Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สุดล้ำ! 3 นักศึกษาคิดค้น “โอ้โฮ” น้ำดื่มไร้ขวด ลดการใช้พลาสติก  

นักศึกษา 3 คนจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้แนวความคิดเรื่องการเปลี่ยนขวดบรรจุน้ำพลาสติกให้เป็นวัสดุแบบใหม่ มาตั้งแต่ร่วมกันทำโครงงานในสถานศึกษา และประสบความสำเร็จในการคิดค้นขวดบรรจุน้ำแบบใหม่ด้วยการหันเข้าหาวัสดุในธรรมชาติ มาทดแทนพลาสติก ที่นับวันจะกลายเป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกที สิ่งที่พวกเขาคิดค้นขึ้นมาได้คือ "โอ้โฮ” (Ooho) น้ำดื่มที่บรรจุอยู่ในเนื้อเยื่อใส ไร้สี ไร้กลิ่น สามารถกินเข้าไปพร้อมกับน้ำก็ได้ หรือ จะคายทิ้งก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเนื้อเยื่อที่เป็นภาชนะบรรจุน้ำดังกล่าวสามารถย่อยสลายไปเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติภายใน 6 สัปดาห์ ทั้ง 3 ออกมาก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ สคิปปิง ร็อคส์ แล็บ ใช้เวลาในการระดมทุนและพัฒนากระบวนการผลิต “โอ้โฮ” อยู่นาน 2 ปีเศษ ก็สามารถระดมทุนและพัฒนาระบบการผลิตจนสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้แล้วในตอนนี้ “โอ้โฮ” เป็นน้ำดื่มบรรจุในภาชนะทรงกลม ซึ่งผลิตจากวัสดุชีวภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทียบได้กับเปลือกผลไม้สักอย่างหนึ่ง ตัวเนื้อเยื่อดังกล่าวเป็นเนื้อเยื่อชีวภาพประกอบด้วย โซเดียม อัลจิเนท” กับ “แคลเซียม คลอไรด์” ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเลเป็นหลัก ปิแอร์ ปาสลิเยร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง “สคิปปิง ร็อคส์ แล็บ” ระบุว่า เนื่องจากวัสดุที่ใช้มาจากสิ่งมีชีวิต ดังนั้นตัวเนื้อเยื่อดังกล่าวจึงกินได้ และสามารถแต่งสี แต่งกลิ่นและรสชาดให้ชวนกินได้อีกด้วย สคิปปิง ร็อคส์ แล็บ ระบุว่า การออกแบบภาชนะเมมเบรนดังกล่าวให้เป็นทรงกลมเพื่อให้เหมาะกับการบรรจุและขนย้าย ทั้งยังสามารถเพิ่มขยายปริมาณของน้ำได้ตามความต้องการ เมื่อเทียบกับขวดน้ำพลาสติก นอกจากจะกินได้และไม่หลงเหลือเป็นขยะพิษในสิ่งแวดล้อมแล้ว “โอ้โฮ” ยังมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าขวดพลาสติก กระบวนการผลิตก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่ากระบวนการผลิตขวดพลาสติกถึง 5 เท่า และสิ นเปลืองพลังงานน้อยกว่าถึง 9 เท่าอีกด้วย วิธีการผลิต โอ้โฮ ก็คือการนำน้ำดื่มที่อยู่ในสภาพของน้ำแข็งทรงกลมในปริมาตรที่ต้องการมาจุ่มลงในภาชนะให้เนื้อเยื่อในภาชนะเคลือบผิวน้ำแข็งทั้งหมด ปล่อยให้น้ำภายในละลายก็จะได้ “โอ้โฮ” น้ำดื่มที่ไม่ต้องใส่ขวดพลาสติกอีกต่อไป สคิปปิง ร็อคส์ แล็บ ทำการตลาดมุ่งจำหน่ายในงานเทศกาลกลางแจ้งต่างๆ, ร้านกาแฟ หรือในงานแข่งขันกีฬาอย่างเช่นการวิ่งมาราธอน ซึ่งปกติจะเป็นแหล่งที่บริโภคน้ำในขวดพลาสติกเป็นจำนวนมากอยู่ก่อนแล้ว และถึงแม้จะมีข้อจำกัดจนไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนขวดน้ำพลาสติกได้ 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างเช่น ก้อนโอ้โฮ ไม่สามารถโยนลงเป้เพื่อพกพาไปไหนมาไหนได้ เพราะความนิ่มและเปราะบาง แต่ “โอ้โฮ” ก็น่าจะช่วยลดปริมาณการใช้ขวดพลาสติกลงได้มาก ถ้าหากนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ มติชนออนไลน์ 20.04.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร