Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

องค์การอนามัยโลกกระตุ้นพัฒนายาชนิดใหม่กำจัด 'เชื้อโรคหนองในดื้อยา'   

องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้มีการวิจัยและพัฒนายาชนิดใหม่ที่สามารถปราบเชื้อโรคดื้อยา หรือ “Superbug” ได้ หลังจากที่เชื้อโรคดื้อยานี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุข และส่งผลกระทบต่อการรักษาโรคต่างๆ มากมาย รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รายงานเมื่อวันศุกร์ที่แล้วว่า ปัจจุบันมีผู้คนทั่วโลกราว 78 ล้านคนที่ติดเชื้อหนองในในแต่ละปี ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 3 คนที่ติดเชื้อโรคหนองในแบบดื้อยา ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษา และสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยผู้ป่วยที่มีรายงานทั้งสามคนนี้ อยู่ในญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสเปน ซึ่งล้วนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจจะมีผู้ติดเชื้อหนองในดื้อยาอีกจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนา แต่ยังไม่มีการรายงานออกมา นั่นหมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโรคหนองในดื้อยาที่ WHO มีอยู่ อาจเป็นเพียงส่วนน้อยนิดหากเทียบกับปัญหาที่แท้จริง WHO เชื่อว่าหากเป็นเช่นนั้นจริง การระบาดของเชื้อโรคที่ว่านี้ออกไปอย่างรวดเร็วคงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และคาดว่าอีกไม่นานยาที่ใช้รักษาโรคหนองในแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป คุณ Teodora Wi ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “เชื้อโรคหนองในนั้นสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่มีการนำยาปฏิชีวนะชนิดใหม่มาใช้กับโรคนี้ เชื้อโรคจะสามารถปรับตัว ตอบสนอง และสร้างภูมิต้านทานได้ทันที” โรคหนองใน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางอวัยวะสืบพันธุ์ ทวารหนัก และลำคอ แพทย์ระบุว่าผู้ติดเชื้อโรคนี้สามารถเพิ่มโอกาสติดเชื้อ HIV ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ และยังอาจนำไปสู่อาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน การตั้งครรภ์นอกมดลูก และภาวะมีบุตรยาก ปัจจุบัน มียาเพียงไม่กี่ชนิดที่ใช้รักษาโรคนี้ และในประเทศส่วนใหญ่ ยาที่ใช้อยู่นั้นอาจมีเพียงชนิดเดียวที่ใช้ได้ผล คือยาที่เรียกว่า ECS หรือ Extend – Spectrum Cephalosporins นั่นหมายความว่าหากเชื้อโรคดื้อต่อยาชนิดนี้ ก็จะไม่มีวิธีรักษาโรคหนองในได้ ซึ่งที่ผ่านมา มีรายงานแล้วว่าพบเชื้อโรคดื้อยาที่ว่านี้ใน 50 ประเทศ คุณ Monica Balasegaram ผอ.ขององค์กร Global Antibiotics Research and Development ชี้ว่า สถานการณ์ตอนนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และมีความจำเป็นที่ต้องสนับสนุนให้มียาชนิดใหม่ๆ อย่างเร่งด่วน นักวิจัยผู้นี้บอกว่า ขณะนี้กำลังมีการทดสอบยาแบบใหม่ 3 ชนิด ที่อาจสามารถพัฒนาเป็นยากำจัดเชื้อโรคหนองในแบบดื้อยาได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรรับรองได้ว่าการทดลองดังกล่าวจะประสบผลสำเร็จ รายงานของ Reuters เรื่องนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสารการแพทย์ PLOS Medicine Voice of America 11.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร