Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“แอคทีฟแพ็คเกจจิ้ง” ยืดอายุลูกมะนาวสดนาน 3 เดือน   

คณะวิทยาศาสตร์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ พัฒนาแอคทีฟแพ็คเกจจิ้ง (Active Packaging) นวัตกรรมยืดอายุผลิตผลมะนาว คงรสชาติเปรี้ยวเข็ดฟัน และสีเขียวสดอยู่ได้นานสุดถึง 3 เดือน ต้นทุนต่ำเฉลี่ย 30 สตางค์ต่อลูก ช่องทางใหม่ขายผลผลิตนอกฤดู แทนการบังคับต้นทำมะนาวนอกฤดู รศ.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า “มะนาว” นับเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรให้ความสนใจเป็นจำนวน และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล โดยจากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (2556) ระบุไว้ว่า ผลผลิตมะนาวในอาเซียนกว่า 91.72 เปอร์เซ็นต์มาจากประเทศไทย และในปี 2558 ที่ผ่านมาผลผลิตมะนาวทั่วประเทศมีมากกว่า 150,000 ตัน สร้างรายได้กว่า 9,296 ล้านบาท โดยประเทศที่ต้องการนำเข้ามะนาวมากที่สุดในอาเซียนได้แก่ สิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่หนึ่งในปัญหาหลักของเกษตรกรสวนมะนาวคือ การปลูกมะนาวนอกฤดูกาลเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีราคาดี และสามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันเป็นการใช้วิธีการบังคับต้นทำมะนาวนอกฤดู ด้วยวิธีการอดน้ำต้นมะนาวเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจึงจะให้ปุ๋ยบำรุงตามปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ในฤดูกาลถัดไปต้นมะนาวจะทรุดโทรมและไม่ออกผล อันนำไปสู่การขาดแคลนรายได้จำนวนมาก หลังจากเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา ช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถมีผลผลิตมะนาวขายได้ในหน้าแล้ง โดยไม่ต้องเสียรายได้ในช่วงที่มะนาวไม่ออกผล และค่าใช้จ่ายในการบำรุง/ฟื้นฟูต้นมะนาวให้กลับมามีสภาพเดิม โดยหลังจากทำการศึกษาวิจัยเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี จึงได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น นวัตกรรมยืดอายุผลมะนาวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนวัตกรรมดังกล่าวจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ สูตรสารกระตุ้นการสร้างคลอโรฟิลล์แบบต้นทุนต่ำ ที่ใช้ฉีดที่ผลมะนาว และจะช่วยยืดอายุผลมะนาวสดได้นานถึง 3 เดือน คงรสชาติเปรี้ยวเข็ดฟัน มีผิวที่สวยสด สมบูรณ์ขึ้น พร้อมแก่การเก็บรักษา โดยที่ไม่ทิ้งสารตกค้าง สามารถส่งออกได้ตามมาตรฐานสากล และอีกส่วนหนึ่งคือ กล่องแอคทีฟแพ็คเกจจิ้ง (Active Packaging) ที่ภายในกล่องพลาสติกทัปเปอร์แวร์จะประกอบด้วยฟิล์มพิเศษ คอยทำหน้าที่ควบคุมการซึมผ่านอากาศเข้าออก นวัตกรรมดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมะนาว โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เนื่องจากตัวสูตรน้ำยาเร่งคลอโรฟิลล์ต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 3 สตางค์ต่อมะนาว 1 ลูก ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 50 สตางค์ – 1 บาทต่อมะนาวลูก และสำหรับกล่องแอคทีฟแพ็คเกจจิ้งสามารถหาซื้อได้ในราคา 100 บาท ซึ่งสามารถจุได้ถึง 10 กิโลกรัม ส่วนฟิล์มที่ใช้มีต้นทุนเพียง 50 สตางค์ ซึ่งสามารถใช้ได้นานถึง 3 เดือน ฉะนั้นแล้วนวัตกรรมนี้ใช้ต้นทุนที่ต่ำมาก เฉลี่ยแล้วเพียง 60 สตางค์ ถึง หนึ่งบาท ต่อมะนาว 1 ผล (ประมาณการจาก ค่าสารเคมี ค่ากล่องและค่าไฟฟ้าห้องเย็น) แต่ทำให้สามารถขายมะนาวได้ในราคาดีขึ้น และไม่ต้องเสียโอกาสในการขายผลผลิตจากกรณีการบังคับต้นมะนาวให้ออกนอกฤดูกาลอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวยังไม่มีการขายสูตรในเชิงพาณิชย์ โดยอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาด้านเปลือกมะนาวยุบ และปัญหาสีผิวเปลี่ยนเมื่อเก็บไว้นาน โดยสำหรับเกษตรกรสวนมะนาวที่สนใจในนวัตกรรมข้างต้น สามารถขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันนี้ ได้ทำการเร่งศึกษาวิจัยและทดลองพัฒนาสารละลายวิตามิน เพื่อใช้ควบคู่กับกล่องแอคทีฟแพ็คเกจจิ้ง ใช้ในการยืดอายุผลผลิตลิ้นจี่ให้อยู่ได้นานขึ้น 3 เท่า โดยกำลังจะเริ่มทดสอบกับพื้นที่จริงในอำเภออัมพวา และพื้นที่ในจังหวัดลำพูน ตามลำดับ และอีกหนึ่งนวัตกรรมคือการประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อยืดอายุเงาะให้อยู่ได้สูงสุด 45 วัน โดยมีแผนจะลงไปทดสอบในพื้นที่จริงที่จังหวัดจันทบุรีเร็วๆ นี้ รศ.วรภัทร กล่าวทิ้งท้าย

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หมายเลขโทรศัพท์ 0-2564-4491 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หมายเลขโทรศัพท์ 02-564- 4440-59 ต่อ 2010 หรือเข้าไปที่ www.sci.tu.ac.th Bangkokbiznews 11 เม.ย.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร