Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ปีนี้มหกรรมวิทย์ฯ จัดธีมตอบโจทย์ New S-curve  

      “เก้า-จิรายุ" ควงคู่ "มายด์-ลภัสลัล” พรีเซ็นเตอร์งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ 2560 ชวนน้องๆ เรียนรู้วิทย์นอกห้องเรียน 17-27 ส.ค.นี้ ตื่นตาตื่นใจไปกับยักษ์แห่งท้องทะเลลึก ชมพืชและสัตว์มีพิษในนิทรรศการสารพัดพิษ และร่วมกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจมากมาย
      ก้าวสู่ปีที่ 12 แล้วสำหรับงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” งานที่รวบรวมสุดยอดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี เนื่องใน “สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” ดึง 2 นักแสดงดาวรุ่ง เก้า-จิรายุ ละอองมณี และมายด์-ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล เป็นพรีเซนเตอร์ ชวนเยาวชนไทยเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างเพลิดเพลิน สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย  ตั้งแต่วันที่ 17-27 สิงหาคม 2560 ณ อิมแพค เมืองทองธานี เวลา 9.00-19.00 น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติม facebook พิมพ์คำว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

     ดร.อรรชกา  สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า มหกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของประเทศและภูมิภาคเอเชีย ในการแสดงผลงานความก้าวหน้าและศักยภาพทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมด้วยศักยภาพของนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ของไทยและต่างประเทศรูปแบบของกิจกรรมในงานคล้ายเทศกาลวิทยาศาสตร์ (Science Festival) ในหลายประเทศ

      ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบทันสมัย มีความเป็นสากล เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วม (Interactive Exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย New S-curve มุ่งสู่ Thailand 4.0 รวมทั้งได้มีการนำแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องสะเต็มศึกษา (STEM Education) มาใช้ในการจัดกิจกรรมในรูปแบบ เล่น-เรียน-รู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม ในประเด็นการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และส่งเสริมการสร้างกิจกรรมภายในครอบครัว

     ในปีนี้ยังเป็นการผนึกกำลังร่วมกันของ 10 กระทรวง มากกว่า 100 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน และปีนี้ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างประเทศอีก 7ประเทศ 16 หน่วยงานเข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าและเทคโนโลยี ได้แก่ ญี่ปุ่น (9 หน่วยงาน) สหรัฐอเมริกา (2 หน่วยงาน) สหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นความสนใจแก่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนที่จะต้องเติบโตและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในวันข้างหน้า รวมถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

     ฝ่าย 2 พรีเซ็นเตอร์ เก้า-จิรายุ ละอองมณี และ มายด์-ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล พูดถึงความน่าสนใจของงานนี้ว่าภายในงานมีหลากหลายกิจกรรมและมากมายองค์ความรู้ อาทิ
        
                 • Monsters of the Sea : ตื่นตาตื่นใจไปกับยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลลึก สัตว์โบราณใน “ยุคเมโสโซอิค” (Mesozoic) ที่ยึดครองผืนมหาสมุทร ในช่วงเดียวกับที่ไดโนเสาร์ครองพื้นแผ่นดิน มาเรียนรู้วิทยาศาสตร์และพบกับฉลามขาวยักษ์ดึกดำบรรพ์ เมกาโลดอน ความยาวกว่า 13 เมตร
           • มนุษย์ครองโลก : ยุคที่มนุษย์เราใช้ทรัพยากรเกินจำเป็นจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ อาจทำให้การสูญพันธุ์กลับมาอีกครั้ง มาร่วมกันหาทางออกแห่งอนาคตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะมาปรับให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ด้วยกันต่อไปอย่างยั่งยืน
            • ท่องเที่ยวยั่งยืน : มารู้จักกับ “ปีสากลแห่งการท่องเที่ยวยั่งยืน” และสนุกสนานกับ 4D THEATRE ที่จะพาทุกคนเที่ยวประเทศไทยผ่านมุมมองใหม่ ที่จะสนับสนุนให้การท่องเที่ยวยั่งยืนต่อไป
                 • สูงวัยใกล้ตัว : ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวสู่ความท้าทายใหม่ คือการเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยภาวะสุขภาพของประชาชนไทยที่ดีขึ้นทำให้มีอายุยืนยาวขึ้น แต่ขณะเดียวกันอัตราเกิดก็ลดต่ำลง จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมทางนโยบายในการจัดการปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
             • Makerspace…จากสิ่งประดิษฐ์ สู่วิถีคิดนวัตกรรม : นิทรรศการและกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจและแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้แบบลงมือทำ (Hands-on) ตามแนวทาง STEM Education และต่อยอดไปสู่นวัตกรรม
               • นิทรรศการ Miracle of Science : สารพัดพิษ ที่นำเสนอในรูปแบบ Fantasy ดินแดนสารพัดพิษที่ปกคลุมด้วยไอหมอกแห่งความลึกลับกับเหล่าพืชพิษและสัตว์พิษที่ซ่อนเร้น และแฝงด้วยอันตรายในทุกย่างก้าว มาเรียนรู้เรื่องพิษที่มีโทษต่อมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้พิษเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์ได้ในคราวเดียวกัน สนุกสนานกับละครและนิทานหรรษานานาพิษ ชมสัตว์ พืช แมลง ดอกไม้พิษชนิดต่าง ๆ และรู้จักว่าพิษของมันมาจากไหน
 
              เก้า จิรายุ ละอองมณี ที่เป็นพรีเซ็นเตอร์งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ นี้มา 3 ครั้งแล้ว ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 กล่าวว่า ทุกครั้งที่มาเดินชมงานรู้สึกชื่นชอบ สนุกและได้ความรู้มาก ที่สำคัญรู้สึกประทับใจในความทุ่มเทของผู้จัดงานที่ช่วยกันเนรมิตทุกบูธนิทรรศการและกิจกรรมที่นำมาจัดแสดงได้อย่างน่าชื่นชมมาก และในปีนี้ก็เช่นเดียวกันที่ทุกคนจะได้พบกับเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่น่าสนใจมากมาย  โดยส่วนตัวแล้วสนใจนิทรรศการ Maker Space จากสิ่งประดิษฐ์ สู่วิถีคิดนวัตกรรม ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในยุคปัจจุบันเพื่อปลดปล่อยจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ ปลุกความเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือ "เมกเกอร์" (Maker) พบกับ Maker’s Showcase หุ่นยนต์กู้ภัย ชมผลงานจาก Maker Community มาร่วมกันฝึกทักษะการเป็น Maker จากความคิดสร้างสรรค์ ไปสู่การลงมือทำ กิจกรรม Kid Maker, Maker Studio ชมสาธิต 3D Printing และห้ามพลาดกับการแข่งขันบังคับ Drone หุ่นยนต์ Mindstrom เพื่อผ่านอุปสรรคในการปฏิบัติภารกิจท่ามกลางภาวะฉุกเฉิน

                 ด้านน้องมายด์ ลภัสลัล จิรเวชสุนทรกุล อีกหนึ่งพรีเซ็นเตอร์คนดัง กล่าวว่า ชื่นชอบในวิชาวิทยาศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยิ่งได้รับเกียรติให้เป็นพรีเซนเตอร์ของงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ในปีนี้ ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีเช่นนี้ ก็ยิ่งรู้สึกยินดีมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยส่วนตัวในฐานะคนรุ่นใหม่อยากจะแนะนำนิทรรศการโลกดิจิทัล (Digital World) ที่จะทำให้เราตื่นตาตื่นใจไปกับเทคโนโลยีที่ทำให้กระแสของโลกเปลี่ยนแปลง อาทิ Lot (Internet of Things), Clould Technology, Big Data, Autonpmous, 3D Printing, VR, AR เป็นต้น พร้อมกันนี้เรายังจะได้สัมผัสโลกแห่งอนาคตกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเรา อาทิ Smart Home Smart Education Smart Economy Smart Heath อีกด้วย

Bangkokbiznews 04.08.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร