Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นักรบพันธุ์ใหม่ เด็กปั้นจากสถาบันอาหาร  

      เปิดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของสถาบันอาหาร ปั้นนักรบอาหารไทย/ผู้ประกอบการพันธุ์ใหม่ 3 หมื่นคน เล็งยื่นของบปริมาณปีละกว่า 1,000 ล้านบาท
     เปิดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของสถาบันอาหาร ปั้นนักรบอาหารไทย/ผู้ประกอบการพันธุ์ใหม่ 3 หมื่นคน เล็งยื่นของบปริมาณปีละกว่า 1,000 ล้านบาทสร้างห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบผลิตเมนู  มูลค่าสูง ทั้งยังจัดทำค่ามาตรฐานรสและกลิ่น อาหารไทยโดยเครื่องตรวจวัดรสชาติ หวังใช้เป็นสูตรอ้างอิงให้ครัวไทยในต่างประเทศ ไม่ว่าจะปรุงในประเทศใดก็จะได้รสชาติความอร่อยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ติดอาวุธให้กิจการไทย
     นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สถาบันฯ มีแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารในระยะยาว ด้วยการสร้างผู้ประกอบการอาหารพันธุ์ใหม่ หรือนักรบด้านอาหารปีละ 1,000 คน และอีก 20 ปีจะมี 3 หมื่นคน เพราะทุกวันนี้อุตสาหกรรมอาหารมีประมาณ 1.10 แสนราย 99.5% เป็นเอสเอ็มอี ส่วนที่เหลืออีกเกือบ 600 รายเป็นรายใหญ่ ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 70%ของจีดีพี
     นักรบพันธุ์ใหม่นี้จะมีความเชี่ยวชาญด้านการใช้องค์ความรู้สมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลิตภาพการประกอบธุรกิจอาหารและเพิ่มมูลค่า จะผลักดันให้เกิดปีละ 1,000 คน ซึ่งจะเริ่มในปี 2561 หลังจากยื่นของบประมาณปีละ1,000 กว่าล้านบาทจากรัฐบาลเพื่อมาทำโครงการนี้ ซึ่งจะเชื่อมโยงตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ สำหรับนำไปลงทุนห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบรวมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมาเป็นนักรบอาหาร
      นักรบอาหารจะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของฟู้ดวัลเลย์ ที่เอื้อให้เข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) ผลิตสินค้าเพื่ออนาคต (ฟิวเจอร์ ฟู้ด) ตอบโจทย์กระแสสุขภาพ และขยายสู่การเป็นตลาดอาหารที่สำคัญของโลก เพียงปั้น 100 รายรวมกันให้มีศักยภาพเท่าบริษัทขนาดใหญ่หนึ่งบริษัทก็เพียงพอแล้ว
รัฐบาลพยายามผลักดัน “ครัวไทย” สู่ “ครัวของโลก” ด้วยศักยภาพประเทศไทยที่เป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และอาหารไทยเป็นที่นิยมของต่างชาติ แต่การตลาดยังทำในรูปแบบเดิมๆ จากนี้ไปจึงต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกระแสโลกเพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตสินค้าตามเทรนด์อาหารในอนาคต ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ (ฟังก์ชันนัลฟู้ด) อาหารทางการแพทย์ (เมดิคัลฟู้ด), อาหารอินทรีย์ (ออร์แกนิกฟู้ด) และอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม (novel foods)
รสชาติไม่เพี้ยนด้วยเทคโนโลยี
     พร้อมกันนี้ ทางสถาบันฯได้จ้างผลิตเครื่องมือตรวจ “รสไทยแท้” ภายใต้โครงการ Authentic Thai Food for the World เพื่อส่งเสริมเครื่องหมายมาตรฐานอาหาร “รสไทยแท้” ให้กับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสและเครื่องเทศให้มีโอกาสขยายตลาดมากขึ้น ทั้งจากผู้บริโภคและผู้ประกอบการร้านค้า ในส่วนร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ทางสถาบันฯ ไม่ได้รับรองร้านอาหาร แต่จะเข้าไปตรวจรับรองเฉพาะเมนูว่ามีที่เป็นรสไทยแท้อะไรบ้าง เช่น ร้านนี้มีต้มยำกุ้งรสไทยแท้ มีโภชนาการ/สารอาหารอะไรบ้างในหนึ่งชาม เพื่อจะบอกให้รับรู้ว่ากำลังกินยาที่อร่อยที่สุดในโลก
“ถือเป็นการประกาศภาพลักษณ์อาหารไทย ที่อาหารประเทศอื่นพูดแบบนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่มีการวัดค่าแบบนี้และเมนูบ้านเรามีสมุนไพรรสเผ็ดร้อนเกือบทุกเมนู จึงต้องทำตรงนี้เพื่อรักษาภาพลักษณ์อาหารไทย โดยมีตราสัญลักษณ์รสไทยแท้การันตี ทั้งยังเป็นการสร้างมาตรฐานเทียบเคียงด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ความรู้สึก วันนี้ยังไม่มีใครทำ ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำเรื่องนี้” นายยงวุฒิ กล่าว
    โครงการนี้จะอาศัยเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่เรียกว่า Electronic nose และ Electronic tongue ราคาเครื่องละ 2 ล้านบาท มาช่วยตรวจวัดค่ากลิ่นและค่ารสชาติเผ็ด เค็ม หวานและเปรี้ยว เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลใช้เป็นค่ามาตรฐานอ้างอิงจัดทำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้การรับรองมาตรฐานอาหารไทยส่งออก ตลอดจนรับรองเมนูที่ชาวต่างชาติรู้จักดี เช่น ผัดไทย ต้มยำกุ้ง ส้มตำ
ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า หากทำได้ตามเป้าหมายจะเกิดแรงขับเคลื่อนมหาศาล และสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 หลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลางสู่ประเทศที่มีรายได้สูงอย่างมั่นคงและยั่งยืน

Bangkokbiznews 09.08.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร