Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

'มังกรโกโมโด' อาจจะเป็นแหล่งยาปฏิชีวนะชนิดใหม่เพื่อรับมือเชื้อแบคทีเรียดื้อยา   

มังกรโกโมโด" เป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่มีขนาดลำตัวใหญ่โต ฟันเต็มปาก ดุร้าย และมีเเหล่งที่อยู่ที่แสนสกปรก Barney Bishop นักชีวเคมีที่มหาวิทยาลัย George Mason ที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงวอชิงตัน กล่าวว่าเเหล่งที่อยู่ที่สกปรกทำให้มังกรโกโมโดพัฒนาระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่เเข็งเเรงมาก Bishop นักชีวเคมีอเมริกัน ศึกษาโมเลกุลชนิดต่างๆ ที่สร้างขึ้นโดยภูมิต้านทานร่างกาย ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือด่านเเรกในการป้องกันการติดเชื้อ เขาเกิดความสนใจศึกษาภูมิต้านทานของมังกรโกโมโด "เป็นที่รู้กันดีว่ามังกรโกโมโดกินสัตว์ที่ตายเเล้วเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในสภาพเเวดล้อมที่สกปรก มังกรโกโมโดมีเชื้อเเบคทีเรียมากถึง 57 สายพันธุ์ภายในปาก ซึ่งล้วนเเต่เป็นเชื้อเเบคทีเรียที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ แต่มังกรโกโมโดกลับไม่เจ็บป่วยจากเชื้อเเบคทีเรียที่มีอยู่ในร่างกายเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ในปากหรือในบาดเเผลที่เกิดจากการต่อสู้กับมังกรโกโมโดตัวอื่น" Bishop นักชีวเคมีอเมริกันกับทีมงานทำการสกัดเอาเพปไทด์ซึ่งเป็นโปรตีนออกจากเลือดของมังกรโกโมโด โปรตีนเหล่านี้มีคุณสมบัติต่อสู้กับเชื้อโรคและผลิตโดยระบบภูมิต้านทานของมังกรโกโมโด นักวิจัยชี้ว่าเพปไทด์ที่ได้จากเลือดของมังกรโกโมโดเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดีมากในการต่อต้านเชื้อเเบคทีเรีย ทีมนักวิจัยได้ผลิตสารเพปไทด์เทียมที่ลอกเลียนแบบจากเพปไทด์จากมังกรโกโมโดขึ้น เเละได้ทดสอบประสิทธิภาพเพปไทด์เทียมชนิดที่มีศักยภาพมากที่สุดเรียกว่า DRGN-1 (DRAGON-1) โดยนำไปทดสอบกับบาดเเผลของหนูทดลอง และเซลล์เพาะเชื้อผิวหนังคน ทีมนักวิจัยพบว่าเพปไทด์เทียมสามารถทำลายชั้นนอกของเชื้อเเบคทีเรียได้และทำลายไบโอฟิล์มที่เป็นคราบเหนียวที่เกิดจากการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนของเชื้อเเบคทีเรียเพื่อต่อต้านยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้เพปไทด์เหล่านี้ยังช่วยเร่งการสมานเเผลด้วย Bishop ชี้ว่าเพปไทด์จากมังกรโกโมโดเป็นเเหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญ และอาจช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนายาบำบัดการติดเชื้อแบบใหม่ได้ "การทำงานสามขั้นตอนในการทำลายเชื้อเเบคทีเรียของเพปไทด์เทียม DRAGON-1 หากนำไปผลิตเป็นยาปฏิชีวนะอาจจะช่วยป้องกันเชื้อเเบคทีเรียไม่ให้ดื้อยาได้ และช่วยแก้ปัญหาเชื้อโรคดื้อยาที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ทางสาธารณสุขในปัจจุบัน" การวิจัยนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงาน Defense Threat Reduction Agency ในสหรัฐฯ และทางกองทัพสหรัฐฯ สนใจในงานวิจัยนี้ เนื่องจากมองว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาวุธชีวภาพ ตัวอย่างเลือดของมังกรโกโมโดที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้มาจากมังกรโกโมโดตัวผู้ชื่อ Tujah ที่มีน้ำหนักตัวเกือบ 45 กิโลกรัมครึ่ง อาศัยอยู่ที่ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์ St. Augustine ใน Florida Bishop หัวหน้าทีมนักวิจัย กล่าวว่า "การวิจัยนี้ไม่ได้สร้างความเจ็บปวดหรืออันตรายเเก่สัตว์ เพราะมีการนำตัวอย่างเลือดของมังกรโกโมโดมาใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพื่อช่วยในการพัฒนาเพปไทด์เทียม เเละต่อจากนั้น เพปไทด์ที่ใช้ในการทดลองบำบัดในหนูล้วนเป็นเพปไทด์สังเคราะห์ทั้งหมด"

รายงานเกี่ยวกับผลการวิจัยคุณสมบัติของเพปไทด์จากมังกรโกโมโด ตีพิมพ์ในวารสาร Biofilms and Microbiomes ไปเมื่อเร็วๆ นี้ Voice of America 4.05.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร