Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

คลังสมองจับมือ สกว.ดัน IP 4.0 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ  

   สถาบันคลังสมองของชาติ ผนึกกำลัง สกว. และเอกชน เปิดเวทีกระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เห็นความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
    รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ เป็นประธานเปิดการสัมมนา “Intellectual Property (IP) for Thailand 4.0” เมื่อ 7 สิงหาคม 2560 ซึ่งจัดโดยสถาบันคลังสมองของชาติ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และบริษัท เอซิส แอสโซซิเอทส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย รวมถึงนักวิจัยที่มีความสนใจ ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ
     ผอ.สถาบันคลังสมองของชาติกล่าวว่า การขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่ของประเทศ ภายใต้นโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ทำให้งานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีนวัตกรรมเป็นลำดับที่ 52 ของโลก และลำดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าในงานวิจัยสร้างสรรค์และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของไทย รวมถึงการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีหลายสาเหตุ อาทิ นักวิจัยยังไม่เห็นถึงความสำคัญหรือขาดความเข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญกับการสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตรหรือทำ Patent mapping ก่อนการวิจัย ส่งผลให้จดทะเบียนสิทธิบัตรได้ไม่มากนัก คิดเป็นอัตราส่วน 15:85 เมื่อเทียบกับต่างชาติที่ยื่นขอจดทะเบียนในประเทศไทย
     นอกจากนี้งานวิจัยยังไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มที่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและผลงานวิจัย หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำเนินงานเพื่อคลี่คลายข้อจำกัดและอุปสรรคต่าง ๆ การจัดสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา โดยเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ รวมถึงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของภาคเอกชน องค์กรของรัฐ และมหาวิทยาลัยทั้งกรณีของต่างประเทศและของไทย โดยเน้นไปที่ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และความลับทางการค้า
    ขณะที่นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวระหว่างการบรรยายเรื่อง “แผนที่นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ 4.0” ว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำแผนที่นำทางระยะ 20 ปี เพื่อปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ การสร้างสรรค์ การคุ้มครอง การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชนและประเทศ ซึ่งไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน คือ เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม
    “ประเทศไทยยังอ่อนแอด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของสินค้าและบริการ ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ให้ประเทศก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยแผนที่นำทางในการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและปัญญา จากการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตโดยลดต้นทุนเป็นเน้นเทคโนโลยี และจากผู้ประกอบการทั่วไปเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม”
        ด้านการสร้างสรรค์ได้มีการจัดทำระบบเรียนรู้ทรัพย์สินทางปัญญาทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิสก์ บทเรียนในรูปแบบแอนิเมชันสำหรับหลักสูตรความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาพื้นฐานผ่านเว็บไซต์ http://elearning.ipthailand.go.th รวมถึงรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อโทรทัศน์ ด้านความคุ้มครองได้จัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และบุคลากร รวมถึงปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและรองรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น กฎหมายสิทธิบัตร เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาการจดทะเบียน และรองรับพิธีสารแก้ไขความตกลงทริปส์ด้านสาธารณสุข รวมถึงรองรับหลักการเปิดเผยแหล่งที่มาของทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น กฎหมายเครื่องหมายการค้า เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า โดยแก้ไขหลักเกณฑ์การจัดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การตั้งตัวแทนหรือการมอบอำนาจ และเพิ่มหลักเกณฑ์การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นเสียง การแก้ไขการออกหนังสือสำคัญและใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน รายการจดทะเบียน การต่ออายุการจดทะเบียน และการเพิกถอนการจดทะเบียน เป็นต้น ตลอดจนกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงงานที่มีการโฆษณาแล้วสำหรับคนตาบอด คนพิการทางการเห็น และคนพิการทางสื่อสิ่งพิมพ์
     ด้านการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ได้จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการด้านสินทรัพย์ทางปัญญาและนวัตกรรม (IP IDE center) เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจรให้ตรงกับความต้องการของตลาด แบ่งเป็น 4 ส่วนหลัก คือ 1) เทคโนแล็บ ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มทิศทางทางเทคโนโลยี แนวโน้ม และข้อมูลสิทธิบัตร 2) ไอเดียแล็บ เป็นพี่เลี้ยงในการบ่มเพาะเอสเอ็มอีให้นำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ และพัฒนาสินค้าและบริการ 3) แวลูแล็บ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่องค์กรธุรกิจไทยให้มีระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการตลาด การประเมินมูลค่า การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการจับคู่ธุรกิจ/ขยายตลาดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านเว็บไซต์กลาง 4) อินเตอร์แล็บ ให้คำปรึกษาแนะนำการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้ประกอบการ ไกล่เกลี่ยข้อพาทและแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จัดอบรมพัฒนาต่อยอดสินค้าและให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรแปรรูป เพื่อสร้างความแตกต่างแก่สินค้า รวมถึงจัดทำระบบศูนย์รวมความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการ นักประดิษฐ์คิดค้น นักสร้างสรรค์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ตลาดกลางทรัพย์สินทางปัญญา
     ด้านการบังคับใช้กฎหมาย มีการปราบปรามการละเมิดในท้องตลาดพื้นที่ต่าง ๆ เร่งรัดการป้องกันปราบปรามและลงโทษ ทำลายของกลางที่คดีถึงที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาและนักลงทุน รวมถึงรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาแก่ทุกภาคส่วนเพื่อให้คนไทย “ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่ใช้ของปลอม” ขณะที่ด้านทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมการประชุม WIPO เพื่อเตรียมผลักดันการเจรจาภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกอย่างเป็นระบบ และแต่งตั้งคณะทำงานวางระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อศึกษาและกำหนดแนวทางในการวางระบบ ตลอดจนแนวทางในการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้ประโยชน์ได้จริง รวมถึงผลักดันการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ

 

manageronline 08.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร