Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ปลัดวิทย์แจง พ.ร.บ.นิวเคลียร์ ต้องมองภาพรวมประเทศ  

วันนี้( 4 พฤษภาคม 2560) รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยถึงประเด็นการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 อย่างเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคม 2560 นี้ว่า พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติฉบับนี้ เป็นการปรับปรุง พ.ร.บ. พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 ที่มีอยู่เดิม (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2508) ให้มีความทันสมัยเหมาะสมต่อสถานการณ์ เพื่อการกำกับดูแลและควบคุมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีให้เกิดความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และเพื่อคุ้มครองประชาชนและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการยกร่างและเสนอแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้เพิ่มเติมช่วงปี 2549 – 2560 โดยผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามที่กำหนดไว้ในแบบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ อาทิ ผู้รับใบอนุญาตครอบครอง หรือใช้วัสดุต้นกำลัง วัสดุพลอยได้ และวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ หรือพลังงานปรมาณู ผู้นำเข้า – ส่งออกวัสดุดังกล่าว เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง และนักศึกษา เป็นต้น และยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของ ปส. โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกำเนิดรังสีทางการแพทย์เป็นคณะกรรมการ เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมทันตแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ สมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ไทย สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ฯลฯเพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างหลากหลายจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง รศ.นพ. สรนิต กล่าวต่อว่า การบังคับใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ด้วยจะช่วยกำกับดูแลเกี่ยวกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีในทางสันติ เพื่อสร้างความปลอดภัยอย่างเพียงพอในการป้องกันอันตรายจากผลกระทบทางนิวเคลียร์และรังสีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม แม้ในเครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ในทางการแพทย์ หากมีค่าพลังงานเกิน 5 keV ตามที่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) กำหนดไว้ อย่างเครื่องกำเนิดรังสีทันตกรรมที่มีค่าพลังงานอยู่ที่ 60 keV – 120 keV ก็ต้องได้รับการควบคุมอย่างรัดกุม เพราะคำว่า “ปลอดภัย” ต้องอาศัยกระบวนการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความปลอดภัยที่ยอมรับได้ในสังคม ทั้งนี้หากมีเครื่องกำเนิดรังสีประเภทใดประเภทหนึ่งได้รับการยกเว้น ก็เป็นที่น่ากังวลว่าอาจมีการนำเข้าเครื่องกำเนิดรังสีมือสองจากต่างประเทศที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้งาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน ผู้รับบริการ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานได้ ส่วนที่มีทันตแพทย์กังวลใจและเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว ขอยืนยันว่า ทันตแพทย์ที่ประกอบวิชาชีพทางทันตกรรมจะไม่เสียผลประโยชน์อะไรเลย มีเพียงค่าใบอนุญาตครอบครองเครื่อง 1,000 บาทต่อ 5 ปี ค่าตรวจสภาพเครื่องทุก 2 ปี จ่ายเพียง 1,000 บาท และค่าใบอนุญาตเป็นผู้ดูแลเครื่องหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยรังสี (RSO) เพียง 300 บาทต่อ 3 ปีเท่านั้น ขอย้ำอีกครั้งว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มุ่งมั่นพัฒนากฎหมายด้านนิวเคลียร์และรังสีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย ได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานสากล และมีการปรับกฎเกณฑ์ให้เข้ากับวิถีของวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ยังมองถึงภาพรวมของประเทศ มิใช่เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นสำคัญ” ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าว เดลินิวส์ออนไลน์ 4 พ.ค.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร