Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เอกวาดอร์ตัดวงจรนักลักลอบค้า “กบหายาก” เพาะขายเองลดสูญพันธุ์  

บริษัทเอกชนในเอกวาดอร์ตัดวงจรนักลักลอบค้า “กบหายาก” เพาะขายเองได้ในราคาสูง ลดความเสี่ยงสูญพันธุ์ของสัตว์สะเทินสะเทินบกที่พบได้เฉพาะถิ่ วิกิริ” (Wikiri) บริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซานราฟาเอลใกล้ๆ กับกรุงกีโตเมืองหลวงของเอกวาดอร์ ได้พบกบหายาก 12 สปีชีส์ ซึ่งเอเอฟพีระบุว่าบางสปีชีส์เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้แค่ในประเทศนี้เท่านั้น และเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ไปจากถิ่นอาศัยในธรรมชาติ โดยการเพาะขยายพันธุ์เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการของบริษัทซึ่งมีพื้นที่ 5,000 ตารางเมตรและตั้งอยู่ขนาบข้างแม่น้ำ จึงไม่ส่งผลต่อพืชพรรณท้องถิ่น การเพาะกบหายากจำหน่ายนี้เป็นการสร้างวงจร “การค้าทางชีววิทยาที่มีจริยธรรม” (ethical bio-trade) ซึ่งตรงข้ามกับตลาดมืดที่ลักลอบขโมยจากธรรมชาติออกไปจำหน่าย โดยหลังจากเพาะกบสวยงามเหล่านี้ขึ้นมาได้หลายร้อยตัวภายในตู้เพาะเลี้ยงแล้ว บริษัทจะส่งไปจำหน่ายที่แคนาดา สหรัฐฯ ญี่ปุ่น รวมถึงอีกหลายประเทศในยุโรป บางตัวราคาสูงถึง 600 เหรียญสหรัฐ ลอลา การ์เดอรัส (Lola Guarderas) ผู้จัดการโรงงานเพาะกบของวิกิริบอกเอเอฟพีว่า ด้วยราคาจำหน่ายที่สูงของกบหายาก ทำให้เรามองเห็นภาพผลกำไรมหาศาลที่ได้จากการลักลอบค้ากบอย่างผิดกฎหมาย พร้อมกันนี้เธอยังเผย “กบกระจก” (glass frog) กบตัวใสที่เรามองทะลุเห็นอวัยวะภายใน รวมถึงหัวใจที่สีแดงที่กำลังเต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในกบหายากราคาแพง นี่เป็นสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมาย ของกลุ่มคนที่เข้าไปจับกบหายากโดยตรงจากถิ่นอาศัยแล้วส่งออกไปจำหน่าย ซึ่งสร้างความเสียหายขอพันธุ์กบที่มีอยู่ในป่า” การ์เดอรัสกล่าว การดำเนินกิจกรรมฟาร์มกบหายากนี้การ์เดอรัสยังมีความร่วมมือกับศูนย์จามบาตู (Jambatu Center) ศูนย์วิจัยและรักษาพันธุ์สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกซึ่งตั้งอยู่ภายในบริษัทวิกิริ ถึงเอกวาดอร์จะเป็นประเทศเล็กๆ ในอเมริกาใต้ แต่ก็เป็นหนึ่งในแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดบนโลก โดยมีจำนวนกบมากกว่า 600 สปีชีส์ และในจำนวนนั้นครึ่งหนึ่งเป็นกบที่พบได้เฉพาะในประเทศนี้เท่านั้น และจากข้อมูลจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเอกวาดอร์ มีกบถึง 186 สปีชีส์ที่มีความเสี่ยงสูญพันธุ์ แม้ว่าทางการได้ห้ามการจับและขายสัตว์จากธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ไม่อาจหยุดการลักลอบค้าขายสิ่งมีชีวิตจากลุ่มน้ำอะเมซอน ซึ่งกินบริเวณครอบคลุมบราซิล เปรู โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ เวเนซูเอลา กายอานา และซูรินาเม เมื่อเร็วๆ นี้ศูนย์จามบาตูได้ประกาศถึงการค้นพบครั้งใหญ่ว่า สามารถขยายพันธุ์คางคกหายากที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อะเทโลปัส อิกเนสเซนส์ (Atelopus ignescens) หรือคางคกตีนสั้นกีโตได้ภายในพื้นที่กักขัง ก่อนหน้านี้เคยมีคางคกดังกล่าวกระจายทั่วเทือกเขาแอนดีสฝั่งเอกวาดอร์ แต่ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 3 ทิศวรรษก่อน จนกระทั่งได้พบประชากรคางคกนี้จำนวนหนึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา และมี 43 ตัวถูกจับมาที่ศูนย์ตามบาตูเพื่อผลิตลูกอ๊อดให้ได้ 500 ตัวต่อคางคก 1 ตัว ห้องปฏิบัติการของบริษัทยังได้พยายามเพาะขยายพันธุ์กบประมาณ 40 สปีชีส์ ซึ่งเป็นทั้งกบที่พบทั่วไปในเอกวาดอร์หรือเป็นกบเฉพาะถิ่น รวมถึงกบที่พบในประเทศอื่นๆ ของอเมริกาใต้ ในจำนวนนี้หลายสิบสปีชีส์ได้รับการเสนอให้ส่งจำหน่ายนอกประเทศ เช่น “อะกาลิชนิส สเปอร์เรลลี” (Agalychnis spurrelli) กบร่อนต้นไม้ “ครุซิโอไฮลา คาลคาริเฟอร์” (Cruziohyla calcarifer) กบใบไม้ที่มีแถบสีเหลืองที่ท้องและมีขายาว รวมถึง “ไฮยาลิโนบาทราเชียม ออรีโอกัตตาตัม” (Hyalinobatrachium aureoguttatum)กบตัวใสที่มีจุดสีเหลืองตามตัว แต่ละปีมีกบหายากถูกขายไป 500 ตัว ซึ่งเมื่อรวมกับประเทศอื่นๆ ในละตินอเมริกาแล้ว มีกบหายากถูกจำหน่ายไปทั่วโลกมากถึง 7,000 ตัว ซึ่งมีความคาดหวังที่จะลดการกบอย่างผิดกฎหมายลง โดย หลุย โคโลมา (Luis Coloma) ผู้อำนวยการศูนย์จามบาตูกล่าวว่า การลักลอบค้าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในโลกนี้มีสูงมาก และเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้กบเสี่ยงสูญพันธุ์ นอกจากการลักลอบค้าแล้วกบบางชนิดยังมีความเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างฉับพลันจากการสูญเสียถิ่นอาศัยที่ถูกล้างบางจากการลักลอบทำลายป่า รวมถึงมลพิษและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศก็เป็นปัจจัยที่ทำให้กบเสี่ยงสูญพันธุ์ จากข้อมูลของกระทรวงสิ่งแวดล้อมเอกวาดอร์ตอนนี้มีกบ 18 สปีชีส์ที่หายไปจากประเทศอย่างสิ้นเชิงแล้ว ซึ่งนับเป็นหนึ่งในการปล้นความร่ำรวยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไป ผู้จัดการออนไลน์ 18.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร