Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

จุดประกายความหวัง “วัคซีนเอดส์” อีกตัวผ่านการทดสอบในคนระยะแรก  

จุดประกายความหวังในรอบ 3 ทศวรรษ นักวิจัยประกาศความสำเร็จกลางงานประชุมเอดส์โลกว่า “วัคซีนเอดส์” ผ่านการทดสอบในคนระยะแรก คาดจะได้รับการอนุมัติทดลองในคนระยะต่อไป แดน บารอช (Dan Barouch) สมาชิกทีมวิจัยวัคซีนเอดส์แถลงต่อสื่อมวลชนระหว่างการประชุมวิชาการด้านเอชไอวี ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 23-26 ก.ค.2017โดยสมาคมเอดส์นานาชาติ (International AIDS Society: IAS) ถึงความหวังของวัคซีนที่ได้ผ่านการทดสอบในมนุษย์ระยะแรก บารอชเผยว่าการทดสอบในมนุษย์ 393 ราย ทั้งในสหรัฐฯ รวันดา อูกานดา แอฟริกาใต้และประเทศไทยว่า วัคซีนที่ได้รับการพัฒนานั้นเพิ่มการตอบสนองของแอนตีบอดี (antibody) หรือภูมิต้านทานทั้ง 100% ของผู้ที่ได้รับวัคซีน ข้อมูลที่ดูมีความหวังนี้บวกกับความก้าวหน้าของผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในสาขานี้สนับสนุนความหวังว่า การพัฒนาวัคซีนเอดส์นั้นมีความเป็นไปได้ จากรายงานของเอเอฟพีรเชื่อว่าวัคซีนนั้นเป็นหนทางดีที่สุดที่จะหยุดยั้งการระบาดของไวรัสเอชไอวีที่มีผู้ได้รับเชื้อทั่วโลก 76.1 ล้านคนมานับตั้งแต่ยุคต้นๆ ของทศวรรษ 1980 และไวรัสดังกล่าวยังเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ซึ่งผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้วประมาณ 35 ล้านคน ข้อมูลจาก UNAIDS เผยว่าเมื่อปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียวทั่วโลกมีคนติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นถึง 1.8 ล้านคน รวมแล้วมีคนที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกับไวรัสเอชไอวี 36.7 ล้านคน ในจำนวนนั้นมี 19.5 ล้านคนที่เข้าถึงการรักษาเพื่อรับยาต้านไวรัส (anti-retroviral treatment: ART) บารอชซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ไวรัสวิทยาและวิจัยวัคซีน (Center for Virology and Vaccine Research) ของศูนย์การแพทย์เบธอิสราเอลดีโคเนส (Beth Israel Deaconess Medical Center) กล่าวที่สุดแล้วการควบคุมการระบาดของเชื้อเอชไอวีทั่วโลกต้องมีการพัฒนาวัคซีนที่ได้ผลและปลอดภัย ซึ่งตลอด 35 ปีของการระบาดมาถึงตอนนี้เพิ่งมีวัคซีนต้นแบบเพียง 4 ตัวที่ผ่านการทดสอบแล้วได้ผลในระบบคลีนิค ทีมวิจัยของบารอชตั้งความหวังว่าวัคซีนต้นแบบของพวกเขาจะได้รับอนุมัติให้ทดสอบในการทดลองระยะถัดไป โดยวัคซีนของพวกเขาใช้ไวรัสหวัดเป็นตัวพา “แอนติเจน” (antigen) สารแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ได้รับให้ผลิตแอนติพอดีหรือภูมิต้านทานออกมาสู้ โดยวัคซีนนี้ถูกกระตุ้นด้วยโปรตีนที่เพิ่มระดับภูมิต้านทานของร่างกาย การทดสอบวัคซีนนี้ในเบื้องต้นพบว่า วัคซีนต้นแบบป้องกันการติดเชื้อของลิงวอกในห้องปฏิบัติการได้ 66% ส่วนการทดสอบในมนุษย์พบว่า มีความปลอดภัยและกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่ทีมวิจัยก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า วัคซีนนี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในมนุษย์ได้หรือไม่ ทว่าข้อมูลจากการทดลองวัคซีนใหม่นี้สนับสนุนให้มีการทดสอบในวงกว้างขึ้น ซึ่งทีมวิจัยตั้งความหวังที่จะได้เริ่มทดสอบการสิ้นปีนี้ แต่ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องรวบรวมภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า ด้าน ลินดา-เกล เบกเกอร์ (Linda-Gail Bekker) ประธานสมาคมเอดส์นานาชาติกล่าวถึงผลการทดสอบวัคซีนนี้ว่าเป็น “ข่าวใหญ่” ขณะที่ตอนนี้ “ถุงยางอนามัย” นั้นเป็นด่านแรกที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่การติดเชื้อเกิดขึ้นผ่านการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัสเลือด แอนโทนี เฟาชี (Anthony Fauci) ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อสหรัฐฯ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases : NIAID) ในแมรีแลนด์ บอกเอเอฟพีว่าการพัฒนาวัคซีนนั้นเป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่ง แต่หากทำสำเร็จก็จะพลิกกระดานอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้มีวัคซีนซึ่งเป็นความหวังอีกตัวในการป้องกันเชื้อเอชไอวี นั่นคือ HVTN 702 ซึ่งกำลังทดสอบในระดับคลีนิคขนาดใหญ่ที่แอฟริกาใต้ นอกจากนี้ภายในการประชุมยังมีงานวิจัยที่เผยว่าการฉีดยาชุดแบบคอกเทลเดือนละครั้งหรือ 2 เดือนต่อครั้งนั้นได้ผลใกล้เคียงกับการกินยารายวัน ซึ่งการกินยาที่ไม่ตรงเวลานั้นกระตุ้นให้เกิดการดื้อยาของเชื้อได้ ผู้จัดการออนไลน์ 26.07.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร