Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

งานวิจัยชี้ "โรคกระดูกพรุน" เป็นได้ทั้งหญิงชาย แนะวิธีป้องกันด้วยการออกกำลังกายสองแบบ   

ปกติเมื่อพูดถึง Osteoporosis หรือ “โรคกระดูกพรุน”คนทั่วไปมักเชื่อว่าเป็นโรคที่เกิดกับผู้หญิง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ชายก็สามารถเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ได้เช่นกัน กระดูกของมนุษย์ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย จะอ่อนแอเมื่อแก่ตัวลง และมีโอกาสที่จะเกิดอาการที่เรียกว่า Osteoporosis หรือ "โรคกระดูกพรุน" ซึ่งหมายความตามชื่อ ก็คือผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีรูเล็กๆ ตามกระดูก ทำให้กระดูกอ่อนแอหรือบางลง และแตกหักง่าย เช่น เมื่อถูกกระแทกหรือหกล้ม ซึ่งบางครั้งอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสะโพก รายงานของ International Osteoporosis Foundation ชี้ว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนราว 200 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าตัวเลขนี้จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนเรามีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น รายงานยังบอกด้วยว่า ภายในปี คศ. 2050จำนวนผู้เจ็บป่วยจากอาการกระดูกสะโพกร้าวจะเพิ่มขึ้นจากระดับปัจจุบันเกือบ 2 เท่า อยู่ที่จำนวนกว่า 6 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ที่ซึ่งอาการกระดูกสะโพกร้าวจะมีสัดส่วนสูงถึง 45% ของอาการกระดูกร้าวทั้งหมดทั่วโลก และมีรายงานอย่างน้อยหนึ่งชิ้นที่ระบุว่า ผู้ชายจะมีอาการกระดูกสะโพกร้าวเพิ่มขึ้น 310% ในช่วง 33 ปีข้างหน้า ขณะที่ผู้หญิงจะเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น 240% แพทย์ระบุว่า ความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนนี้มีหลายอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พันธุกรรม และการใช้ชีวิต ซึ่งรวมถึงขาดการออกกำลังกาย แต่ถึงกระนั้นผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็ยังอาจมีมวลกระดูกต่ำ ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน คุณ Dean Hargett หนึ่งในผู้เข้าร่วมงานวิจัยเรื่องโรคกระดูกพรุน ของมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ กล่าวว่า ปกติแล้วเขาปั่นจักรยานเป็นประจำ สัปดาห์ละกว่า 160 กม. ซึ่งแน่นอนว่าการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเช่นนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อหัวใจของเขา แต่น่าแปลกที่กลับไม่ได้ช่วยสร้างมวลกระดูกมากนัก คุณ Hargett บอกว่า "กังวลอย่างมากกับเรื่องนี้ และรู้ว่าต้องทำอะไรสักอย่าง เพราะไม่อยากมีอาการกระดูกเปราะไปตลอดชีวิต" ทางด้านคุณ Pam Hilton นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐมิสซูรี่ ระบุว่า ผู้ชายอย่างน้อย 1 ใน 4 จะเจ็บป่วยด้วยอาการที่เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนเมื่อแก่ตัวลง ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คุณ Hilton และคณะนักวิจัย ได้ศึกษาถึงวิธีออกกำลังกายแบบต่างๆ ที่จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และพบว่าการออกกำลังด้วยวิธี "ยกน้ำหนัก" และ “การฝึกกระโดด” หรือที่เรียกว่า Plyomertics คือการกระโดดอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบแบบที่นักกีฬาส่วนใหญ่ฝึกฝนนั้น จะสามารถช่วยสร้างมวลกระดูกให้หนาแน่นขึ้นมาได้อย่างช้าๆ คุณ Pam Hilton บอกว่า การออกกำลังกายทั้งสองวิธีที่กล่าวมา มีประสิทธิผลในการเพิ่มมวลกระดูก โดยจะไปลดระดับโปรตีน Sclerostin ที่ชะลอการเติบโตของกระดูก แต่จะไปเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ช่วยพัฒนาความแข็งแรงของกระดูกแทน นอกจากการยกน้ำหนักและการฝึกกระโดดที่ว่านี้แล้ว นักวิจัยยังแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีมากขึ้น รวมทั้งเลิกสูบบุหรี่ เพื่อที่จะได้มีกระดูกที่แข็งแรง ไม่เปราะ ไม่พรุน ไม่แตกง่าย ให้ใช้งานได้อีกนานๆ Voice of America 06.04.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร