Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

Gii ฉีกกฎทูน่าด้วยวิทย์ฯ  

‘แฮมทูน่า-ไส้กรอกทูน่า’ ผลิตภัณฑ์จากแล็บในศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน (Gii) สร้างเซกเมนต์ใหม่ให้กับปลาทูน่าด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ‘แฮมทูน่า-ไส้กรอกทูน่า’ สองผลิตภัณฑ์จากแล็บในศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน (Gii) สร้างเซกเมนต์ใหม่ให้กับปลาทูน่าตอบโจทย์สุขภาพและความสะดวกด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งเป้าปีหน้าคืนทุน ในขวบปีที่ 3 หลังจาก บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นส์ (TUF) ลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาทตั้ง “ศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน” หรือ “Gii” (Global innovation incubator) วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากปลาทูน่า เป็นแห่งแรกในโลก ทีมนักวิจัยได้ส่ง 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดคือ แฮมทูน่าและไส้กรอกทูน่า ผลิตภัณฑ์แฮมทูน่าเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา เมื่อปลาย มิ.ย.ที่ผ่านมา สร้างความฮือฮาในวงการทูน่าและตลาดแฮมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเนื้อสัมผัสและรสชาติไม่แตกต่างจากแฮมสุกร/ไก่ แต่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงจึงตอบโจทย์กลุ่มคนรักสุขภาพ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่สองคือ ไส้กรอกทูน่า ซึ่งจะเปิดตัวในประเทศไทยผ่านฟู้ดเซอร์วิส นวัตกรรมทะลุกฎเกณฑ์ ความท้าทายของการคิดค้นสองผลิตภัณฑ์ใหม่นี้คือ การสร้างความต่างจากทูน่ากระป๋องซึ่งเนื้อยุ่ยง่ายและรับประทานสะดวก แม้จะได้รับความนิยมมากแต่ก็มีแนวโน้มการบริโภคลดลงเพราะขาดความแปลกใหม่ ไม่ตอบสนองผู้บริโภคที่ต้องการความสดใหม่ นักวิจัยจึงต้องหาวิธีที่ทำให้ทูน่าตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยปรับปรุงเนื้อสัมผัสใหม่ที่มีลักษณะเหมือนแฮม” นายธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยน กล่าว หลังจากเปิดตัวแฮมทูน่าในสหรัฐและกระแสตอบรับดีมาก จึงมีแผนการที่จะขยายสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากคุณสมบัติเด่นที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ เนื่องจากนำมาบริโภคแทนแฮมสุกร/ไก่ อีกทั้งเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแฮมซึ่งไม่ใช่อาหารเพื่อสุขภาพให้กลายเป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้ เพราะผลิตจากปลาทูน่า และไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในกระบวนการผลิต ทั้งยังเป็นเหตุให้บริษัทต้องลงทุน 200-300 ล้านบาทสร้างกระบวนการผลิตใหม่ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากผลงานวิจัยของศูนย์นวัตกรรมฯ นี้ “ส่วนเหตุผลที่ต้องเปิดตัวในอเมริกา เพราะเป็นตลาดใหญ่สำหรับการบริโภคแฮม ขณะที่ตลาดไทยยังมีขนาดเล็กจึงต้องรอจังหวะเวลาและกำลังซื้อที่เหมาะสม ส่วนผลิตภัณฑ์ไส้กรอกทูน่าจะเปิดตัวในไทย เพราะตลาดมีความพร้อมและคนไทยชอบกินไส้กรอก แม้ว่าหน่วยงานด้านสุขภาพจะรณรงค์ไม่ให้รับประทานตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก” ขณะที่ไส้กรอกทูน่าของไทยยูเนี่ยนสามารถการันตีถึงคุณภาพ โดยผลิตจากเนื้อปลาที่มีปริมาณโปรตีนสูง ไขมันแค่ 1% ซึ่งก็เป็นน้ำมันโอเมก้า-3 และไม่ใส่สารเคมีใดๆ ที่ก่อมะเร็ง" นายธัญญวัฒน์ กล่าว ไส้กรอกทูน่าจึงเป็นการปฏิวัติวงการไส้กรอก จากที่หน่วยงานด้านสุขภาพรณรงค์ไม่ให้รับประทาน แต่ไส้กรอกทูน่าของเราจะกลายเป็นไส้กรอกสุขภาพที่สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่สำคัญรสชาติและเนื้อสัมผัสไม่แตกต่างจากไส้กรอกที่ผู้บริโภคคุ้นเคย เพราะคอนเซ็ปต์การทำนวัตกรรมของ Gii คือ รสชาติต้องดี รับประทานแล้วอร่อยไม่ใช่แค่เป็นอาหารสุขภาพเท่านั้น “คิดต่าง” สร้างแต้มต่อธุรกิจ “ขณะนี้มีผลงานในแล็บอีกหลายรายการที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียด แต่จุดมุ่งหมายของศูนย์ฯคือ รายได้รวมของบริษัทต้องเพิ่ม 10% จากนวัตกรรมของศูนย์ฯ โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทวางเป้าหมายไว้ที่ 8 พันล้านดอลลาร์ หมายความว่า รายได้จากนวัตกรรมอยู่ที่ 800 ล้านดอลลาร์” ผู้อำนวยการศูนย์ Gii กล่าวและว่า “เราหวังว่าปีหน้าจะสามารถคืนทุน และอยากทำให้ทุกคนเห็นว่า การลงทุนด้านนวัตกรรมเกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรม เพราะที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไทยยังลงทุนด้านนวัตกรรมไม่มาก ทำให้สร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ได้น้อยมาก และสุดท้ายจะแข่งขันที่ราคา แต่ต้องยอมรับว่า การลงทุนมีความเสี่ยง นวัตกรรมก็มีความเสี่ยง ฉะนั้น ต้องศึกษาก่อนว่าจะลงทุนตรงไหนและจะลงทุนอย่างไรถึงจะกำไร” ทิศทางการวิจัยนวัตกรรมเริ่มจากอาหาร เพราะเป็นกิจการด้านซีฟู้ดส์มี ปลา เป็นวัตถุดิบหลัก ส่วนที่เหลือ 10% เดิมส่งไปโรงงานปลาป่นเพื่อทำอาหารสัตว์แต่ในอนาคตจะนำส่วนที่เหลือไปผลิตเป็นสินค้านวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น น้ำมันปลารวมทั้งใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอางและอาหารเสริม จะส่งผลให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจได้หลากหลายตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงไฮเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต Bangkokbiznews 18.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร