Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เขตนวัตกรรม แฟลกชิพใหม่นักวิทย์  

ค่อนข้างชัดเจนว่า “เขตนวัตกรรม”ตามโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีไอจะปักหมุนอยู่ภายในวังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ทำหน้าที่สร้างนวัตกรรม โดยจะมี “หน่วยวิจัยหรือหน่วยนวัตกรรม” เพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชน ค่อนข้างชัดเจนว่า “เขตนวัตกรรม” ตามโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีไอจะปักหมุนอยู่ภายในวังจันทร์วัลเลย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ทำหน้าที่สร้างนวัตกรรม โดยจะมี “หน่วยวิจัยหรือหน่วยนวัตกรรม” เพื่อทำงานร่วมกับภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดได้ (Translational Research) อีอีซีไอจะเป็นแหล่งรวมศูนย์ห้องปฏิบัติการและสนามทดสอบนวัตกรรม ศูนย์รับรองมาตรฐานนวัตกรรมทางด้านระบบและอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยจัดตั้งเป็นเขตทดสอบนวัตกรรมอัจฉริยะของประเทศ ตลอดจนการเป็นชุมชนการจ้างงานผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีระดับสูงของทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป กิจกรรมในอีอีซีไอจะเน้น 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ aripolis ประกอบด้วยระบบออโตเมชั่น หุ่นยนต์และสมองกล, ไบโอโพลิสที่มุ่งอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น พลังงาน พลังงานทดแทน อาหาร อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ, space krenovapolis เป็นส่วนงานเกี่ยวกับภูมิสารสนเทศ ดาวเทียม เทคโนโลยีการบินบางประเภท โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ปูทางสร้างบุคลากร นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า อีอีซีไอจึงเป็นการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ โดยเฉพาะผู้ที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยไม่ต้องกังวลว่าจะว่างงาน อีกทั้งการจ้างงานไม่ได้มีเฉพาะในหน่วยงานรัฐเท่านั้น แต่ยังมีสถาบันวิจัยของเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ “เรายังต้องการบุคลากรอีกมาก จึงพยายามผลักดันนักเรียนทุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้มาที่อีอีซีไอแต่ก็ต้องใช้เวลาเพราะมีขั้นตอนที่เป็นระบบ แต่แนวทางเตรียมบุคลากรรองรับในระยะเร่งด่วนคือ สร้างนักเรียนทุนปริญญาโทจากปริญญาตรีใช้เวลา 1-2 ปี ขั้นถัดไปคือ คนที่จบปริญญาโทไปเรียนต่อปริญญาเอก 4 ปี ทำให้ใน 2 ปีก็จะได้บุคลากรระดับปริญญาโทป้อนอีอีซีไอ ถัดไปอีก 4 ปีก็จะได้ระดับปริญญาเอก บวกกับบุคลากรที่มีในปัจจุบันจากที่ส่งไปเรียนในมหาวิทยาลัยเครือข่ายของ สวทช. หรือทุน คปก.ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยก็จะเป็นแหล่งบุคลากรสำคัญ” แม้ปัจจุบันจะยังมองภาพของจำนวนบุคลากรวิจัยที่ต้องการในอีอีซีไอไม่ชัดเจน แต่ นายณรงค์ กล่าวว่า สัดส่วนนักวิจัย 3 คนต่อประชากร 1 หมื่นคนก็ยังไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มเป็นนักวิจัย 20-25 คนต่อประชากร 1 หมื่นคน และเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ไม่มีอีอีซีไอก็ยังขาดแคลน ด้วยเหตุนี้ การลงทุนพัฒนากำลังคนจึงไม่เสียเปล่าอย่างแน่นอน ในขณะเดียวกันก็ต้องการดึงนักวิจัยต่างประเทศ หรือนักวิจัยไทยในต่างประเทศให้กลับมาอยู่ในอีอีซีไอด้วย เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของวิธีคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง จะนำมาสู่การสร้างนวัตกรรมจากความคิดที่หลากหลาย ต้นแบบระบบนิเวศนวัตกรรม นายณรงค์ อธิบายถึงขั้นตอนงานวิจัยที่จะเข้าร่วมโครงการอีอีซีไอว่า ขั้นตอนจากแล็บสู่ภาคอุตสาหกรรมนั้น ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมนั้นจะต้องผ่านการทดสอบคุณภาพและคุณสมบัติ จึงต้องมีห้องปฏิบัติการทดสอบ (Testing Lab) เพื่อยืนยันผล ต่อมาคือ การที่จะขยายสเกลการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการไปยังระดับอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีโรงงานต้นแบบ (Pilot plant) ที่ได้มาตรฐานสากลและสามารถปรับแต่งได้ จนได้กระบวนการผลิตที่พร้อมนำไปสู่การสร้างโรงงานผลิตจริง โรงงานต้นแบบยังรองรับการผลิตสินค้าจำนวนไม่มากเพื่อส่งใช้ทดลองตลาดก่อนที่จะสร้างโรงงานจริง ถ้าตลาดตอบรับก็เดินหน้าสู่เชิงพาณิชย์ แต่หากไม่ดี ก็กลับไปวิจัย พัฒนาใหม่ ทดสอบ เข้าโรงงานต้นแบบและผลิตทดลองตลาดใหม่ ตอบโจทย์ทั้งสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอีหรือแม้แต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ เมื่อทุกอย่างลงตัว นวัตกรรมพร้อมสู่ธุรกิจจริงก็สามารถเข้ามาเช่าใช้พื้นที่ในอีอีซีไอ เพื่อสร้างธุรกิจ ทำโรงงาน สร้างบริษัทได้เลย โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำในขณะนั้น” นายณรงค์กล่าว อีกส่วนหนึ่งที่อีอีซีไอจะต้องมีคือ พื้นที่ทดสอบหรือ Sandbox เพราะการวิจัยพัฒนาหลายอย่างจำเป็นต้องผ่านการทดสอบ เช่น อากาศยานไร้คนขับ ยานยนต์ไร้คนขับ จึงจัดเตรียม Test-based สนามทดสอบที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษสำหรับการทดลองอย่างสมบูรณ์ โดยจะยกเว้นกฎระเบียบหรือกฎหมายบางอย่างที่จะเป็นอุปสรรคต่อการวิจัยพัฒนาในพื้นที่นี้ Bangkokbiznews 4 เม.ย.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร