Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ฟู้ดอินโนโพลิสเปิดศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต   

ฟู้ดอินโนโพลิสเปิดศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต หวังดันผู้ประกอบการอาหารไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเมืองนวัตกรรมอาหาร (ฟู้ดอินโนโพลิส) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดกิจกรรม “Food Innopolis Open house Future Food Lab” ณ เมืองนวัตกรรมอาหาร ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ในวันที่ 19 ก.ค.60 ซึ่งมีผู้ประกอบการด้านอาหารสนใจเข้าร่วมงานกว่า 500 ราย ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ กรรมการผู้จัดการเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้ง ศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต (Future Food Lab) ในลักษณะการดำเนินงานแบบ one stop service ด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย โดยขณะนี้มีผู้ประกอบการด้านอาหารลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วกว่า 300 คน ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าเยี่ยมชม ศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต เพื่อเข้าใจและมีความร่วมมือกับเมืองนวัตกรรมอาหารในนาคต ศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต เป็นหน่วยงานสร้างนวัตกรรมที่ผสมผสานความรู้ เทคโนโลยี เกี่ยวกับอาหาร ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และการออกแบบอย่างลงตัว เอื้อต่อการสร้างรูปแบบ ภาพลักษณ์ และอัตตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์อาหารที่ทันสมัย ตอบโจทย์ของลูกค้าและตลาด สร้างความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในทุกระดับ รวมถึงสร้างกลุ่มสตาร์ทอัพ นับเป็นการตอบโจทย์ประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0” ซีอีโอฟู้ดอินโนโพลิสกล่าว ด้าน ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และทคโนโลยี ซึ่งเป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับ SMEs ด้วย Future Food Lab” กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนประเทศในยุคของประเทศไทย 4.0 และเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาการส่งออกอาหารของไทยมีมูลค่าสูงถึง 9.7 แสนล้านบาท หรือ คิดเป็น 12.8% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ โดยไทยเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับที่ 12 ของโลก ในการส่งออกอาหาร สำหรับในปี 2560 นี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกอาหารของไทยจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 10.5 ล้านล้านบาท ถึงแม้สินค้าอาหารของเราหลายรายการ จะมีมูลค่าการส่งออกอยู่ใน 5 อันดับแรกในตลาดโลก เช่น ข้าว ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป และเครื่องปรุงรส แต่ถ้าเรายังเน้นการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในรูปของวัตถุดิบและการแปรรูปขั้นต้น ในอนาคตอุตสาหกรรมอาหารไทยจะไม่สามารถเติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดสากล โดยเฉพาะในยุคที่พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ประกอบการอาหารไทยต้องเร่งปรับตัว นำนวัตกรรมเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก" ดร.อรรชกา กล่าว ดร.อรรชกาอ้างถึงการสำรวจข้อมูลการวิจัยพัฒนาของภาคเอกชน ประจำปี 2559 พบว่าภาคเอกชนลงทุนวิจัยพัฒนารวมทั้งสิ้นประมาณ 60,000 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมอาหารมีการลงทุนวิจัยพัฒนาสูงสุดในภาคการผลิตของประเทศ คือประมาณ 12,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารเริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค นวัตกรรมอาหารจะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 เท่า และบางผลิตภัณฑ์อาจเพิ่มมูลค่าได้กว่า 10 เท่า หรือ100 เท่า เช่น การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ อาหาร พร้อมทาน อาหารฮาลาล อาหารที่เน้นประโยชน์เฉพาะ อาหารเสริมหรืออาหารที่มีผลในเชิงรักษาโรค และสารสกัดจากวัตถุดิบอาหาร ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงนับเป็นโอกาสอันดีในการที่ทั้งสามหน่วยงานจะเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการอาหารในทุกระดับและครบทุกมิติ เป็นการตอบโจทย์ประเทศภายในนโยบายประเทศไทย 4.0” ดร.อรรชกา กล่าว ผู้จัดการออนไลน์ 19.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร