Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ม.ขอนแก่นผลิตยา “สารสกัดฟ้าทลายโจร” รักษามะเร็งปากมดลูกได้ผลสำเร็จ  

นักวิจัยและอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค้นพบสารสกัดจากฟ้าทลายโจรสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูกและต้านไวรัสเริมได้ ล่าสุดได้นำผลวิจัยมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ยาในรูปแบบครีม สามารถปลดปล่อยตัวยาได้ผลดี รศ.ดร.พญ.แจ่มใส เพียรทอง นักวิจัยและอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น ค้นพบสรรพคุณอันโดดเด่นของฟ้าทลายโจรซึ่งมีสารสำคัญที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูก และต้านไวรัสเชื้อเริม โดยทำการวิจัยปรับสูตรโครงสร้างสารสำคัญที่ได้เพื่อเพิ่มสารสำคัญในฟ้าทลายโจรที่มีสรรพคุณมากมาย ทั้งฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ เมื่อนำสารสำคัญ “แอนโดรกราโฟลายด์” มาสังเคราะห์ต่อมีสารหนึ่งที่เรียกว่า “IPAD” พบว่าสารทั้งสองมีฤทธิ์ระดับโมเลกุลทำให้โปรตีนก่อมะเร็งลดลงทำให้เซลล์มะเร็งปากมดลูกตาย และมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเชื้อเริม เนื่องจากสารดังกล่าวมีลักษณะสูตรโครงสร้างเป็นตัวจับกลุ่มเชื้อโรคเป้าหมายได้ดี ล่าสุดถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาในรูปแบบครีมซึ่งยังคงสรรพคุณทางยาของสารสกัดทั้งสองและสามารถปลดปล่อยตัวยาได้ผลดีที่สุด สำหรับ “สารแอนโดรกราโฟลายด์” ที่แยกได้จากฟ้าทลายโจรและสารอนุพันธ์ IPAD ซึ่งเป็นสารกึ่งสังเคราะห์ สารทั้งสองผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยการเพาะเลี้ยงเชื้อเชลล์มะเร็งปากมดลูก ผลการทดลองระดับโมเลกุลพบว่าสารทั้งสองทำให้โปรตีนก่อมะเร็งลดลงทำให้เซลล์มะเร็งปากมดลูกตายภายใน 48 ชั่วโมง โดยใช้ความเข้มข้นที่เหมาะสม นับเป็นกลไกหนึ่งที่ถูกค้นพบ และกำลังทดลองกลไกอื่นๆ สำหรับผลการทดลองการยับยั้งไวรัสที่ก่อโรคเริม สารอนุพันธ์ IPAD จะมีประสิทธิภาพดีกว่าสารแอนโดรกราโฟลายด์ เทียบเท่ายาประเภท Acyclovir ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยผลการทดลองระดับโมเลกุลพบว่าสารอนุพันธ์ IPAD ส่งผลยับยั้งการแสดงออกของยีนซึ่งมีผลต่อการเพิ่มจำนวนไวรัส ต่างจากยา Acyclovir ที่ยับยั้งการสร้างสาย DNA ของไวรัส นับเป็นประโยชน์ในการใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อก่อโรคเริมในกรณีที่การใช้ยา Acyclovir อย่างเดียวจะไม่ได้ผล หรือใช้กับไวรัสเชื้อเริมที่ดื้อยา ดังนั้น การใช้สารอนุพันธ์ IPAD รักษาแทนหรือใช้ร่วมกันจะทำให้ยับยั้งเชื้อก่อโรคเริมที่ดื้อยาได้อย่างมีระสิทธิภาพ ด้าน รศ.ดร.ภญ.ฉันทนา อารมย์ดี ทีมวิจัย กล่าวถึงฟ้าทลายโจรว่า “บัญชียาหลักแห่งชาติได้บรรจุฟ้าทลายโจรเป็นยาบรรเทาปวด ลดการอักเสบ เนื่องจากฟ้าทลายโจรถูกใช้มาอย่างยาวนาน และด้วยสรรพคุณมากมาย เราจึงได้ศึกษาสารแต่ละชนิดที่มีในฟ้าทลายโจรเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เมื่อทำการวิจัยเราได้สารสำคัญจากฟ้าทลายโจรหลายชนิด และเมื่อนำมาปรับสูตรโครงสร้างหลายแบบเพื่อเพิ่มผลการออกฤทธิ์ต่างๆ โดยทำการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่าฟ้าทลายโจรมีสารที่ช่วยแก้ไข แก้ปวด แก้อักเสบ เพิ่มอสุจิในสัตว์ทดลอง ต้านไวรัสและแบคทีเรีย ทั้งนี้ เราสนใจสารที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสอยู่สองสาร คือ “แอนโดรกราโฟลายด์” และสารอนุพันธ์ที่ถูกสังเคราะห์ต่อเรียกว่า “IPAD” โดยผลการทดลองขั้นต้นเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสเชื้อเริม (HSV) และมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากไวรัส (HSV) ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ปริมาณมากเพื่อทำการทดลองต่อ เราจึงได้คิดค้นวิธีการสกัดและสังเคราะห์สารอนุพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถลัดขั้นตอนและได้ปริมาณมาก โดยสามารถขายเทคโนโลยีการผลิตเหล่านี้ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมที่สนใจ นอกจากนี้เรายังได้คิดค้นชุดทดสอบและวัดปริมาณสารในฟ้าทลายโจร เพื่อให้เกษตรกรใช้วัดคุณภาพฟ้าทลายโจร เพื่อพัฒนาอาชีพการปลูกฟ้าทลายโจรให้มีรายได้ดีโดยขายได้ราคาสูงอีกด้วย” รศ.ดร.ภญ.วัชรี คุณกิตติ ทีมวิจัย กล่าวถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่า จากผลการทดลองพบว่าสารทั้งสองสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งปากมดลูกและยับยั้งไวรัสที่ก่อโรคเริม จึงได้นำผลการทดลองสู่กระบวนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งต้องมีการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ตามขั้นตอนซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยได้ทำการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบครีมเพื่อยังคงสรรพคุณทางยาของสารสกัดทั้งสองและสามารถปลดปล่อยตัวยาได้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หากผลงานวิจัยสำเร็จจนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์พร้อมจำหน่ายแล้ว จะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบและได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจากงานวิจัย มข. ผู้จัดการออนไลน์ 6.06.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร