Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เอเชียไม่รอด แรนซัมแวร์ตัวใหม่อาละวาดทั่วโลก พบโยงใย“วันนะคราย” แต่ไม่รุนแรงเท่า  

เจนซีส์ - มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่ออกอาละวาดทั่วโลกตั้งแต่วันอังคาร (28 มิ.ย.) ต่อเนื่องมาจนถึงวันพุธ (29) ประเทศที่ถูกเล่นงานหนักที่สุดคือรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้ยังมีเหยื่อกระจัดกระจายทั้งในยุโรป อเมริกา รวมถึงเอเชีย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถระบุได้ว่า แรนซัมแวร์ตัวนี้มีใครอยู่เบื้องหลัง เพียงพบรหัสซึ่งก็มีอยู่ใน “วันนะคราย” ที่แสดงฤทธิ์เดชก่อนหน้านี้ แต่เชื่อว่า ผลกระทบอาจไม่รุนแรงเท่า อย่างไรก็ดี หลายคนคิดว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ไม่มี “คิลล์ สวิตช์” หรือรหัสทำลายตัวเอง การระบาดอย่างรวดเร็วของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ล่าสุดที่เริ่มต้นเมื่อวันอังคาร (28) ตอกย้ำความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นว่า ภาคธุรกิจของโลกล้มเหลวในการปกป้องเครือข่ายของตนจากเหล่าแฮ็กเกอร์ที่ก้าวร้าวขึ้นอย่างมากและสามารถจัดการปิดโครงสร้างพื้นฐาน และทำให้เครือข่ายข้อมูลของภาครัฐและเอกชนกลายเป็นง่อย ในพุธ (28) ธุรกิจหลายแห่งในเอเชีย-แปซิฟิกรายงานว่า การทำงานหยุดชะงัก โดยในจำนวนนี้รวมถึงท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดของอินเดีย แม้ดูเหมือนว่าภาครัฐและเอกชนทั่วภูมิภาคได้รับผลกระทบเพียงจำกัดก็ตาม รายงานระบุว่า มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่นี้มีรหัส “อีเทอร์นัล บลู” ที่ผู้เชี่ยวชาญการรักษาความปลอดภัยในเครือข่ายไซเบอร์เชื่ออย่างกว้างขวางว่า ถูกขโมยจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (เอ็นเอสเอ) และถูกใช้ใน “วันนะคราย” มัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ออกอาละวาดใหญ่เมื่อเดือนที่แล้วในกว่า 150 ประเทศ และส่งผลต่อคอมพิวเตอร์กว่า 200,000 เครื่อง ไวรัสนี้จะโจมตีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟท์ ด้วยการเข้ารหัสฮาร์ดไดรฟ์และเขียนทับไฟล์ต่างๆ ในเครื่อง และเรียกค่าไถ่ 300 ดอลลาร์ที่ต้องจ่ายเป็นบิตคอยน์แลกกับการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เหมือนเดิม ข้อมูลบัญชีแยกประเภทในการทำธุรกรรมที่แสดงบน blockchain.info ระบุว่า มีเหยื่อจ่ายค่าไถ่แล้วกว่า 30 ราย ด้านไมโครซอฟท์บอกว่า ไวรัสดังกล่าวสามารถลุกลามผ่านข้อบกพร่องในโปรแกรม อย่างไรก็ตาม ข้อบกพร่องดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการติดตั้งแพตช์ที่บริษัทอัพเดตไว้เมื่อเดือนมีนาคม นอกจากนี้โปรแกรมต่อต้านไวรัสของบริษัทยังสามารถตรวจจับและกำจัดไวรัสนี้ โฆษกของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่แห่งนี้เสริมว่า บริษัทยังคงตรวจสอบและจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อปกป้องลูกค้าต่อไป สำหรับบริษัทและกิจการที่ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์เรียกค่าไถ่ล่าสุดนี้ ในเอเชียแปซิฟิก ที่เมืองมุมไบ ท่าเรือ เยาวหราล เนห์รู พอร์ต (เจเอ็นพีที) ท่าเรือคอนเทนเนอร์ใหญ่ที่สุดของอินเดีย เผยว่า การดำเนินงานชะงักงันเนื่องจากถูกโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ท่าเรือนี้ดำเนินการโดยเอพี โมลเลอร์-เมิร์สก์ บริษัทชิปปิ้งยักษ์ใหญ่ของเดนมาร์ก ที่รายงานว่า การดำเนินงานที่ท่าเรือลอสแองเจลีสประสบปัญหาเช่นเดียวกัน พนักงานในอินเดียของเบียร์สดอร์ฟ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลผิวนีเวีย และเรคกิตต์ เบนกิเซอร์ เจ้าของเอนฟามิลและไลซอล เผยว่า ระบบบางส่วนถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตี ที่ออสเตรเลีย โรงงานช็อกโกแลตแคดบิวรีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกับปฏิบัติการอีกหลายแห่งในหลายภูมิภาคของบริษัทแม่คือ มอนเดเลซ อินเตอร์เนชันแนล ทว่า ยังไม่ชัดเจนว่า ต้นเหตุมาจากการโจมตีทางไซเบอร์หรือไม่ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ แคสเปอร์สกี้ แล็บ และไฟร์อาย เผยว่า ตรวจพบการโจมตีในอีกหลายประเทศในย่านเอเชีย-แปซิฟิก แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ อย่างไรก็ดี แคสเปอร์สกี้ แล็บระบุว่า ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดโดยมีเหยื่อถูกโจมตีเป็นพันรายคือรัสเซียและยูเครน นอกจากนี้ยังมีเหยื่อกระจายอยู่ในหลายประเทศ รวมถึงอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ และอเมริกา ทว่า ยังไม่สามารถระบุจำนวนการโจมตีทั้งหมดได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงคาดว่า ผลกระทบครั้งนี้จะน้อยกว่าเมื่อครั้งวันนะคราย เนื่องจากคอมพิวเตอร์จำนวนมากอัปเดตโปรแกรมวินโดวส์ป้องกันการถูกโจมตีด้วยรหัสอีเทอร์นัลบลูไว้แล้ว อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มไม่คิดว่า แรนซัมแวร์ตัวใหม่มี “คิลล์ สวิตช์” หรือรหัสทำลายตัวเอง หมายความว่า น่าจะหาทางหยุดยั้งได้ยากกว่าวันนะครายที่นักวิจัยบางคนบอกว่า อาจมาจากรหัสมัลแวร์ที่ใช้ในซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ตัวก่อนๆ ที่ชื่อว่า “เพ็ตยา” และ “โกลเด้นอาย”< ทว่า แคสเปอร์สกี้ แล็บคิดว่า มัลแวร์ล่าสุดเป็นแรนซัมแวร์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อนมากกว่า ด้านกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ แถลงว่า กำลังติดตามการโจมตีนี้และประสานงานกับประเทศอื่นๆ พร้อมแนะนำไม่ให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่ เนื่องจากไม่มีสิ่งรับประกันว่า การกระทำดังกล่าวจะทำให้เหยื่อกลับเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อีก ส่วนเอ็นเอสเอออกคำแถลงว่า เหตุการณ์นี้ไม่มีความเสี่ยงต่อสาธารณชน และอเมริกากำลังสอบสวนเพื่อหาคนผิดมารับโทษ อย่างไรก็ตาม เอ็นเอสเอไม่ตอบรับหรือปฏิเสธรายงานที่ว่า ตนเป็นผู้พัฒนาอีเทอร์นัลบลูและเครื่องมือเจาะระบบอื่นๆ ที่กลุ่มชาโดว์ โบรกเกอร์ ขโมยและนำไปเผยแพร่ในระบบออนไลน์ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของภาคเอกชนหลายคนเชื่อว่า ชาโดว์ โบรกเกอร์มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลรัสเซีย และรัฐบาลเกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลังวันนะคราย ทว่า รัฐบาลของทั้งสองประเทศต่างปฏิเสธว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีระดับโลกเหล่านี้ การโจมตีล่าสุดระลอกแรกๆ ได้รับการรายงานจากรัสเซียและยูเครน รอสเนฟฟ์ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ปริมาณ เผยว่า ระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้รับผลกระทบรุนแรง แต่ส่วนการผลิตน้ำมันปลอดภัยเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสำรองแทน รองนายกรัฐมนตรีพาฟโล โรเซนโกของยูเครน แถลงว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลหยุดทำงาน และการดำเนินการของธนาคารและบริษัทหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัทพลังงานของรัฐ หยุดชะงัก ทางด้าน ดับเบิลยูพีพี เอเจนซีโฆษณาใหญ่ที่สุดของโลก ได้รับผลกระทบเช่นกัน รายงานระบุว่า พนักงานได้รับคำสั่งให้ปิดคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีบรรษัทข้ามชาติอีกมากมายตกเป็นเหยื่อการโจมตีครั้งนี้ อาทิ เมิร์ค บริษัทยายักษ์ใหญ่ของอเมริกา และแซงก์-โกแบง บริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำของฝรั่งเศส ผู้่จัดการออนไลน์ 28 มิ.ย.60

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร