Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พบ "โลก" เวอร์ชันน้ำแข็งอยู่นอกระบบสุริยะ   

นักวิทยาศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกระบบที่มีหลายอย่างคล้ายโลก ทั้งมวลที่เท่ากัน และระยะห่างจากดาวฤกษ์ที่ใกล้เคียงระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ของเรากับดวงอาทิตย์ แต่เป็นดาวเคราะห์ที่หนาวเย็นเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะดาวฤกษ์ใจกลางระบบค่อนข้างริบหรี่ แม้ดาวเคราะห์นอกระบบที่เพิ่งพบใหม่จะหนาวเย็นเกินไปจนสิ่งมีชีวิตไม่น่าจะอาศัยอยู่ได้ แต่รายงานจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า การค้นพบครั้งนี้ก็ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงประเภทของระบบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะได้มากขึ้น ยอสซี ชวาร์ตซวาล์ด (Yossi Shvartzvald) นักวิชาการหลังปริญญาเอกของนาซา ประจำที่ห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน (Jet Propulsion Laboratory) ในพาสาดีนา แคลิฟอร์เนีย และหัวหน้าทีมวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผลงานการค้นพบครั้งนี้ลงวารสารแอสโตรฟิสิกส์เจอร์นัลเลตเตอร์ส (Astrophysical Journal Letters) เรียกดาวเคราะห์นี้ว่า “ไอซ์บอล” (iceball) โดยระบุว่า เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลน้อยที่เท่าที่เคยสังเกตพบด้วยเทคนิค “ไมโครเลนส์” (microlensing) เทคนิคไมโครเลนส์นั้นเป็นเทคนิคที่ใช้ค้นหาวัตถุในระยะไกล โดยใช้ดาวฤกษ์ที่อยู่พื้นหลังเป็นแสงแฟลช เมื่อดาวฤกษ์อีกดวงผ่านหน้าดาวฤกษ์สว่างที่ใช้เป็นพื้นหลัง แรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ที่อยู่ด้านหน้าจะรวมแสงไปที่ดาวฤกษ์พื้นหลัง ทำให้ดาวฤกษ์พื้นหลังสว่างขึ้น ส่วนดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ด้านหน้าอาจส่งผลให้ความสว่างของดาวฤกษ์ด้านหลังลดลงไปชั่วขณะ ในกรณีนี้แสงที่ลดลงไปชั่วขณะจะเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเทคนิคไมโครเลนส์ช่วยการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ไกลจากโลกมากๆ และสามารถตรวจพบดาวเคราะห์ที่มีมวลต่ำ ซึ่งอยู่ไกลจากดาวฤกษ์ของตัวเองมากกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่ถูกเรียกว่าก้อนน้ำแข็งหรือไอซ์บอลนี้มีชื่อว่า OGLE-2016-BLG-1195Lb ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงการกระจายตัวของดาวเคราะห์ในระบบกาแล็กซีของเรา และยังมีคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับ ความแตกต่างของดาวเคราะห์ในบริเวณศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่นูนเหมือนไข่ดาวกับบริเวณขอบที่แบนๆ ของกาแล็กซี สำหรับดาวเคราะห์ OGLE-2016-BLG-1195Lb นั้นอยู่บริเวณขอบแบนๆ ของกาแล็กซีทาง เช่นเดียวกับดาวเคราะห์นอกระบบอีก 2 ดวงที่ค้นพบด้วยเทคนิคไมโครเลนส์ก่อนหน้านี้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ของนาซา สำหรับการศึกษาครั้งนี้ได้รับการแจ้งเตือนจากการสำรวจโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ไมโครเลนส์บนพื้นโลกโอจีแอลอี (OGLE : Optical Gravitational Lensing Experiment) ที่บริหารจัดการโดยมหาวิทยาลัยวอร์ซอว์ (University of Warsaw) ในโปแลนด์ และทีมศึกษาได้ใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ไมโครเลนส์เกาหลี (Korea Microlensing Telescope Network) หรือเคเอ็มทีเน็ต (KMTNet) ที่เดินเครื่องโดยสถาบันวิทยาการดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี (Korea Astronomy and Space Science Institute) รวมถึงกล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์ เพื่อติดตามปรากฏการณ์ดังกล่าวทั้งจากบนโลกและจากอวกาศ กล้องเคเอ็มทีเน็ตนั้นประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์เลนส์กว้าง 3 ตัว ตัวหนึ่งอยู่ในชิลี อีกตัวอยู่ในออสเตรเลีย และอีกตัวอยู่ที่แอฟริกาใต้ หลังจากนักวิทยาศาสตร์ของทีมสปิตเซอร์ได้รับสัญญาณเตือนจากกล้องโอจีแอลอี พวกเขาก็รับรู้ได้ว่ามีโอกาสสูงที่ค้นพบดาวเคราะห์ โดยจากมุมมองทั้งบนโลกและในอวกาศนั้นนักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องเคเอ็มทีเน็ตตรวจหาดาวเคราะห์ และใช้ข้อมูลจากกล้องสปิตเซอร์คำนวณมวลของดาวและดาวเคราะห์ แม้ว่าดาวเคราะห์ OGLE-2016-BLG-1195Lb มีมวลเท่าๆ กับโลก และอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของศูนย์กลางระบบในระยะเดียวกับระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ แต่ความเหมือนมีเพียงเท่านี้ โดยดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากโลกถึง 13,000 ปีแสงนั้น โคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีขนาดเล็กมาก จนนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเป็นดาวฤกษ์หรือไม่ เพราะอาจจะป็นดาวแคระน้ำตาล ซึ่งเป็นวัตถุอวกาศคล้ายดาวฤกษ์ แต่ใจกลางไม่ร้อนพอจะสร้างพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน และดาวฤกษ์นี้ยังมีมวลเพียง 7.8% ของมวลดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ปริ่มๆ ระหว่างเป็นดาวฤกษ์หรืออาจไม่ใช่ก็ได้ อีกทางหนึ่งดาวฤกษ์ศูนย์ของดาวเคราะห์ OGLE-2016-BLG-1195Lb อาจเป็นดาวแคระที่เย็นมากอย่างดาวฤกษ์ทราปปิสต์-1 (TRAPPIST-1) ซึ่งก่อนหน้านี้กล้องสปิตเซอร์และกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกได้ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลกถึง 7 ดวง โคจรรอบดาวฤกษ์ทราปปิสต์-1 ในระยะที่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวพุธรอบดวงอาทิตย์และทั้งหมดมีโอกาสมีน้ำในรูปของเหลว ทว่าสำหรับดาวเคราะห์ OGLE-2016-BLG-1195Lb ซึ่งอยู่ห่างจากดาวฤกษ์ที่ค่อนข้างเย็นมากๆ ในระยะเท่าโลกห่างจากดวงอาทิตย์นั้น อาจจะเป็นดาวเคราะห์ที่หนาวเย็นยิ่งกว่าดาวเคราะห์แคระพลูโตก็ได้ ดังนั้นน้ำที่พื้นผิวน่าจะถูกแช่แข็งทั้งหมด หากจะมีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวเคราะห์นี้ต้องโคจรใกล้ดาวฤกษ์ของตัวเองมากกว่านี้ ตอนนี้กล้องโทรทรรศน์บนโลกที่อาศัยเทคนิคไมโครเลนส์ไม่สามารถค้นหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเพื่อค้นหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่าด้วยเทคนิคไมโครเลนส์ ซึ่งนาซาเองมีแผนส่งกล้องโทรทรรศน์วีเฟิร์สต์ (WFIRST: Wide Field Infrared Survey Telescope) ที่มีความไวในการตรวจวัดสูงขึ้นสู่อวกาศในช่วงกลางศวรรษ 2020 และจะช่วยตรวจโจทย์ความต้องการนี้ได้ ชวาร์ตซ์วาล์ดกล่าวว่า หนึ่งในปัญหาของการคำนวณว่ามีดาวเคราะห์แบบนี้อยู่ระบบสุริยะอีกเท่าไรนั้น คือเราเดินมาถึงจุดที่ไม่สามารถค้นหาดาวเคราะห์ที่มีมวลน้อยกว่านี้ด้วยเทคนิคไมโครเลนส์ในปัจจุบัน แต่กล้องวีเฟิร์สต์จะช่วยเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นี้ได้ ผูัจัดการออนไลน์ 3 พ.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร