Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

30 เม.ษ.ตื่นให้เช้ามาชมดาวศุกร์สว่างที่สุดในรอบปีอีกครั้ง  

สดร.ชวนชมดาวศุกร์สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปี เช้ามืด 30 เมษายน ทางทิศตะวันออก สว่างชัด เห็นได้ทั่วไทยด้วยตาเปล่า คาดความสว่างปรากฏถึง -4.6 หลังจากนี้ ความสว่างปรากฏของดาวศุกร์จะลดลงเพียงเล็กน้อย แต่ยังคงมองเห็นสว่างโดดเด่นบนท้องฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวยาวไปจนถึงเดือน มิ.ย. ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยว่า ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 30 เม.ษ.60 เวลาประมาณ 04:00-06:00 น. ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปี สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน ในทุกภูมิภาคของประเทศ คาดว่าจะมีความสว่างปรากฏถึงแมกนิจูด -4.6 เมื่อเปรียบเทียบระดับความส่องสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงนั้นมีความสว่างแมกนิจูด -12.6 หากสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ดาวศุกร์จะปรากฏเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ ในวันที่ 12 ม.ค.60 ที่ผ่านมา ดาวศุกร์อยู่ในตำแหน่งห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด เราจึงมองเห็นดาวศุกร์สว่างในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก หากใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏครึ่งดวง จนกระทั่งในวันที่ 17 ก.พ. ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุด หากใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ จะเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นเสี้ยว เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ดาวศุกร์จะอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก เรียกว่า “ตำแหน่งร่วมทิศวงใน” หากใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์จะเห็นดาวศุกร์ปรากฎเป็นเสี้ยวบางมากๆ หลังจากวันที่ 25 มี.ค. เรากลับมาสังเกตเห็นดาวศุกร์ในเวลารุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก โดยเห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยวหนาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อส่องด้วยกล้องโทรทรรศน์ จนกระทั่งวันที่ 30 เม.ษ.ดาวศุกร์จะปรากฎสว่างที่สุดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นในวันที่ 3 มิ.ย.60 ดาวศุกร์จะโคจรอยู่ในตำแหน่งห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด“ การที่ดาวศุกร์มีวามสว่างปรากฏมากที่สุดในรอบปี 2560 ในวันที่ 17 ก.พ. และ 30 เม.ษ.นั้นเนื่องจากดาวศุกร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะที่พอดี ประกอบกับมีขนาดเสี้ยวค่อนข้างหนา ส่งผลให้มีความสว่างปรากฏค่อนข้างมาก หากเทียบกับช่วงที่ดาวศุกร์อยู่ในตำแหน่งห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกมากที่สุด ถึงแม้เสี้ยวจะหนาขึ้น แต่ขนาดปรากฏของดาวศุกร์จะลดลง เพราะอยู่ห่างจากโลกมาก และช่วงที่ดาวศุกร์โคจรผ่านตำแหน่งรวมทิศวงใน แม้ดาวศุกร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่ขึ้น แต่จะปรากฏเป็นเสี้ยวบาง ๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ดังนั้น ในวันดังกล่าวเมื่อเราสังเกตดาวศุกร์จากโลก จะมองเห็นดาวศุกร์มีความสว่างปรากฏมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ทั้งนี้ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะ ถัดจากดาวพุธ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก สามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ด้วยตาเปล่าได้ง่าย เพราะดาวศุกร์มีความสว่างมาก ดาวศุกร์นับเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า ไม่นับรวมดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับดาวพุธ เนื่องจากทั้งสองเป็นดาวเคราะห์วงในเหมือนกัน ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดได้ถึง 47.8 องศา เราจึงสามารถสังเกตดาวศุกร์ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือหลังดวงอาทิตย์ตกเท่านั้น หากสังเกตเห็นดาวศุกร์ในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตกปรากฏทางทิศตะวันตก คนไทยมักเรียกว่า “ดาวประจำเมือง” หากสังเกตเห็นดาวศุกร์ในช่วงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นปรากฏทางด้านตะวันออก คนไทยมักเรียกว่า “ดาวประกายพรึก” เป็นที่น่าสังเกตว่าดาวศุกร์จะไม่เคยปรากฏให้เห็นอยู่กลางท้องฟ้า หรือปรากฏในช่วงเวลาดึกเลย” ผู้จัดการออนไลน์ 27 ม.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร