Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

หรือว่า ‘E-Book’ กำลังเพลี่ยงพล้ำแก่ ‘หนังสือเล่ม’  

ยังจำวินาทีที่เรารู้สึกตื่นเต้นกับอุปกรณ์อ่านหนังสือเล็กๆ แบบ Kindle ได้มั้ย ล่าสุดดูเหมือนว่าตัวอุปกรณ์และ E-book จะเริ่มเสื่อมมนต์ขลัง ยอดขายตกลงเรื่อยๆ หลับตานึกถึงปี 2007 เมื่อ 10 ปีที่แล้ว Amazon ปล่อย Kindle ออกมาให้เหล่าคนรักการอ่านรู้สึกปิติยินดีว่า เอ้ย ต่อไปนี้ หนังสือหนังหาหรือนิตยสารจำนวนมหาศาลจะหดลงและอาศัยอยู่ในอุปกรณ์เล็กๆ ขนาดเท่าฝ่ามือ หนังสือในฐานะทรัพยากรอันมีค่าต่อไปนี้จะเข้าถึงได้อย่างง่ายดายในรูปแบบดิจิทัล โอ้ โลกใหม่กำลังมา ดีใจน้ำตาไหล หลังจากนั้นก็มีการ ‘ถกเถียง’ กันอย่างออกรสว่า เฮ้ย เจ้า ‘หนังสือ’ ที่เป็นเล่มๆ เป็นวัตถุสิ่งของ โดยตัวเองมีความเป็น ‘วัฒนธรรม’ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มนุษย์เราจับหนังสือ สัมผัสหน้ากระดาษและไล่สายตาจากบรรทัดหนึ่งไปสู่บรรทัดหนึ่งมาอย่างยาวนาน และกระบวนการอันน่าหลงใหลนี้มันก็มีความหมายกับพวกเรามากๆ แต่แล้วการเข้ามาของโลกดิจิตัล ของจอแสดงผลเสมือน ที่เอาล่ะ ไอ้การแสดงข้อความทั้งหลายมันก็แสดงได้แหละ แต่ความรู้สึกในการอ่าน และรวมไปถึงหนังสือในฐานะวัตถุที่ ‘มีความหมาย’ ในตัวเอง หนังสือเล่มๆ วัฒนธรรมการพิมพ์ การขายหนังสือมันจะหายไปรึเปล่า ถ้าเราดู มันก็เหมือนเป็นการต่อสู้กันของแต่ล่ะฝ่าย ฝ่ายที่อนุรักษ์หนังสือเล่ม กับฝ่ายที่หัวสมัยใหม่ ชื่นชอบเทคโนโลยีหน่อย เหล่าสื่อและนักคิดแต่ละฝ่ายก็ต่างงัดข้อดีของทั้ง E-Book และหนังสือเล่มออกมาเป็นข้อๆ อย่างออกรส ฝ่ายหนังสือเล่ม The National Book Review เขียนบทความบอกว่านี่คือ 10 ข้อที่ทำไมหนังสือเล่มจะชนะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ข้อคิดเห็นสำคัญๆ ก็เน้นความรื่นรมย์ของสัมผัสของหน้ากระดาษ ความงดงามของการซึมซับและพลิกไปแต่ละหน้า มีการศึกษาบอกว่าการอ่านนวนิยายสืบสวนในกระดาษ คนอ่านจะนึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องได้ดีกว่าอ่านในอุปกรณ์ หนังสือเล่ม เช่น ในห้องสมุดมีอายุยืนยาว 50 ปี แต่ถ้าเป็น Kindle ไม่นานก็หายไป (ตรงนี้ก็มีข้ออ่อนนิดนึงคือถ้าทำไฟล์ดิจิตัลกลาง อาจจะยั่งยืนกว่าแบบเล่มๆ ที่ผุพังได้ เข้าถึงได้ง่ายกว่าด้วย) หนังสือเล่มเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันด้วย แบบ อะเธออ่านเล่มนี้สิ มันมี action ในการแลกเปลี่ยน มีการสร้างความสัมพันธ์ นอกจากนี้หนังสือเล่มยังไม่ค่อยถูกขโมย เราสามารถทิ้งหนังสือไว้ได้ ไม่ค่อยหาย นอกจากนี้ ในทางการแพทย์ก็ออกมาบอกว่าการอ่านหนังสือจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ปล่อยแสงออกมา (พวกมือถือ แทปเล็ต ส่วน Kindle ไม่นับเพราะเป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีแสงออกมา) Harvard Medical School บอกว่าการอ่าน E-book ก่อนนอนจะส่งผลรบกวนกับคุณภาพการนอนด้วย ฝ่าย E-Book ก็บอกว่า เทคโนโลยีก็ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นนะ นอกจากเรื่องจำนวนการพกและน้ำหนักแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องความรวดเร็วและการเชื่อมต่ออีก คือ ถ้าหนังสือออกปุ๊บ เราก็สามารถที่จะจิ้ม ซื้อ และดาวน์โหลดได้ในทันที ลองนึกภาพพื้นที่ไกลๆ หรือข้ามโลก เราสามารถเสียเงินซื้อหนังสือมาอ่านได้พร้อมกันทั่วโลกได้ด้วยเทคโนโลยี (ถ้ามีอินเทอร์เน็ต) อีกประเด็นคือความเชื่อมโยงต่างๆ ลองนึกภาพเวลาเราอ่านหนังสือดิจิทัลบางทีจะมี hyperlink ที่เชื่อมความเชื่อมโยงของข้อความในหนังสือเล่มหนึ่งไปสู่เล่มอื่นๆ ให้เราสามารถตามอ่านต่อไปได้เลย แถมด้วยความเป็นดิจิทัลก็ทำให้เกิดประสบการณ์การอ่านแบบใหม่ๆ ที่รวมภาพ เสียง อนิเมชั่นต่างๆ เข้าไปด้วยกัน นอกนั้นก็เรื่องประหยัดทรัพยากร ไม่ต้องตัดต้นไม้ จากการถกเถียงกัน ดูเหมือนว่าผลจากระยะ 10 ปีหลังการเกิดขึ้นของ E-Book และความกังวลต่อวงการสิ่งพิมพ์ต่างๆ ล่าสุดในสหราชอาณาจักร The Publishers Association รายงานความเคลื่อนไหวของการบริโภคหนังสือว่าปี 2017 เป็นปีที่ตลาดหนังสือเติบโตและมีการบริโภคกันอย่างคึกคัก ยอดจำหน่ายหนังสือเล่มโตขึ้น 8% มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 3 ล้านปอนด์ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 ในขณะที่ยอดการจำหน่าย E-Book ตกลงประมาณ 3% จากข้อมูลนี้ก็เห็นว่าการบริโภคหนังสือเล่มก็ยังคงเฟื่องฟู ในขณะที่ E-Book ก็ค่อนข้างชะลอตัว ซึ่งถ้าเรามองไปที่คนรอบข้างใกล้ๆ เราก็อาจจะเห็นว่าการบริโภคหนังสือเป็นเล่มก็ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่เข้มแข็งอยู่ ในขณะที่การอ่านหนังสือบนอุปกรณ์ก็อาจจะใช้อ่านพวกสิ่งอื่นๆ เช่น นิตยสาร หนังสืออ้างอิง หรือหนังสือวิชาการเล่มหนาๆ The Matter 3.04.17 อ้างอิงข้อมูลจาก www.huffingtonpost.com www.bbc.com www.successconsciousness.com www.publishers.org.uk

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร