มีเวทีสำหรับนำไปใช้จริง แต่กล้องโทรทรรศน์วิทยุจะเปิดโอกาสให้คนไทยจากหลายสาขา เช่น วิศวกรรม โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง และเกิดความร่วมมือทางด้านเทคนิคขั้นสูงระหว่างหลายหน่วยงาน เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุยิ่งเยอะ ยิ่งดี นอกจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 40 เมตรแล้ว สดร.ยังมีแผนติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 เมตรในอนาคต และขยายเครือข่ายสถานีเชื่อมสัญญาณไปอีก 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และสงขลา ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์วิทยุมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับสถานีรับ-ส่งสัญญาณดาวเทียม แต่สามารถตรวจวัดสัญญาณที่มีความเข้มต่ำมาก และมีระบบขับเคลื่อนแม่นยำสูง สามารถติดตามเทหวัตถุท้องฟ้าอย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมง ซึ่งการเพิ่มขนาดจานรับสัญญาณจะเพิ่มประสิทธิภาพของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ทว่าด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างและน้ำหนัก จึงต้องอาศัยการทำงานพร้อมๆ กันของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ณ ตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลก เรียกว่า เครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (Very Long Baseline Interferometer: VLBI) ส่งผลให้มีประสิทธิภาพเสมือนกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วิทยุทั้งหมด สำหรับกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติของไทยนั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายการแทรกสอดระยะไกล (VLBI) ในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเครือข่าย VLBI ของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ทวีปออสเตรเลีย และยุโรป อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีกล้องโทรทรรศน์วิทยุสำหรับใช้งานวิจัยดาราศาสตร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งๆ ที่มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ห้วยฮ่องไคร้” จุดเหมาะตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ สำหรับต้นแบบของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติของไทยคือ กล้องโทรทรรศน์วิทยุเยเบส (Yebes Radio Telescope) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ของหอดูดาวเยเบสราชอาณาจักรสเปน ซึ่งสร้างโดยบริษัท เอ็มทีเมคคาทรอนิกส์ เช่นเดียวกัน กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติขนาด 40 เมตร ที่ สดร.เพิ่งลงนามจัดซื้อด้วยมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วย กล้องโทรทรรศน์วิทยุ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย จานรับสัญญาณชนิดโพราโบลอยด์ ระบบควบคุมเพื่อรับและรวมคลื่นวิทยุไปยังระบบรับสัญญาณวิทยุ หน่วยสะท้อนสัญญาณ และห้องรับสัญญาณ พร้อมซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงาน ส่วนที่ตั้งของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาตินี้ อยู่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองเชียงใหม่ออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างไกลจากแหล่งกำเนิดสัญญาณวิทยุรบกวน นอกจากนี้ สดร.และ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ยังมีวางแผนจัดตั้ง อุทยานเรียนรู้ดาราศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามแนวพระราชดำริฯ ด้วย ผู้จัดการออนไลน์ 30 มี.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร