Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“ภูเขาน้ำแข็ง” นับล้านล้านตันแยกตัวจากแอนตาร์กติกา  

นักวิทยาศาสตร์แจ้งเตือนภูเขาน้ำแข็งนับล้านล้านตันแยกออกจากทวีปแอนตาร์กติกา สร้างความเสี่ยงที่หิ้งน้ำแข็งฝั่งตะวันตกของทวีปจะถล่ม ทว่าน้ำทะเลอาจยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน แต่อาจเพิ่มวามเสี่ยงต่อเรือเดินสมุทรในช่องแคบเดรกทางซีกโลกใต้ เอเอฟพีรายงานการแจ้งเหตุฉุกเฉินของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสวอนซี (Swansea University) ว่า หลังจากเกิดรอยแตกที่หิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซี (Larsen C ice shelf) ทางฝั่งตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกามาหลายปี ในที่่สุดรอยแยกของหิ้งน้ำแข็งดังกล่าวก็แตกออก นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการแตกครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างช่วงวันที่ 10 ก.ค.-12 ก.ค.ของปี 2017 นี้ โดยหิ้งน้ำแข็งกินพื้นที่ 5,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าหลังภูเขาน้ำแข็งที่ลอยล่องไปในทะเลนั้นแตกออกจากหิ้งน้ำแข็งเวสต์แอนตาร์กติกาจะทำให้หิ้งแข็งเสี่ยงที่จะพังทลายมากขึ้น ทั้งนี้ รอยแยกของหิ้งน้ำแข็งนั้นเกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมชาติ แต่เชื่อว่าภาวะโลกร้อนได้เร่งกระบวนการนี้ เมื่อน้ำของทะเลที่อุ่นขึ้นเข้ากัดเซาะเบื้องล่างของหิ้งน้ำแข็ง ขณะเดียวกันด้านบนของหิ้งน้ำแข็งก็เปราะลงจากอากาศที่อุ่นขึ้น สำหรับภูเขาน้ำแข็งที่แตกออกไปนี้หนาประมาณ 350 เมตร ซึ่งทีมนักวิจัยจากโครงการวิจัยแอนตาร์กติกามิดาส (MIDAS Antarctic research project) ระบุว่าภูเขาน้ำแข็งดังกล่าวหนักมากกว่าล้านล้านตัน แต่ว่าภูขาน้ำแข็งลูกนี้ก็ลอยอยู่ในทะเลอยุ่แล้ว จึงไม่ส่งผลกระทบฉับพลันต่อระดับน้ำทะเล ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้น่าจะได้ชื่อว่า “เอ68” (A68) ซึ่งทีมวิจัยระบุว่า การที่ภูเขาน้ำแข็งนี้แยกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีนั้น ทำให้พื้นที่ของหิ้งแข็งดังกล่าวลดลงไปกว่า 12% และทำให้ภูมิทัศน์ของคาบสมุทรแอนตาร์กติกา (Antarctic Peninsula) เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ดาวเทียมขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ยังได้บันทึกเหตุการณ์ภูเขาน้ำแข็งแยกตัวจากหิ้งน้ำแข็งนี้ด้วย และแม้ว่าเหตุการณ์ภูเขาน้ำแข็งแยกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาเกิดขึ้นเป็นปกติ แต่ด้วยขนาดมหึมานี้ทำให้ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าจะทำให้เกิดอัตรายต่อการสัญจรของเรือในมหาสมุทรหรือไม่ อนาคตของภูเขาน้ำแข็งจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา โดยภูเขาน้ำแข็งอาจคงตัวเป็นภูเขาก้อนเดียว หรืออาจจะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ได้ ซึ่ง เอเดรียน ลุคแมน (Adrian Luckman) หัวหน้าทีมศึกษาหลักของโครงการให้ข้อมูลว่า น้ำแข็งบางส่วนอาจจะคงอยู่ที่เดิมเป็นเวลาหลายทศวรรษ ขณะที่ในส่วนของภูเขาน้ำแข็งอาจจะล่องขึ้นไปทางเหนือสู่น้ำทะเลที่อุ่นกว่า เอเอฟพียังอ้างถึงข้อมูลจากองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) หรืออีซา (ESA) ว่ากระแสน้ำในมหาสมุทรอาจจะลากเอาภูเขาน้ำแข็งลูกน้ำหรือชิ้นส่วนของภูเขาน้ำแข็งขึ้นไปไกลถึงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands) และเป็นภัยคุกคามต่อเรือเดินสมุทรที่สัญจรในช่องแคบเดรก (Drake Passage) นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่จากทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea) ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่กระแสน้ำเย็นขั้วโลกแอนตาร์กติกา (Antarctic Circumpolar Current) ซึ่งไหลวนตามเข็มนาฬิกาจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกรอบทวีปทางขั้วโลกใต้ หรืออาจมุ่งหน้าสู่เซาท์แอตแลนติก (South Atlantic) อีกประเด็นที่น่าห่วงคือหิ้งน้ำแข็งส่วนที่เหลืออาจแตกสลายไปด้วย โดยหิ้งน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรนั้นได้รับการเติมเต็มเรื่อยๆ จากธารน้ำที่ไหลมาจากแผ่นดินของทวีปอย่างช้าๆ และหากไม่มีหิ้งน้ำแข็งแล้ว ธารน้ำแข็งก็จะไหลสู่มหาสมุทรโดยตรง ทีมวิจัยยังเตือนอีกว่า รูปทรงใหม่ของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีนี้อาจจะเสถียรน้อยลงกว่าเมื่อก่อน และมีความเสี่ยงที่ลาร์เซนซีจะเป็นเหมือนลาร์เซนบี (Larsen B) ที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งแตกสลายไปเมื่อปี 2002 ตามหลังเหตุเกิดรอยแตกคล้ายกันนี้เมื่อปี 1995 ขณะที่ลาร์เซนเอ ( Larsen A) ถล่มไปเมื่อ 1995 ขณะที่นักวิจัยอีกหลายคนบอกว่า หากธารน้ำแข็งที่มีลาร์เซนซีเป็นกันชนนั้นกระจายสู่มหาสมุทรแอนตาร์กติกแล้ว ธารน้ำแข็งนี้จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 10 เซ็นติเมตร ด้าน มาร์ติน โอเลียรี (Martin O'Leary) นักธารน้ำแข็งวิทยาจากมหาวิทยาลัยสวอนซี (Swansea University) สหราชอาณาจักร และสมาชิกทีมโครงการมิดาสอีกคนกล่าวว่า น้ำแข็งด้านหน้าของลาร์เซนซีหนนี้หดไปลึกกว่าครั้งใดๆ เท่าที่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์ และทีมนักวิจัยกำลังจับตาดูอย่างรอบคอบถึงสัญญาณว่า หิ้งน้ำแข็งส่วนที่เหลือจะไม่เสถียร ลุคแมนเสริมว่าอีกหลายเดือนและหลายปีต่อจากหิ้งน้ำแข็งอาจจะค่อยใหญ่ขึ้นหรืออาจจะถูกกัดเซาะไปมากกว่านี้จนนำไปสู่การพังถล่มในที่สุดก็ได้ ซึ่งตอนนี้ความเห็นในประชาคมวิทยาศาสตร์กำลังแตกเป็นสองฝั่ง ซึ่งแบบจำลองของทีมพวกเขาบ่งชี้ว่า หิ้งน้ำแข็งจะเสถียรน้อยลง แต่การถล่มในวันข้างหน้านั้นยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีหรืออาจจะอีกหลายทศวรรษ์ต่อจากนี้ เมื่ออ้างข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายแล้ว กิจกรรมของมนุษย์นั้นได้เพิ่มระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศโลกประมาณ 1 องศาเซลเซียส นับแต่ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และทวีปแอนตาร์กติกาเป็นบริเวณที่ร้อนขึ้นเร็วที่สุดในโลก ผู้จัดการออนไลน์ 12.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร