Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ห้องสมุดแบบไทยๆ อวตารมาจากหอไตรฯ เน้นหรูหรา ไม่เน้นหนังสือ  

หลังจากผ่านวาระ ‘เมืองหนังสือโลก’ เมื่อ พ.ศ. 2556 ไปอย่างหว่องๆ (เหงาๆ เงียบๆ ไม่อยากเป็นที่สนใจของใคร) จนกระทั่งหลายคนอาจจะลืมไปแล้ว มหานครอย่าง กรุงเทพฯ ก็กำลังจะมี ‘หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร’ เป็นของตัวเอง โดยได้เปิดให้ทดลองใช้งาน ไปตั้งแต่วันศุกร์ 7 เมษายน ที่ผ่านมานี้ (และก็ปิดไม่ให้ใช้งานอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ตอนแรกข่าวว่าจะให้ทดลองใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าจะถึงวันเปิดใช้งานจริงเลยนะ รู้ยัง?) ในโลกตะวันตก ห้องสมุดเป็นของที่มาตั้งแต่โบร่ำโบราณเลยนะครับ ไม่ใช่เพิ่งจะมามีเป็นของประจำเมืองเอาเมื่อปีศักราชย่างเข้า​ 2560 ปี หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานอย่างกรุงเทพฯ​ ของพี่ไทยเรา ส่วนห้องสมุดที่เก่าแก่ และน่าจะมีชื่อเสียงที่สุดในยุคโบราณของโลกตะวันตกเขา ตั้งอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ประเทศอียิปต์ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า ห้องสมุดแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย แต่อันที่จริงแล้ว ในเอกสารโบราณเรียกห้องสมุดแห่งนี้ว่า ‘Musaeum of Alexandria’ ใช่ครับใช่ ‘มิวเซียม’ ที่ทุกวันนนี้เราแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘พิพิธภัณฑ์’ นั่นแหละ มิวเซียมแห่งนี้ สร้างอยู่รอบสุสานของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (มีชีวิตอยู่เมื่อราว พ.ศ. 187-220) ผู้ที่ทำให้เมืองดังกล่าวมีชื่อว่า อเล็กซานเดรีย โดยพระเจ้าปโตเลมีที่ 1 นายพลชาวมาซิโดเนียน ที่เคยตามเสด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ออกรบมาจนถึงโลกตะวันออก และเป็นผู้ปกครองเมืองแห่งนี้นั่นแหละที่ได้สร้างมิวเซียมแห่งนี้ขึ้น แต่อย่าเพิ่งเข้าใจว่าห้องสมุดสมัยโบราณมีหน้าตาเหมือนกับสมัยเรานะ เพราะสมัยก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีการพิมพ์เหมือนปัจจุบัน หนังสือที่ว่าจึงเกิดจากการคัดลอก และมีลักษณะเป็น ‘คลังข้อมูล’ อย่างที่เดี๋ยวนี้ชอบเรียกทับศัพท์กันว่า ‘อาร์ไคฟ์’ (archive) บรรณารักษ์จึงไม่ได้มีหน้าที่แค่จัดเก็บ ซ่อมแซม ทำทะเบียนหนังสือให้เป็นหมวดหมู่ หรือนั่งทำหน้ายักษ์แล้วดุใส่เวลาใครส่งเสียงดัง แต่ต้องศึกษาวิจัยข้อมูลที่ว่านี้ด้วย (อ่อ! ส่วนในโลกตะวันตกครั้งกระโน้น ถ้าใครจะส่งเสียงดังในห้องสมุดก็เป็นเรื่องปกติ และไม่มีบรรณารักษ์คนไหนจะมาทำหน้าถมึงทึงกว่าทศกัณฐ์เข้าใส่ เพราะคนในสมัยโน้นเขาอ่านออกเสียงกันในห้องสมุดจนเป็นเรื่องปกติ หลักฐานมีอยู่ เช่น หนังสือเรื่อง Confessions ของเซนต์ออกุสติน ที่เขียนขึ้นในช่วงราว พ.ศ. 950 พูดถึงนักบุญแอมโบรสด้วยความประหลาดใจว่า ‘ท่านไม่ได้อ่านออกเสียง’ ในขณะที่คลอดิอุส ปโตเลมี ที่มีอายุอยู่ในช่วงราว ค.ศ. 633-711 เขียนถึงการอ่านในหนังสือชื่อ On the Criterion ว่า ‘บางครั้งคนเราก็อ่านเงียบๆ เมื่อต้องใช้สมาธิอย่างมากเพราะเสียงอาจรบกวนความคิดได้’ ดังนั้นใครก็ตามที่เข้าไปนั่งเงียบอยู่ในห้องสมุดสมัยนั้นต่างหาก ที่จะถูกพี่ๆ บรรณารักษ์จับตามองด้วยความประหลาดใจ) นอกเหนือจากห้องสมุดแล้ว ภายในมิวเซียมแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังประกอบไปด้วย คลังเก็บศิลปวัตถุ ห้องประชุม ห้องโถงสำหรับทำการปาฐกถาต่างๆ และสวนที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ทั้งหมดนี้รวมกันจึงนับเป็น Musaeum of Alexandria ไม่่ใช่ว่ามีแค่เพียงองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่งก็จะเป็นมิวเซียมขึ้นมาได้ ดังนั้น นอกเหนือจากที่จะมีหนังสือให้อ่านแล้ว จึงยังต้องมีพื้นที่สำหรับพื้นที่สำหรับเปิดให้มีการนำเอาความรู้ หรืออะไรก็ตามที่อยู่ในหนังสือ หรืออาร์ไคฟ์เหล่านั้น ออกมาถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ หรืออะไรอีกสารพัดไม่ให้หนังสือเหล่านั้น ถูกจอดเก็บไว้นิ่งๆ อยู่บนหิ้งนั่นเอง ห้องสมุดแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย (แน่นอนว่าที่จริงแล้วหมายถึง Musaeum of Alexandria ทั้งหมด) ถูกเผาทิ้งโดยฝีมือของ จูเลียส ซีซาร์ คนดังแห่งโรม เมื่อคราวพวกโรมันบุกโจมตีอียิปต์ของพระนางคลีโอพัตราราว พ.ศ. 496 แต่ที่จริงแล้วนั่นเป็นเพียงการบุกเข้าทำลายห้องสมุดแห่งนี้ครั้งแรกเท่านั้น พวกโรมโดยจักรพรรดิออเรเลียน เมื่อ พ.ศ. 813 และโดยคำสั่งของพระสันตะปาปา ธีโอฟีลุส แห่งเมืองอเล็กซานเดรียเองเมื่อปี พ.ศ. 934 ในฐานที่เป็นแหล่งมั่วสุมของพวกนอกรีต จากนั้นมาเหตุการณ์เผาห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของการสูญเสียทางวัฒนธรรม ความรู้ และภูมิปัญญาครั้งสำคัญของโลกมาโดยตลอด การที่ ‘มิวเซียมแห่งอเล็กซานเดรีย’ ถูกจดจำในโทษฐานของ ‘ห้องสมุดแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย’ และเหตุการณ์ทำลายห้องสมุดแห่งนี้ ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการสูญเสียทางภูมิปัญญาครั้งสำคัญของโลกตะวันตก นั้นก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า สิ่งสำคัญที่สุดของมิวเซียมก็คือ วิชาความรู้ ที่ถูกสะสมอยู่ภายในนั้น มากกว่าที่จะเป็นคอลเลกชั่น ศิลปวัตถุ หรือโบราณวัตถุใดๆ นะครับ และนี่ก็ดูจะต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงกับสถานที่เก็บรักษาหนังสือ ตามประเพณีของไทยแต่ดั้งเดิมนะครับ เพราะสยามยุคก่อนที่จะก้าวล่วงเข้าสู่สมัยใหม่ ก็มีสถานที่เก็บสะสมหนังสือเช่นกัน ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ หอพระไตรปิฎก ตามวัด ซึ่งก็คือศูนย์กลางของชุมชนต่างๆ ในยุคก่อนสมัยใหม่ แต่หอไตรฯ เหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเดียวกับห้องสมุดของโลกตะวันตก เพราะใช้เป็นที่เก็บหนังสือ (ไม่ว่าจะในรูปของสมุดไทย หรือใบลาน) เพียงอย่างเดียว ไม่ใคร่จะมีใครใช้อ่านกันเท่าไรนัก สมาชิกในสังคมที่จะได้ใช้หนังสือหนังหาในหอไตรฯ มีอยู่อย่างจำกัด เฉพาะผู้ที่รู้หนังสือ ซึ่งหมายถึงผู้ที่บวชเรียนแล้วเท่านั้น แน่นอนว่า นี่ยังไม่ได้เฉพาะเจาะจงลงไปถึง คนบวชที่ไม่ได้เรียน จึงอ่านอะไรไม่ออกอยู่ดี ที่น่าจะมีเป็นจำนวนมากกว่าผู้ที่บวชแล้วอ่านออกเขียนได้อีกต่างหาก) ในจำนวนคนที่รู้หนังสือเหล่านั้นก็ไม่ได้นำทรัพยากรในหอไตรฯ มาใช้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะกว่าจะหยิบออกมาแต่ละเล่ม ก็ใช้อยู่แต่เล่มเดิมๆ เพื่อใช้อ่านประกอบในการเทศน์มหาชาติ สวดเทศนาธรรมต่างๆ ซึ่งหากว่ากันตรงๆ แล้ว พระท่านก็ไม่จำเป็น ‘อ่าน’ หนังสือเหล่านี้สักเท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่ก็ ‘ท่องจำ’ (ซึ่งจะถ่ายทอดกันด้วยการสวดให้ฟัง ไม่ใช่อ่านเอาจากหนังสือ) ได้จนขึ้นใจอยู่แล้ว หรือหากจำไม่ได้จริงๆ ก็มีเทคนิคช่วยในการอ่านอย่างการเอาโพสต์อิทแปะ คำอ่านเป็นภาษาปัจจุบันไว้ตามตัวอักษรที่อ่านจะเขียนด้วยอักษรขอม หรืออักษรอื่นๆ ที่อ่านไม่ค่อยจะออกกัน นั่นหมายความว่า ความสำคัญของหนังสือเหล่านี้อยู่ที่ความศักดิ์สิทธิ์ มากกว่าความรู้ข้างใน ซึ่งอ่านและแปลกันไม่ออก ยิ่งไม่ต้องคำนึงว่าจะนำเอาความรู้ในนั้นมาใช้ประโยชน์อย่างไรเลยด้วย และอันที่จริงแล้วหนังสือเหล่านี้ก็ถูกคัดลอกขึ้นมาเพื่อเป็นการทำบุญในพระศาสนา มากกว่าเพื่อการอ่านมาตั้งแต่เดิมนะครับ ‘หอไตรฯ’ ของไทยเรา จึงมีฐานะไม่ต่างอะไรไปจาก ‘ห้องพระ’ เพราะเป็นที่ใช้เก็บหนังสือ ที่เป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์ แต่แตกต่างกันอย่างมากกับ ‘ห้องสมุด’ ของโลกตะวันตกที่ใช้เป็นสถานที่รวบรวมตำรับตำรา หรือวิชาความรู้ และคงเป็นเพราะภูมิหลังทางความคิด และวัฒนธรรมอย่างนี้นั่นแหละ ที่ทำให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บและดูแลรักษาเอกสารเก่า ในกำกับของรัฐไทย มักจะหวงห้ามไม่ให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์จากข้อมูลในนั้น ราวกับเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ห้ามมิให้มนุษย์เหยียบย่างเข้าไป ไม่ต้องแปลกใจหรอกนะครับ ที่หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร จะใช้งบประมาณลงทุนค่าสถานที่ไปเกือบๆ 900 ล้านบาท (แบ่งเป็นค่าเช่าสถานที่ 30 ปี เกือบๆ 600 ล้านบาท และค่ารีโนเวตอาคารอีก 296 ล้านบาท) แต่มีงบจัดซื้อหนังสือเพียง 5 ล้านบาท หรือคิดเป็นไม่ถึง 1% ของเงินลงทุนค่าสถานที่เลยด้วยซ้ำ ก็โบราณเขาเน้นที่ความหรูหราของหอไตรฯ นี่ครับ ไม่ได้สนใจว่าภายในหอไตรฯ จะมีตำรับตำราอะไรบ้างเสียหน่อย ยังไงก็ไม่ได้คิดจะให้ใครเข้าไปใช้ประโยชน์ด้วยการอ่านเอาความรู้อะไร จากข้างในนั้นอยู่แล้วนี่นา?

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร