Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

อึ้งพบสารเป็นพิษต่อสมอง-ไอคิวในของเล่น"รูบิก"  

อึ้ง ตรวจพบสารอันตรายใน “รูบิก” และของเล่นเด็กจากพลาสติกรีไซเคิล ชี้เป็นพิษต่อสมอง-ไอคิว เร่งผลักดันทั่วโลกห้ามใช้ เมื่อวันที่ 19 เม.ย. นายอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ เปิดเผยว่า เครือข่ายระหว่างประเทศว่าด้วยการกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (IPEN) สมาคมอาร์นิก้า (Arnika) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนของสาธารณรัฐเช็ก ได้ร่วมกับองค์กรอื่นๆ ใน 26 ประเทศ รวมถึงมูลนิธิบูรณะนิเวศ ในประเทศไทย ทำการสำรวจตัวอย่างของเล่นและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ประกอบด้วยลูกบิดรูบิก 95 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีก 16 ตัวอย่าง ได้แก่ แก้วใส่น้ำร้อน กิ๊บหนีบผม หวี ที่คาดผม และของเล่นเด็กอื่นๆ เพื่อตรวจหาการเจือปนของสารที่เป็นส่วนผสมของสารหน่วงการติดไฟชนิดที่มีองค์ประกอบของโบรมีน ซึ่งเป็นอันตราย สามารถทำลายระบบประสาท และส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญา (ไอคิว) ของเด็ก และยังก่อให้เกิดมะเร็งในตับได้ นายอัครพล กล่าวต่อว่า ผลวิเคราะห์พบว่ามีของเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิดที่มีสารกลุ่มนี้ปนเปื้อนสูงกว่า 50 พีพีเอ็ม (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งเป็นระดับที่ก่ออันตรายต่อร่างกายได้ สำหรับประเทศไทยมูลนิธิบูรณะนิเวศได้สุ่มตรวจลูกบิดรูบิก 9 ตัวอย่าง พบ 2 ตัวอย่างมีการปนเปื้อนสารเหล่านี้ในปริมาณสูง ดังนั้นเครือข่ายเห็นว่าไม่ควรนำสารเหล่านี้มาผลิตของเล่นเด็ก และควรมีมาตรการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อเด็กออกจากท้องตลาดด้วย ขณะเดียวกัน เครือข่ายฯ เตรียมผลักดันให้การประชุมอนุสัญญาสต็อกโฮล์มของรัฐบาลนานาชาติออกข้อบังคับและมาตรการเชิงป้องกันเพื่อคุมเข้มการใช้สารอันตรายกลุ่มนี้ในทั่วโลก และชี้รัฐบาลทุกประเทศควรมีมาตรการภายในประเทศเพื่อควบคุมเรื่องนี้ด้วย ด้านนายอัครพล ตีบไธสง นักวิชาการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า สำหรับตัวอย่างรูกบิกที่เอามาตรวจนั้นเป็นการสุ่มตรวจจากตลาดค้าส่งผลิตภัณฑ์ของเล่น พลาสติกต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งบางตัวอย่างอยู่ในซองพลาสติกไม่ระบุแหล่งที่มา แต่มีถึง 8 ตัวอย่างที่พบตราสัญลักษณ์ “มอก.” หรือมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าได้ตราสัญลักษณ์นั้นมาด้วยวิธีใด เพราะตามตัวอย่างที่เจอสารอันตรายนั้นพบว่าเป็นตัวที่มีสัญลักษณ์ “มอก.” ด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลการตรวจสอบนี้เพิ่งออกมา จึงยังไม่ได้ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเมืองไทยได้รับทราบแต่จะมีการส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแน่นอน เพื่อดำเนินการป้องกันทั้งปลายทางคือเก็บผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานออกจากท้องตลาด และมาตรการระดับต้นทางคือการกำหนดมาฐานห้ามใช้สารเหล่านี้ในการผลิตของเล่นเด็ก นายอัครพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สารอ๊อคต้าเป็นสารเคมีที่ทั่วโลกห้ามใช้ตามข้อบังคับของอนุสัญญาสต็อกโฮล์ม โดยทั่วไปจะใช้ในการผลิตเทอร์โมพลาสติก ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดที่อ่อนตัวเมื่อโดนความร้อน ส่วนเอชบีซีดี (HBCD) เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตโฟมที่เป็นฉนวนกันความร้อนภายในอาคาร ซึ่งทั่วโลกห้ามใช้ตามอนุสัญญาสต็อกโฮล์มเช่นกัน และเดคา (DecaBDE) เป็นสารเคมีที่กำลังมีการเสนอให้ทั่วโลกห้ามใช้ตามอนุสัญญาสต็อกโฮล์มอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปสารกลุ่มนี้จะถูกใช้ในการผลิตพลาสติกจำพวกแผงวงจรไฟฟ้า กล่องหรือฝาครอบเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น จอเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น เมื่อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นหมดอายุการใช้งาน และถูกนำไปรีไซเคิลโดยไม่มีการกำจัดสารอันตรายกลุ่มนี้ออกเสียก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลนี้ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้สารกลุ่มนี้ยังสามารถสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อม พืช และสัตว์ และสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากการหายใจ การสัมผัส และการรับประทานอาหารที่มีสารเหล่านี้สะสมอยู่่ เดลินิวส์ออนไลน์ 19 เม.ย.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร