Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ชวนเซอร์เวย์ 9 ห้องสมุดน่านั่งระหว่างรอหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครเปิด  

วันที่ 7 เมษายนนี้ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร โฉมใหม่จะเปิดให้บริการเป็นวันแรก (ดีเลย์ไปนิดจากตอนแรกที่บอกว่าจะเปิดปลายปีที่แล้ว จากนั้นก็เขยิบมา 1 เม.ย. จนมาดีเดย์วันที่ 7 เม.ย.ในที่สุด) ระหว่างรอ เราจึงอยากชวนไปสำรวจห้องสมุดอื่นๆ ที่น่าไปนั่งเล่น นั่งอ่านหนังสือไม่แพ้กัน ตามมาดูเลยว่ามีที่ไหนบ้าง ปล. ที่เรายกมาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น เพราะจริงๆ ในชุมชนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมีห้องสมุดซ่อนตัวอยู่เต็มไปหมด เพียงแต่เราอาจไม่รู้เท่านั้นเอง ลองเข้าไปตามหาห้องสมุดใกล้บ้านตัวเองได้ที่เว็บไซต์ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ดูได้เลย แม้ว่าเราจะเคยแนะ 1. The Reading Room ห้องสมุดศิลปะร่วมสมัยบนถนนสีลมไปแล้วใน บทความน้ี แต่ก็อยากจะพูดถึงอีกที *ฉันรักของฉันเข้าใจบ้างม้าย ฉันมีสิทธิจะรักไม่ผิดใช่ม้าย* ที่นี่มีทั้งเท็กซ์บุ๊กและหนังสืออ้างอิงด้านศิลปะ หนังสือ non-fiction สาขาต่างๆ รวมทั้งหนังสือวรรณกรรมคลาสสิค นอกจากนี้ยังมีดีวีดีหนัง บ้างเป็นหนังเก่า บ้างเป็นหนังอินดี้ ไม่ก็หนังสั้นจากงานฉายหนังที่จัดขึ้นเป็นประจำ ทุกอย่างยืมได้เลย ไม่ต้องสมัครสมาชิกหรือวางมัดจำ เรียกว่าทำงานบนความไว้เนื้อเชื่อใจล้วนๆ เพราะฉะนั้นก็เอามาคืนตามกำหนดด้วยเนอะ เราจะได้มีพื้นที่ดีๆ แบบนี้ไว้พักใจตลอดไปไง และถ้าใครสนใจประเด็นทางศิลปะและสังคม ก็กดไลก์เพจไว้ได้เลยเพราะมีกิจกรรมดีๆ จัดขึ้นเป็นประจำ ปล. ถ้าอยากเห็นห้องสมุดอิสระอายุกว่า 7 ปีอย่าง The Reading Room มีชีวิตยืนยาวต่อไปนานๆ ก็สามารถร่วมบริจาคเงินค่าดำเนินการได้นะ ดูรายละเอียดได้จาก https://www.facebook.com/kyoreadingroom/posts/1456497991035156 โพสต์นี้เลย สีลม 19 พุธ-อาทิตย์ 13.00-19.00 น. 2. Em Space แม้ว่าห้องสมุดค่าเข้า 0 บาทแห่งนี้จะอยู่ไกลตัวเมืองออกไปซักหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าต้นไม้ใบหญ้าสีเขียว ลมพัดเอื่อยเฉื่อย และอาหารโฮมเมดจะช่วยชดเชยการดั้นด้นไปอย่างแน่นอน ที่ https://www.facebook.com/emspacer/">Em Space มีหนังสือหลากหลายหมวด ตั้งแต่นวนิยายทั้งไทยและเทศ วรรณกรรมเยาวชน หนังสือท่องเที่ยว ไปจนถึงหนังสืออ้างอิงด้านต่างๆ นอกจากนี้บางครั้ง Em Space ยังจัดเสวนาหัวข้อต่างๆ อีกด้วย อย่างล่าสุดก็มีเสวนาเรื่องอินเดียแบบมีอาหารและเครื่องดื่มจากแดนภารตะประกอบการพูดคุย! ถ้าอยากทำความรู้จักที่นี่มากกว่านี้ ก็ไปอ่าน https://thematter.co/rave/em-space/18085 บทความที่เราเคยเขียนไว้ได้เลย 68 รังสิต-นครนายก 31 (ช่วงราวๆ คลองสอง) เข้าซอยไม่ลึก บ้านอยู่ด้านขวามือ มองหาป้ายกลมๆ สีขาวที่มีคำว่า Em Space, a library and more ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ 09.30-18.30 น. 3.ห้องสมุดมารวย หนังสือกว่า 80 % ที่ ห้องสมุดมารวยคือหนังสือด้านการลงทุน ส่วนที่เหลือเป็นหนังสือทั่วไป เช่น ไอที วรรณกรรม หนังสือเด็ก ฯลฯ ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการได้เลยฟรีๆ แต่ถ้าอยากยืมหนังสือต้องสมัครสมาชิกปีละ 100 บาท บวกมัดจำ 300 บาทสำหรับบัตร Silver ยืมหนังสือภาษาไทย หรือมัดจำ 1,000 บาทสำหรับบัตร Gold ยืมหนังสือได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ชั้นใต้ดิน อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ข้างสถานทูตจีน) / ทุกวัน 08.30-21.00 น. 4.ห้องสมุดศิลปะ หลายคนที่แวะเวียนไปดูนิทรรศการศิลปะดีๆ ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครอาจไม่รู้ว่าที่ชั้นล่างสุดมี"http://www.bacc.or.th/content/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0--501.html"> 4. ห้องสมุดศิลปะซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบ ที่อธิบายอย่างนี้เพราะที่นี่เงียบจริง เหมาะกับคนที่ต้องการอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ ส่วนหนังสือนั้นมีตั้งแต่หนังสืออ้างอิงด้านศิลปะ แม็กกาซีน ไปจนถึงหนังสือเด็กสำหรับนักอ่านตัวจิ๋ว ความดีงามคือเข้าฟรีและมี Wi-Fi ให้ใช้ด้วยล่ะชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร/ ทุกวันยกเว้นวันจันทร์ 10.00-19.30 น 5. TCDC Commons ระหว่างรอ TCDC แห่งใหม่ ณ ไปรษณีย์กลางบางรักเปิด เหล่าสมาชิก TCDC ก็พากันอพยพไปนั่งทำงานที่ "https://www.facebook.com/tcdccommons/"> TCDC Commons ก่อนได้ คอนเซ็ปต์ของที่นี่คือเป็น Co-Working Space และห้องสมุดด้านการออกแบบการสื่อสาร (TCDC บอกว่าเป็นห้องสมุดด้านนี้แห่งแรกของโลกเชียวนะ!) มีหนังสือจำพวกการโฆษณา การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบเว็บไซต์ การบริหารแบรนด์ ฯลฯ ถ้าเป็นสมาชิก TCDC อยู่แล้วก็เข้าฟรีไปเลย แต่ถ้าใครเป็นหน้าใหม่ก็สมัครสมาชิกได้ในราคา 1,200 บาทต่อปีจ้า ชั้น 3 IDEO Q จุฬา-สามย่าน ถ.พระราม 4 / ทุกวันยกเว้นวันจันทร์ 10.30-21.00 น. 6. ห้องสมุดสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส ขอเอาใจชาวชานเมือง (แบบเรา) ด้วย "http://www.thaipbs.or.th/">ห้องสมุดสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส บนถนนวิภาวดีเสียหน่อย ที่นี่เน้นหนังสือด้านสื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะตามชื่อเลย แต่ก็มีหนังสือด้านอื่นๆ ด้วย ทั้งวรรณกรรมเยาวชน หนังสือความรู้ด้านต่างๆ นอกจากนี้ใครว่างๆ ก็ สามารถไปอาสาบันทึกหนังสือเสียงให้ผู้พิการทางสายตาได้ที่นี่ด้วย ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าเข้าใช้บริการได้ฟรีเลยจ้า สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส 145 ถ.วิภาวดีรังสิต / จันทร์-ศุกร์ 08.00-18.00 น. 7.Neilson Hays ลิสต์นี้คงไม่สมบูรณ์ถ้าขาดห้องสมุดที่ว่ากันว่าสวยที่สุดในประเทศไทยอย่าง "https://www.facebook.com/NeilsonHaysLibrary/">Neilson Hays ห้องสมุดในบ้านเก่าหลังงามที่รายล้อมด้วยสวนสีเขียวสุดรื่นรมย์ ที่นี่เน้นหนักไปที่หนังสือภาษาอังกฤษ (มีภาษาไทยและภาษาอื่นๆ บ้างประปราย) ทั้ง fiction และ non-fiction หัวข้อต่างๆ ไปจนถึงหนังสือเด็ก ความพิเศษคือทุกปี Neilson Hays จะจัดอีเวนต์เลหลังหนังสือจากห้องสมุดในราคาเริ่มต้นเพียง 20 บาท! คนรักหนังสือทั้งหลายกดไลก์เพจไว้เลยจะได้ไม่พลาด 195 ถ.สุรวงศ์ / ทุกวันยกเว้นวันจันทร์ 09.00-17.00 น. 8.TK Park บนชั้น 8 ของ Central World คือที่ตั้งของ "https://www.facebook.com/tkparkclub/">TK Park อุทยานการเรียนรู้ที่เข้าถึงง่ายสุดๆ สำหรับคนเมือง ที่นี่มีหนังสือหลากหลายหมวด ตอบโจทย์คนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมีการอัพเดตหนังสือใหม่ๆ เป็นประจำ นอกจากนี้ทีมงานยังขยันจัดอีเวนต์และกิจกรรมต่างๆ ที่ประชาชนสามารถเข้าร่วมได้ฟรีอีกด้วย เช่น วันที่ 13-16 เม.ย.นี้จะมีเทศกาล ‘สงกรานต์บานตะไท’ ก่อนเข้าใช้บริการต้องสมัครสมาชิกก่อน ค่าสมัคร 100 หรือ 200 บาทต่อปีตามช่วงอายุ สามารถยืมหนังสือได้โดยเติมเงินประกันเข้าบัตรสมาชิก 1,000 บาท เป็นสมาชิกแล้วได้ใช้ Wi-Fi ฟรี 2 ชั่วโมงต่อวันด้วยนะเออ ชั้น 8 Central World / ทุกวันยกเว้นวันจันทร์ 10.00-20.00 น. 9.ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี หลายคนอาจจะรู้จักสวนลุมพินีในฐานะสวนแห่งการออกกำลังกายที่เต็มไปด้วยคนฟิตๆ แต่รู้ไหมว่ามุมหนึ่งของสวนนั้นมี "https://www.facebook.com/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-602792049737032/?ref=nf">ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ที่หนอนหนังสือทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่มักไปรวมตัวกันอยู่ เพียงสมัครสมาชิกผู้ใหญ่ 10 บาทต่อปี (และจ่ายค่าประกันหนังสือ 40 บาท) หรือเด็ก 5 บาทต่อปี (และจ่ายค่าประกันหนังสือ 20 บาท) ก็เข้าไปนั่งเล่นพร้อมยืมหนังสือกลับบ้านได้แล้ว

สวนลุมพินี (ด้านหลังอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6) / อังคาร-เสาร์ 08.30-20.00 น. และอาทิตย์ 09.00-17.00น. และแน่นอนว่าต้องแถม https://www.facebook.com/bangkokcitylibrary/"> หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 4 ชั้น รวมแล้วกว่า 5,000 ตารางเมตรของหอสมุดแห่งใหม่ของเมืองไทยแบ่งเป็นโซนต่างๆ ตั้งแต่ห้องสมุดวรรณกรรมไทย ห้องสมุดวรรณกรรมเด็กและเยาวชนนานาชาติ ห้องสมุดสำหรับผู้พิการ หอจดหมายเหตุ ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องเงียบ และอื่นๆ อีกมากมาย ตามที่ประชาสัมพันธ์ออกมา หอสมุดเมืองฯ จะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง แต่สำหรับช่วงเริ่มต้น ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. เป็นต้นไป จะเปิดให้บริการวันอังคาร-วันเสาร์ 08.00-24.00 น. และวันอาทิตย์ 09.00-20.00 น. ส่วนวันจันทร์ปิดทำการ สมัครสมาชิกได้ในราคาถูกมากเหมือนเข้าฟรี-อายุต่ำกว่า 15 ปี ปีละ 5 บาท อายุมากกว่า 15 ปี ปีละ 10 บาท 39 ถ.ราชดำเนินกลาง

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร