Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘แผ่นปิดแผล’จากเส้นใยจุลินทรีย์ จุฬาฯ-ปตท.ช่วยผู้ติดเชื้อ  

นักวิจัยจุฬาฯ คิดค้นกรรมวิธีผลิตแผ่นปิดแผลจากเส้นใยจุลินทรีย์ ชูคุณสมบัติพิเศษรักษาความชุ่มชื้นให้กับแผล จึงไม่ติดแผลเมื่อลอกออก ทำให้เนื้อเยื่อที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ไม่ถูกทำลายและลดการเกิดแผลเป็นที่เป็นรอยนูน นำร่องทดสอบในสุนัข-แมวในรพ.สัตว์เล็กจุฬาฯ ด้าน ปตท.สนับสนุน 4 ล้านบาทให้พัฒนาแผ่นใหญ่ขึ้นสำหรับใช้กับช้าง รวมทั้งผลิตแจกจ่ายผู้ติดเชื้อในกิจกรรมซีเอสอาร์ “ก่อนหน้านี้ มีนักวิจัยได้นำไบโอเซลลูโลสคอมพอสิตหรือแผ่นปิดแผลจากเส้นใยจุลินทรีย์ มาทดลองใช้กับอาสาสมัครผู้ป่วยอยู่แล้ว อีกทั้งผลการทดสอบในหนูทดลองก็ประสบผลสำเร็จตามโจทย์วิจัย เราจึงสนใจที่จะนำมาวิจัยใช้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อหาคำตอบว่า สรีระที่แตกต่างระหว่างคนกับสัตว์จะใช้ได้ผลหรือไม่” รศ.รัตนา รุจิรวนิช อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำร่องจากสัตว์สู่คน ไบโอเซลลูโลส คือเส้นใยที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กระดับนาโนเมตร มีโครงสร้างสามมิติทำให้สามารถอุ้มน้ำได้ดี มีสมบัติเป็นไฮโดรเจลเหมาะนำไปทำเป็นวัสดุปิดแผลสำหรับบาดแผลที่ผ่านการรักษาถึงระยะ Proliferation ที่ไม่มีการอักเสบและไม่มีการติดเชื้อแล้ว โครงการวิจัยนี้เป็นการใช้จุลินทรีย์สร้างเซลลูโลส แล้วทำให้แข็งแรงด้วยการเสริมเส้นใย สามารถผลิตเป็นผืนใหญ่เพื่อรองรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้สามารถเติมสารต่างๆ ลงไป เช่น สารสมุนไพรที่มีคุณสมบัติต่างๆ หรือสารอนุภาคเงิน โปรตีนจากไหมและเจลาติน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาบาดแผล โดยงานวิจัยนี้ได้ร่วมมือกับ ปตท. และโรงพยาบาลสัตว์เล็กจุฬาฯ เพื่อนำมาทดสอบในสัตว์เล็กอย่างสุนัขแมว ที่มีอาการเป็นแผลที่ผิวหนัง ซึ่งมาจากสาเหตุที่ต่างกัน พบว่า ใช้ได้ผลขณะที่มีรายงานทางวิชาการระบุว่า สามารถใช้กับคนได้ผลในกลุ่มที่ไฟไหม้น้ำร้อนลวก” รศ.รัตนา กล่าว อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยดังกล่าวโฟกัสนำร่องที่สัตว์ พร้อมทั้งจดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตที่สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยได้รับการสนับสนุนจาก ปตท. 4 ล้านบาทเพื่อให้ที่จะผลิต เป็นผืนขนาดใหญ่สำหรับนำไปใช้กับสัตว์ใหญ่อย่างช้างที่ได้รับบาดเจ็บ ผลจากการทดสอบพบว่า วัสดุปิดแผลไบโอเซลลูโลสคอมพอสิตทำให้แผลดีขึ้น ขนาดแผลลดลง ลดการเกิดแผลเป็นที่เป็นรอยนูน เพราะมีลักษณะเป็นเจล มีแรงที่จะไปกดตรงบริเวณบาดแผลทำให้การสร้างคอลาเจนไม่เกิดรอยแผลเป็น จึงนำไปรักษาผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และเหมาะจะนำไปทำเป็นวัสดุปิดแผลสำหรับบาดแผลในระยะฟื้นฟูแล้ว ที่ไม่มีการอักเสบและติดเชื้อ ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้น ช่วยสามานแผลได้เร็วกว่าแผ่นแปะแผลในท้องตลาด ในจำนวนวันที่เท่ากัน นวัตกรรมเพื่อผู้ติดเชื้อ ขั้นต่อไป นักวิจัยกำลังหารือ ปตท.สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผู้ติดเชื้อที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไปออกมา ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อดีขึ้นจากปัญหาทางผิวหนัง เบื้องต้นพบว่า ปตท.ให้ความสนใจที่จะให้การสนับสนุนต่อยอดงานวิจัยนี้ ให้สามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง เพื่อช่วยเหลือคนในสังคมในลักษณะการทำซีเอสอาร์ไม่ใช่ทำเชิงการค้าแจกจ่ายตามโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยเอดส์ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ “รุ่นแรกสังเคราะห์อนุภาคเงินเข้าไปช่วยฆ่าเชื้อทำให้เกิดการตื่นตัวในวงการและได้รับการสนับจาก ปตท.มาแล้ว 3 เฟสในการพัฒนาให้เป็นระดับอุตสาหกรรม ในอนาคตจะพัฒนาสู่คนแต่ต้องร่วมกับแพทย์ที่สนใจทำวิจัยร่วมกันในการพัฒนาวัสดุปิดแผลไบโอเซลลูโลสคอมพอสิตสำหรับผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์ ส่งผลให้คนไทยได้ใช้สินค้าในราคาถูกด้วย” รศ.รัตนา ทั้งนี้ ในอนาคตจะวิจัยเติมสารสำคัญเข้าไปในแผ่นปิด เช่น สารสมุนไพรที่มีคุณสมบัติต่างๆ หรือสารอนุภาคเงิน โปรตีนจากไหม หรือสารพวกเจลาติน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาบาดแผล Bangkokbiznews 4 พ.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร