Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

'เกษตรกรรมอัจฉริยะ' ดึง “คลาวด์-เซ็นเซอร์” เพิ่มผลผลิต  

‘ฟูจิตสึ’ หนุนเกษตรกรญี่ปุ่น เขตอิวาตะ ลุยเทคโนโลยีเสริมเพาะปลูก พลิกรูปแบบสู่ “เกษตรกรรมอัจฉริยะ” หนุนเกษตรกรใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมต่อกับตลาด ผู้ผลิต และธุรกิจเรือนเพาะชำด้วยระบบคลาวด์-เซ็นเซอร์ โครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ ประเทศญี่ป่่น เกิดจากการร่วมมือกันสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจ เพื่อการเกษตรเข้มแข็งและสามารถปรับตัวได้ โดยใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้อันหลากหลายโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทฟูจิตสึ โอริกซ์ และมาสึดะ ซีด ร่วมจัดทำโครงการนวัตกรรมทางเกษตรกรรม โครงการนี้ เปิดตัวเมื่อต้นปี 2559 มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองธุรกิจใหม่ ที่เกิดจากการร่วมมือกันของผู้ประกอบธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งจะรวมองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ แล้วก่อตั้งโซ่คุณค่าด้านเกษตรกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างฐานเกษตรกรรมที่แข็งแกร่งในเขตอิวาตะ นายมาซายูกิ คุราชินา ผู้จัดการทั่วไป แผนกธุรกิจการเกษตรบริษัท โอริกซ์ คอร์ปอเรชั่น และ กรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท มาสึดะ ซีด จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ต้องการผลักดันพืชผลและเมล็ดพันธุ์อันหลากหลายของญี่ปุ่นเข้าสู่ตลาดระดับโลก โดยการวางตัวโครงการใหม่นี้ให้เป็นห้องแสดงสินค้าพืชผลและเมล็ดพันธุ์ นั่นเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วมกัน ปัญหาด้านโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ในตลาดการส่งออกผลผลิตการเกษตรอันแข็งแกร่งของญี่ปุ่น การส่งออกของโภคภัณฑ์ทางการเกษตรที่เจริญเติบโตของญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากความนิยมในอาหารญี่ปุ่น ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ส่งผลให้ตัวเลขส่งออกในปี 2558 อยู่ที่ 443,200 ล้านเยน หรือเพิ่มขึ้น 24.2% จากปีก่อน ดัน ‘นวัตกรรม’ พลิกโฉม อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมการเกษตรของญี่ปุ่น มีอนาคตที่สดใสมากทีเดียว แต่หากวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนขึ้นก็จะพบว่า อุตสาหกรรมนี้มีปัญหาทางด้านโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข หากยังต้องการที่จะเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต ปัญหาแรก คือ องค์กรการเกษตรส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และขาดแคลนทรัพยากร เพื่อใช้ลงทุนในการพัฒนานวัตกรรม และการผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เจริญเติบโตสูงขึ้น นอกจากนี้ อีกปัญหาสำคัญ คือ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นปัจจุบันเริ่มชราภาพลงไปทุกวัน และหากคนรุ่นใหม่ๆ ไม่ต้องการที่จะทำงานในอุตสาหกรรมนี้ จำนวนเกษตรกรก็จะลดลงเรื่อยๆ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาพื้นที่ทางการเกษตรถูกละทิ้งหรือไร้การเพาะปลูก และผลลัพธ์ที่ได้ คือ ผลิตผลทางการเกษตรจะมีจำนวนน้อยลง และส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจระดับภูมิภาคธุรกิจการเกษตรได้กลายมาเป็นธุรกิจระดับโลก และมีการแข่งขันกันที่สูงขึ้น ทั้งหมดนี้ หมายความว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศญี่ปุ่นต้องลุกขึ้นมาพลิกโฉมอุตสาหกรรมการเกษตรของตนเองใหม่อีกครั้งเชื่อมต่อกับตลาด ผู้ผลิต และธุรกิจเรือนเพาะชำด้วยบริการระบบคลาวด์เพื่อธุรกิจอาหารและเกษตรกรรม “Akisai” ของฟูจิตสึ จึงได้เข้าไปเกี่ยวข้องในโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะมากมาย เพื่อมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2555 โครงการเหล่านี้มีเป้าหมายใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้และข้อมูลต่างๆ และจากผู้ประกอบการหลายราย นำไปสู่การพัฒนาระดับภูมิภาค ผ่านภาคการเกษตรที่มีความเข้มแข็งขึ้น สิ่งนี้สร้างความท้าทายให้ฟูจิตสึมาก เพราะบริษัทได้ก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจเกษตรกรรมในฐานะเจ้าของกิจการ ไม่ใช่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพียงอย่างเดียว โดยโครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะใหม่ในเขตอิวาตะนี้ เป็นหนึ่งในโครงการริเริ่มด้านเกษตรกรรมอัจฉริยะแรกๆ ที่ฟูจิตสึเข้าไปร่วมดำเนินการ และได้เปิดตัวโดยมีเป้าหมายในการสร้างรากฐานเกษตรกรรมให้มีความเข้มแข็ง ขณะที่ บริษัท โอริกซ์ คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับบริษัท มาสึดะ ซีด จำกัด และฟูจิตสึ ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้น และดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2559 บริษัท โอริกซ์มีธุรกิจหลัก คือ ให้บริการทางด้านการเงินที่ล้ำสมัย และยังมีการให้บริการธุรกิจแขนงอื่นในหลายภาคส่วน เช่น อสังหาริมทรัพย์ และพลังงาน บริษัทมาสึดะ ซีด จำกัด ทำธุรกิจด้านเรือนเพาะชำพืชที่มีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์หลากหลายชนิดในตลอดกว่า 90 ปีที่ผ่านมา ส่วนฟูจิตสึมีประสบการณ์การปรับใช้โซลูชั่นด้านเกษตรกรรม โดยใช้เทคโนโลยีให้ลูกค้ามายาวนานคุณสมบัติของโครงการนี้ คือ การเข้าไปช่วยสร้างระบบนิเวศใหม่ อันนำมาซึ่งความเข้มแข็งและองค์ความรู้ที่หลากหลาย สู่กระจายสินค้าแบบอัจฉริยะ จากผู้ประกอบธุรกิจหลายๆ ราย ทั้งนี้เพื่อสร้างโซ่คุณค่าทางเกษตรกรรมซึ่งส่งผลให้มีการร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบจำลองธุรกิจใหม่ขึ้นมา จุดแข็งของโอริกซ์ คือความเชี่ยวชาญการประเมินความต้องการของผู้ให้บริการด้านอาหารและอุตสาหกรรมค้าปลีกได้ มีเครือข่ายการกระจายสินค้าทางการเกษตรสำหรับลูกค้าระดับประเทศที่หลากหลายผ่านบริการทางการเงินของบริษัท ดแข็งนี้ นำไปใช้ประโยชน์ร่วมกับวิธี ‘Market-in’ ซึ่งจะมีการวางแผนการผลิต โดยอ้างอิงจากความต้องการลูกค้า ซึ่งตั้งเป้าว่า หากวิธีการนี้สามารถระบุประเภทของผักที่ผู้บริโภคต้องการในร้านค้าปลีกต่างๆ ได้ จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตตอบรับความท้าทายในการผลิตพืชผลใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายขึ้น โครงการนี้จะยังสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจเรือนเพาะชำพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการทำการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาด้านการเกษตรอีกด้วย โดยปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวยังคงเป็นความลับที่ยังไม่ได้รับเปิดเผยอยู่ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นมีการติดต่อกับตลาดนานาชาติน้อยมาก และพันธุ์พืชที่เกษตรกรเหล่านี้ถูกเฝ้าบ่มเพาะด้วยความยากลำบากก็ยังไม่ได้รับการเปิดเผยในตลาดดังกล่าว อย่างไรก็ดี โครงการใหม่นี้ควรแก้ปัญหาโดยการเป็นตัวแทนระหว่างตลาด ผู้ผลิต และธุรกิจเรือนเพาะชำ ซึ่งการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วมกันนี้เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจเรือนเพาะชำอย่างมาก เห็นได้จากที่ตอนนี้มีหลายบริษัทติดต่อบริษัท มาสึดา ซีด เพื่อเข้าร่วมเป็นผู้ค้าในโครงการใหม่ แล้วตั้งรูปแบบเกษตรกรรมใหม่ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่

โครงการเกษตรกรรมอัจฉริยะในเขตอิวาตะ จะจัดตั้งรูปแบบเกษตรกรรมใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เซ็นเซอร์ระบบเครือข่าย และระบบคลาวด์อย่างเต็มที่ โดยจะเริ่มจากการตอบสนองอุปสงค์ของตลาดที่มีความต้องการมะเขือเทศ พริกหยวก และผักคะน้าอย่างมาก >ระบบ‘เซ็นเซอร์’ในโรงเพาะปลูก สำหรับ โรงงานเพาะปลูก จะประกอบด้วยเรือนกระจกขนาดใหญ่หลายหลังจะสร้างไว้ในเมืองอิวาตะ จังหวัดชิซูโอกะ เป็นจังหวัดที่มีปริมาณแสงแดดมากกว่าเฉลี่ยของประเทศถึง15% ต่อปี จึงเหมาะแก่การปลูกพืชในเรือนกระจกอย่างยิ่ง ในการวัดอุณหภูมิความชื้นระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และความเข้มข้นของสารไฮโดรโปนิกส์จะมีการใช้เซ็นเซอร์ที่จะติดตั้งไว้ในเรือนกระจกเหล่านี้ข้อมูลที่เซ็นเซอร์นี้จับได้จะส่งไปจัดเก็บที่คลาวด์ของระบบอาหารและเกษตรกรรม “Akisai” ของฟูจิตสึ การติดตามอุณหภูมิในห้องเรือนกระจกแบบเรียลไทม์จากทางไกล รวมทั้งการเปิดและปิดหน้าต่างการเริ่มและหยุดพัดลมดูดอากาศ การควบคุมอุณหภูมิ อากาศ และฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่มีการดำเนินการจากทางไกล ทั้งหมดจะค่อยๆ ช่วยสร้างความเข้าใจทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับวิธีบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปลูกพืชผักในอนาคต ข้อมูลประสิทธิภาพการเพาะปลูกที่มีการจัดเก็บไว้ใน Akisai จะรวมการตั้งค่าเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมวิธีการควบคุมสภาพแวดล้อมเรือนกระจกเข้าด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาธุรกิจการออกใบอนุญาตที่จะให้ได้มาซึ่งผลิตผลและคุณภาพที่มีความเสถียร นายทาเคชิ ชูโดะ (Takeshi Sudou) รองผู้จัดการหน่วยงาน สำนักวางแผนนวัตกรรมแบบเปิดด้านเกษตรกรรมและอาหาร ประจำหน่วยธุรกิจด้านนวัตกรรมของฟูจิตสึ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของบริษัทคือการเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญที่สนับสนุนนวัตกรรมด้านเกษตรกรรมในประเทศญี่ปุ่น ผ่านการสร้างสรรค์ธุรกิจร่วมกัน และเพื่อให้มีส่วนช่วยในการทำให้เศรษฐกิจระดับภูมิภาคกลับมาคึกคักอีกครั้งผ่านภาคการเกษตรหน้าจอติดตามดูสภาวะของเรือนเพาะชำ Bangkokbiznews 1 พ.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร