Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เจาะลึก ‘บิทคอยน์’ สกุลเงินเพื่อการค้าออนไลน์?  

     บิทคอยน์ (Bitcoin) คือ สกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ต้องใช้วิธีการเข้ารหัส (Cryptocurrency) ที่ถูกสร้างและเก็บมูลค่าไว้ในโลกออนไลน์ เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่ขึ้นกับสกุลเงินใดๆ
     มีรายงานว่า สกุลเงินบิทคอยน์ ถูกคิดค้นขึ้นในปี 2552 โดย ซาโตชิ นากาโมโตะ
ชายชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น วัย 64 ปี แต่ภายหลัง นากาโมโตะ ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนคิดค้นเงินเสมือนจริงนี้ หลายฝ่ายจึงคาดว่าชื่อ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” อาจเป็นนามแฝงของคนหรือกลุ่มคนที่คิดค้นเงินสกุลบิทคอยน์ขึ้นมา
     กระทั่งกลางปีที่แล้ว คนที่สร้างบิทคอยน์ยอมเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงออกมา
โดยเขามีนามว่า "เครก สตีเวน ไรท์ " ชายวัย 45 ปี ชาวออสเตรเลีย ซึ่งเขาเปิดเผยเรื่องนี้กับสำนักข่าวบีบีซี, นิตยสารดิอีโคโนมิสต์ และนิตยสารจีคิว พร้อมนำหลักฐานการสร้างมายืนยัน
     อย่างไรก็ตาม แม้สกุลเงินบิทคอยน์จะถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2552 แต่ก็รู้จักกันในกลุ่มคนสังคมออนไลน์บางส่วนเท่านั้น กระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) ได้ปิดเว็บไซต์ "ซิลค์โรด” ซึ่งลักลอบจำหน่ายยาเสพติดและรับทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม พร้อมกับยึดเงินบิทคอยน์ได้ถึง 26,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 3.6 ล้านดอลลาร์ (ราว 115 ล้านบาท) ชื่อของ “บิทคอยน์” สกุลเงินแห่งโลกดิจิทัล
จึงเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างเป็นครั้งแรก
     สำหรับการหาเงินบิทคอยน์นั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีที่เรียกว่า “ทำเหมือง” หรือใช้คอมพิวเตอร์ของเรามาเป็นเครือข่ายแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และจะได้รับบิทคอยน์ จำนวน 10 บิทคอยน์ ทุกๆ 25 นาทีที่เข้าร่วมแก้โจทย์ดังกล่าว
     ขณะที่ การจะใช้สกุลเงินบิทคอยน์มาแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้นั้น ผู้ใช้งานจะต้องลงซอฟต์แวร์เพื่อสร้างบัญชี ซึ่งไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนในการใช้บริการ/ ขณะที่ขั้นตอนการใช้งานก็ไม่ยุ่งยาก สามารถซื้อขายกับเงินจริงๆได้ในหลายๆ สกุล
     อีกทั้งยังถ่ายโอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ทำให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่าย   จากความสะดวกในการใช้งาน ทำให้ในช่วงหลังมานี้ เริ่มมีร้านค้ายอมรับสกุลเงินบิทคอยน์ในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยมีเว็บไซต์เมาท์ก็อกซ์ ดอท คอมของญี่ปุ่น เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเงินรายใหญ่ที่สุดของโลก
     อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจนี้เติบโตขึ้นมาก จึงมาพร้อมกับปัญหาการโจรกรรมของกลุ่มแฮกเกอร์ ซึ่งปัญหานี้ทำให้มูลค่าเงินบิทคอยน์ร่วงลงอย่างรวดเร็ว จนเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สกุลเงินบิทคอยน์ยังคงเป็นแค่เงินเสมือนจริงเท่านั้น เพราะการที่เงินสกุลนี้ไม่มีการรักษามูลค่าและไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กำหนดมูลค่า
     นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาควบคุม จึงทำให้ยังไม่มีรัฐบาลประเทศไหนออกมาประกาศยอมรับสกุลเงินดังกล่าวอย่างเป็นทางการ แม้บางประเทศ เช่น เยอรมนี เริ่มเปิดกว้างและยอมรับ ขณะที่สิงคโปร์มองว่า บิทคอยน์เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ชำระและบริการได้
     ขณะเดียวกันยัง มีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยที่เงินบิทคอยน์ไม่มีตัวตนจริง จึงอาจสูญหายได้หากถูกไวรัสที่ผู้ไม่หวังดีปล่อยเข้ามาปั่นป่วนระบบคอมพิวเตอร์
     รวมถึงการที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ยังไม่สามารถควบคุมปริมาณเงินในระบบได้ด้วย
ในช่วงเดือนธ.ค. 2556 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่กว่า 1,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ ก่อนจะค่อย ๆ ดิ่งลงมาเรื่อย ๆ มาอยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ ในช่วงต้นเดือนก.พ. 2557 และมาอยู่ที่ 135 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ ในช่วงปลายเดือนก.พ. 2557 มูลค่าที่ร่วงลงนี้เป็นผลมาจากการที่หลายบริษัทที่รับแลกเงินบิทคอยน์ต้องปิดตัวลง เพราะเจอภัยจากแฮกเกอร์ และสะท้อนให้เห็นว่า ค่าเงินบิทคอยน์ผันผวนสูงมากและมีโอกาสเสื่อมค่าได้อย่างรวดเร็ว
     อย่างไรก็ตาม บิทคอยน์ เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะปีนี้ที่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ออสเตรเลีย เริ่มเปิดกว้างยอมรับสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์
ส่งผลให้ความนิยมในตัวบิทคอยน์มีเพิ่มขึ้น และราคาบิทคอยน์ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
     ความนิยมในตัวบิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้เว็บไซต์ชื่อดังที่ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ถึงกับล่ม ใช้งานไม่ได้อยู่หลายชั่วโมงเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ในขณะที่ราคาบิทคอยน์เองก็มีความผันผวนที่สูงมากขึ้น
     โดยราคาในต่างประเทศช่วงต้นปีขยับขึ้นมาอยู่ที่ราวๆ 2,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์
ก่อนไต่ขึ้นทำ “นิวไฮ” ที่ระดับ 3,017 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ ไปเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากนั้นไม่นานราคาบิทคอยน์ก็ร่วงลงต่อเนื่องมาอยู่ในระดับต้นๆ 2,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์
เช่นเดียวกับราคาซื้อขายบิทคอยน์ในประเทศไทย แม้ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะยังไม่ยอมรับให้ “บิทคอยน์” เป็นสกุลเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ไม่ได้ปิดกั้นเรื่องการซื้อขาย จึงมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเข้ามาลงทุน ซึ่งราคา บิทคอยน์ ในประเทศไทยก็มีความผันผวนไม่แพ้ต่างประเทศ
     ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ราคาบิทคอยน์แกว่งตัวในระดับ 35,000 บาทต่อบิทคอยน์
ก่อนทยอยปรับตัวเพิ่มต่อเนื่องและมาทำ นิวไฮ ที่ระดับ 101,529 บาทต่อบิทคอยน์ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.2560
     หลังจากนั้นราคาได้ปรับร่วงลงอย่างรุนแรงมาอยู่ที่ระดับ 71,000 บาทต่อบิทคอยน์
 ความนิยมในตัวบิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ “รัฐบาลไทย” มอบหมายให้ ธปท. ไปศึกษานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เช่น “บิทคอยน์” เพื่อดูว่า ประเทศไทยควรนำมาใช้หรือไม่ และมีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน ..แต่ถ้าดูจากการแกว่งตัวของราคาแล้วบิทคอยน์ไม่น่าจะใช้สกุลเงินที่เหมาะสมนัก ในการเป็นสื่อกลางเพื่อการซื้อขาย เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นร้านค้าคงต้องปรับราคาสินค้ากันรายวัน


Bangkokbiznews  19 มิ.ย.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร