Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วัสดุดามกระดูกสัตว์เล็กฝีมือไทย ช่วยเจ้าของประหยัด ตอบโจทย์สัตวแพทย์  

ข่าวดีสำหรับคนรักสัตว์ และเจ้าของสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ อย่างสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ชิสุ หรือกระต่าย นักวิจัยไทยพัฒนาวัสดุดามกระดูกสัตว์เล็กและถ่ายทอดให้เอกชนได้เป็นครั้งแรก นับเป็นอีกช่องทางช่วยเจ้าของสัตว์เลี้ยงประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา ไม่ต้องพึ่งวัสดุจากต่างประเทศที่มีราคาแพงแต่ไม่สามารถรับน้ำหนักสัตว์เลี้ยงได้ และยังเป็นบันไดสู่การพัฒนาวัสดุทางแพทย์สำหรับมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศูนเทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง (ADTEC) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) และบริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวการถ่ายทอดนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์สู่ภาคเอกชน โครงการหมุดยึดแผ่นดามและแผ่นดามกระดูกสำหรับสัตว์เล็ก เมื่อ 31 มี.ค.60 ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพฯ ผศ.สพ.ญ.ดร.มนชนก วิจารสรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมสัตวแพทย์ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย เล่าถึงความเป็นมาของการหมุดยึดแผ่นดามและแผ่นดามกระดูก ก่อนถ่ายทอดสู่ภาคเอกชนว่า ที่ผ่านการรักษากระดูกสัตว์เล็ก เช่น สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน สุนัขพันธุ์ชิสุ หรือกระต่าย ที่หักและบาดเจ็บนั้นอาศัยวัสดุฝังในซึ่งเป็นวัสดุสำหรับดามกระดูกใบหน้ามนุษย์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะมีขนาดเล็กพอดีขนาดกระดูกสัตว์เล็กที่มีน้ำหนักประมาณ 5-7 กิโลกรัม ทว่า กระดูกสำหรับดามใบหน้ามนุษย์นั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักและแรงกระแทก ทำให้สัตว์เลี้ยงเสี่ยงขาหักซ้ำ จึงเกิดโจทย์วิจัยในการพัฒนาวัสดุดามกระดูกสัตว์เล็กที่มีน้ำหนัก 5-7 กิโลกรัม โดย ผศ.สพ.ญ.ดร.มนชนก ให้ข้อมูลว่า โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน มีสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ารับการรักษาวันละ 300-400 ตัว เป็นรายที่ต้องผ่าตัดวันละ 40 ตัว ในจำนวนนั้นต้องดามกระดูกวันละ 2-3 ตัว สำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากใช้วัสดุดามกระดูกสำหรับมนุษย์ได้ แต่สัตว์เลี้ยงขนาดเล็กยังไม่มีวัสดุที่เหมาะสม อีกทั้งวัสดุดามใบหน้ามนุษย์ที่นำมาประยุกต์ใช้กับสัตว์เลี้ยงยังมีราคาแพงประมาณ 5,000-6,000 บาท เจ้าของบางรายไม่สามารถจ่ายได้ จึงต้องพัฒนาวัสดุที่มีราคาถูกลงและมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับรับน้ำหนักสัตว์เลี้ยง” ผศ.สพ.ญ.ดร.มนชนกกล่าว นอกจากปัญหาในการรักษากระดูกสัตว์เล็กแล้ว ทีมวิจัยยังได้รับถ่ายทอดพระกระรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านทาง ADTEC เมื่อปี 2553 ใจความว่า “ให้ทำงานวิจัยค้นคว้าพัฒนาวัสดุฝังในทางการแพทย์ สำหรับใช้ในมนุษย์และให้ทำวิจัยสำหรับใช้ในสัตว์ให้มาก ซึ่งท้ายที่สุดก็จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์” จากนั้นในปี 2554 ทีมวิจัยจึงเริ่มพัฒนาวัสดุดามกระดูกสำหรับสัตว์เล็ก ผศ.สพ.ญ.ดร.มนชนก บอกอีกว่าเป้าหมายของทีมวิจัยจะพัฒนาให้วัสดุดามกระดูกสัตว์เล็กมีราคาต่ำกว่าวัสดุนำเข้าอย่างน้อย 1 ใน 3 และหลังจากถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่บริษัทไมโครสตาร์ส โดยการมอบสิทธิและนวัตกรรมการผลิตหมุดยึดแผ่นดามและแผ่นดามกระดูกสำหรับสัตว์เล็ก ทางโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะเป็นหนึ่งในลูกค้าสำคัญ และในฐานะนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ฯ ยังจะส่งเสริมให้สถานรักษาพยาบาลสัตว์อื่นๆ หันมาใช้วัสดุที่ทีมวิจัยพัฒนา พร้อมทั้งให้การอบรมเทคนิคการผ่าตัดใส่อุปกรณ์ด้วย ด้าน น.สพ.สิรันดร์ ถึกอ่ำ จากแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีประสบการณ์ผ่าตัดสัตว์มานับ 10,000 ตัว และเป็นหนึ่งในทีมวิจัย บอกทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ถึงข้อดีที่สามารถพัฒนาวัสดุดามกระดูกสัตว์เล็กได้เองว่า แก้ปัญหาเรื่องไม่มีวัสดุที่เหมาะสมสำหรับสัตว์เล็ก และไม่เจอปัญหาเจ้าของสัตว์บ่นเรื่องราคาแพง รวมทั้งให้สัตว์ได้เข้าถึงการรักษา เพราะกรณีที่เจ้าของไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ก็จะเลือกใช้วิธีเข้าเฝือกแทน น.สพ.สิรันดร์อธิบายอีกว่า ปกติเมื่อกระดูกหักแล้วจะเชื่อมประสานได้เอง แต่ช่วงรอยต่อของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่นั้นเปราะบางและรับน้ำหนักได้ไม่มาก การเสริมวัสดุดามจะช่วยรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น ป้องกันการหักซ้ำ โดยจากการทดสอบพบว่าเมื่อสุนัขหนัก 5 กิโลกรัมกระโดดจะเกิดแรงกระแทกสะท้อนกลับมาถึง 20 กิโลกรัม ซึ่งกระดูกที่เพิ่งประสานไม่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ กระดูกเสี่ยงหักซ้ำแล้วต้องผ่าตัดใหม่ ส่วน นายพร้อมพงศ์ ไชยกุล กรรมการ/กรรมการบริหาร/กรรมการบริหารความเสี่ยง/รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายการจัดการวัตถุดิบ) บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการับถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้ว่า ปกติทางบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีห้องคลีนรูมที่สามารถต่อยอดสู่การผลิตเครื่องมือแพทย์ และทีมวัสดุศาสตร์ของบริษัทได้เห็นความน่าสนใจของวัสดุดามกระดูก ซึ่งอนาคตสามารถต่อยอดสู่วัสดึทางการแพทย์สำหรับมนุษย์ได้ ผู้จัดการออนไลน์ 31 มี.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร