Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พบอีกหลักฐาน “ดวงจันทร์” มีน้ำใต้ดินปริมาณมหาศาล  

งานวิจัยใหม่สนับสนุนแนวคิด “ดวงจันทร์” ไม่ได้แล้งอย่างที่เชื่อมานาน โดยพบว่าบริวารของโลกมีน้ำมหาศาลอยู่ใต้ดิน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจะเป็นแหล่งน้ำดับกระหายให้แก่นักสำรวจที่เดินทางจากโลกได้ในอนาคต ซุย หลี่ (Shuai Li) หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) สหรัฐฯ ซึ่งศึกษาพบน้ำใต้ผิวดวงจันทร์ บอกเอเอฟพีว่า พวกเขาอาศัยข้อมูลดาวเทียมศึกษาพบว่า มีสัญญาณของน้ำอยู่ใต้ผิวดวงจันทร์ หลี่ซึ่งเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii) และเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยบราวน์ บอกอีกว่าน้ำดังกล่าวจะเป็นทรัพยากรที่มีประโยชน์ต่อการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต ประมาณสิบปีก่อนนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อกันว่าดวงจันทร์นั้นแห้งสนิท จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ได้พบหลักฐานบ่งชี้ถึงการมีน้ำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต โดยหลักฐานดังกล่าวเป็นเม็ดกรวดที่ลูกเรือในปฏิบัติการอะพอลโล (Apollo) เก็บจากดวงจันทร์กลับมายังโลก การค้นพบของทีมมหาวิทยาลัยบราวน์นั้นเผยให้เห็นหินตะกอนภูเขาไฟจำนวนมากที่กระจายอยู่ทั่วพื้นผิวดวงจันทร์นั้นกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลไว้ มากกว่าบริเวณอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบ ซึ่งการค้นพบน้ำในแหล่งกักเก็บเก่าแก่นี้ ได้จุดประกายแนวคิดที่ว่า เปลือกดวงจันทร์นั้นอุดมด้วยน้ำปริมาณมหาศาล โดยเชื่อว่าหินตะกอนเหล่านี้ก่อตัวขึ้นจากการปะทุของหินหนืดใต้พื้นผิวดวงจันทร์ ด้าน ราฟ มิลลิเกน (Ralph Milliken) หัวหน้าทีมวิจัยใหม่ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์จีโอไซน์ (Nature Geoscience) กล่าวว่ามีคำถามสำคัญคือ ตัวอย่างจากปฏิบัติการอะพอลโลนั้น เป็นหลักฐานของน้ำมหาศาลใต้ผิวดวงจันทร์ หรือเป็นเพียงตัวอย่างของบริเวณที่มีน้ำมากผิดปกติอยู่ภายใต้เปลือกอันแห้งสนิทของดวงจันทร์ ทว่าการกระจายตัวหินตะกอนที่อุดมน้ำนั้นเป็นสิ่งสำคัญ โดยมิลลิเกนอธิบายว่าหินตะกอนเหล่านี้กระจายทั่วพื้นผิวดวงจันทร์ จึงเป็นสิ่งที่บอกเราว่าน้ำที่พบในตัวอย่างจากปฏิบัติการอะพอลโลนั้นไม่ใช่ตัวอย่างที่แตกต่างไปจากตัวอย่างอื่นๆ มิลลิเกนซึ่งเป็นรองศาสตราจารย์ของภาควิชาโลก สิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ดวงดาว ของมหาวิทยาลัยบราวน์กล่าวว่า จากข้อมูลการโคจรนั้นช่วยให้เราตรวจสอบบหินตะกอนภูเขาไฟปริมาณมากที่ปฏิบัติการอะพอลโลกหรือภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของอดีตสหภาพโซเวียตเข้าไม่ถึง จากข้อเท็จจริงว่าหินตะกอนเกือบทั้งหมดแสดงสัญญาณจำเพาะของน้ำ บ่งบอกว่าตัวอย่างจากปฏิบัติการอะพอลโลไม่ได้พิเศษกว่าตัวอย่างอื่น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเปลือกชั้นในของดวงจันทร์นั้นชุ่มน้ำ” มิลลิเกนกล่าว นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่ออีกว่า ดวงจันทร์นั้นก่อตัวขึ้นจากเศษซากที่หลงเหลือหลังจากมีวัตถุขนาดประมาณดาวอังคารพุ่งชนโลกในช่วงที่ระบบสุริยะเพิ่งก่อเกิด ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ว่า ไฮโดรเจนที่จำเป็นต่อการสร้างน้ำนั้นเหลือรอดหลังดวงจันทร์ถูกพุ่งชน หลักฐานที่มีมากขึ้นเกี่ยวกับน้ำใต้ดวงจันทร์นั้น บอกว่าน้ำอาจคงเหลือหลังการชน หรืออาจเป็นไปได้ว่าดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางนำน้ำมาในช่วงเวลาไม่นาน หลังการพุ่งชนก่อนที่ดวงจันทร์จะแข็งตัว และแม้ว่าหินตะกอนนั้นจะมีน้ำในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ตะกอนเหล่านั้นมีขนาดใหญ่ จึงน่าจะสกัดเอาน้ำออกมาได้ไม่ยาก หลี่กล่าวว่ามีการศึกษาอื่นที่ชี้ว่ามีน้ำอยู่บริเวณเงาที่ขั้วดวงจันทร์ แต่กินตะกอนภูเขาไฟนั้นในพื้นที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า ซึ่งอะไรก็ตามที่ช่วยให้นักสำรวจดวงจัจทร์ในอนาคตไม่ต้องแบกน้ำปริมาณมากไปจากโลกนั้นถือเป็นก้าวใหญ่ที่สำคัญ และการศึกษานี้ก็เป็นอีกทางเลือกใหม่ manageronline 24.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร