Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ยาปฏิชีวนะเเวนโคมัยซินปรับปรุงใหม่ บำบัดเชื้อเเบคทีเรียได้ผลดีกว่าเดิม  

       การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินพอดีและการใช้อย่างไม่ถูกต้องเพื่อบำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรียชนิดธรรมดา ได้นำไปสู่ปัญหาเชื้อเเบคทีเรียดื้อยาที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก
      การติดเชื้อเเบคทีเรียที่เคยรักษาหายด้วยยาปฏิชีวนะในอดีต กลับไม่ตอบสนองต่อยาอีกต่อไป ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
นอกเหนือไปจากความพยายามพัฒนายาปฏิชีวนะตัวใหม่ขึ้นมารับมือกับการติดเชื้อเเบคทีเรียเเล้ว ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ให้สามารถบำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรียรุนแรงและดื้อยาได้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันด้านการวิจัยสคริปป์ส ในรัฐเเคลิฟอร์เนียสามารถปรับปรุงคุณภาพของยาแวนโคมัยซินให้ใช้บำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรียดื้อยาได้สำเร็จ โดยยาปฏิชีวนะชนิดนี้พัฒนาขึ้นเมื่อ 60 ปีที่เเล้ว และถือเป็นยาปฏิชีวนะชนิดสุดท้ายที่ใช้ในการบำบัด         การติดเชื้อเเบคทีเรียชนิดร้ายเเรง
ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันที่สถาบันเเห่งนี้ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างทางโมเลกุลที่สำคัญของยาเเวนโคมัยซินเพื่อให้มีฤทธิ์บำบัดเชื้อเเบคทีเรียเอนเทอโรคอคคัส (Enterococcus) ด้วยการสร้างผนังเซลล์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปภายในเซลล์
ในรายงานเกี่ยวกับผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ทีมนักวิจัยสถาบันสคริปป์ส อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างโมเลกุลของยาเเวนโคมัยซินทำให้ยามีประสิทธิภาพมากขึ้นถึงหนึ่งพันเท่า ในการกำจัดเชื้อเเบคทีเรียเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อยา
จอร์เจียจีน พาเทล ผู้อำนวยการของฝ่ายต่อต้านเชื้อเเบคทีเรียดื้อยา สำนักงานควบคุมและป้องกันโรค ในเมืองเเอตเเลนต้า กล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างโมเลกุลของยาเเวนโคมัยซีนเพื่อทำให้ยามีประสิทธิภาพดีขึ้นในการกำจัดเชื้อโรคดื้อยา จะเป็นทางแก้ปัญหาที่ดี เป็นการปรับปรุงยาเก่าใหม่ให้มีคุณภาพดีขึ้น
ในรายงานเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรียดื้อยา องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เรียกเชื้อเเบคทีเรียดื้อยาว่าเป็นภัยคุกคามที่อันตรายมากต่อสุขภาพของคน
พาเทล เจ้าหน้าที่อาวุโสแห่งสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคในเมืองเเอตเเลนต้า กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะประเมินความเลวร้ายของสถานการณ์การระบาดของเชื้อเเบคทีเรียดื้อยา เพราะมีประเทศต่างๆ มากมายที่ขาดเเคลนห้องทดลองที่ใช้ตรวจเชื้อโรคดื้อยา
เขากล่าวว่าการแก้ปัญหาเชื้อเเบคทีเรียดื้อยาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีความสำคัญ แต่ยังจำเป็นต้องมีแนวทางการเเก้ปัญหาที่ใช้หลายๆวิธีรวมกัน
เขากล่าวว่าจำเป็นต้องมีมาตรการที่รวมเอาหลายวิธีเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการติดเชื้อที่ดี ต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง ต้องมีการวินิจฉัยที่ดีเพื่อตรวจหาเชื้อเเบคทีเรียดื้อยาทันทีที่เกิดการติดเชื้อ ซึ่งการพึ่งการพัฒนายาปฏิชีวนะตัวใหม่อย่างเดียวไม่เพียงพอ
พาเทล ผู้เชี่ยวชาญเเห่งสำนักงานควบคุมและป้องกันโรค ในเมืองเเอตเเลนต้า กล่าวเสริมว่า ไม่มีประเทศใดที่ไม่เสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อเเบคทีเรียดื้อยา และปัญหายาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผลจะยังดำเนินต่อไป หากยังไม่มีความพยายามในระดับทั่วโลกเพื่อแก้ปัญหานี้

 

Voice of America 5.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร