Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ตะลึง! ทีมนักวิจัยพบ “แมงกะพรุนกล่อง” ชนิดใหม่พิษรุนแรง ในท้องทะเลฝั่งอันดามัน  

     ตรัง - ทีมนักวิจัยจาก มช. และศูนย์ฯ ชายฝั่งอันดามัน ออกสำรวจฝูงแมงกะพรุนพิษ ตะลึง! พบ “แมงกะพรุนกล่อง” ชนิดใหม่ที่หากสัมผัสเข้าที่ลำตัวมากกว่า 50% อาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาแค่ 2-3 นาที
       วันนี้ (8 ส.ค.) ผศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) พร้อมด้วย น.ส.อุษาวดี เดชศรี นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ได้นำเจ้าหน้าที่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณ 10 คน ออกสำรวจฝูงแมงกะพรุนกล่อง และแมงกะพรุนพิษ บริเวณอ่าวบุญคง ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ตามโครงการสำรวจ และรวบรวมความหลากชนิดของแมงกะพรุน และแมงกะพรุนพิษ ซึ่งเริ่มสำรวจมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 รวม 10 ครั้ง
  แต่เนื่องจากเป็นช่วงมรสุมคลื่นลมแรง จนไม่สามารถออกไปยังแหล่งอาศัยของฝูงแมงกะพรุนพิษได้ ทีมนักวิจัยจึงได้วางอวนดักจับแมงกะพรุนพิษตามแนวชายฝั่งแทน โดยพบแมงกะพรุนไฟ 1 ตัว และดีเอ็นเอของแมงกะพรุนพิษอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะนำไปตรวจหาดีเอ็นเอว่าเป็นแมงกะพรุนกล่อง หรือแมงกะพรุนพิษชนิดใดบ้าง
 ทั้งนี้ จากการสำรวจตั้งแต่ปลายปี 2559 พบว่า ในท้องทะเลตรัง มีแมงกะพรุนทั้งหมด 6 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นแมงกะพรุนกล่อง จำนวน 3 ชนิด คือ NORBAKKA, CHIROPSOIDES และ CHIRONEX นอกจากนั้น เป็นแมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนลายจุด และแมงกะพรุนลอดช่อง แต่สิ่งที่น่าตกใจก็คือ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยได้พบ “แมงกะพรุนกล่อง” ชนิดใหม่ ซึ่งเมื่อหากสัมผัสเข้าที่บริเวณลำตัวมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หรือประมาณ 2-3 นาที โดยก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม แมงกะพรุนพิษยังมีขนาดเล็ก หรือเป็นวัยอ่อน แต่ในช่วงลมมรสุมนี้กลับพบว่า มีขนาดใหญ่ขึ้น และเพิ่มปริมาณมากขึ้น
       สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกพิษแมงกะพรุนพิษมากที่สุด ได้แก่ ชาวประมงที่ออกไปวางอวนดักจับสัตว์น้ำ ส่วนนักท่องเที่ยวมักจะไม่ลงเล่นน้ำทะเลในช่วงมรสุม อย่างไรก็ตาม แมงกะพรุนกล่องที่พบใน จ.ตรัง ทั้ง 3 ชนิด ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งทีมนักวิจัยยังคงออกเก็บตัวอย่างเป็นประจำทุกเดือน เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายของแมงกะพรุนพิษ โดยเฉพาะแมงกะพรุนกล่อง ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ
 ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนผ่านทางเฟซบุ๊กของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่า ในพื้นที่ทุก 100 ตารางเมตร มีแมงกะพรุนพิษจำนวนเท่าไหร่ มากน้อยแค่ไหน โดยหากผู้ใดถูกพิษขอแนะนำให้ราดน้ำส้มสายชูต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที แต่หากไม่ดีขึ้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
    

 

manageronline 08.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร