Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พัฒนา “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน” ผลิตไบโอดีเซลเทียบเท่าน้ำมันปิโตรเลียม  

         นักวิจัยนาโนเทค พัฒนา “ตัวเร่งปฏิกิริยานาโน” ผลิตไบโอดีเซลที่สามารถนำตัวเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผลิตไบโอดีเซลได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันปิโตรเลียม
        ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวัสดุนาโนและวิศวกรรมระบบนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และหัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโครงสร้างระดับนาโน เพื่อการผลิตไบโอดีเซล และไบโอไฮโดรดีออกซิจิเนตดีเซล กล่าวว่า งานวิจัยพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียนนั้นสำคัญต่อโลกและต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากทรัพยากรมูลค่าการนำเข้าน้ำมันมีอยู่อย่างจำกัด และประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปราว 1 ล้านล้านบาท
           “ทางศูนย์วิจัยจึงได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ สารเคมีชีวภาพ สารเคมีที่มีมูลค่าสูงและวัสดุขั้นสูงด้วยการใช้นาโมเทคโนโลยี เพื่อเป็นการการช่วยประเทศลดการพึ่งพาต่างประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นการส่งเสริมการนำของเสียจากภาคเกษตรมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม”
        ทีมวิจัยได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ในการเร่งปฏิกิริยาในการทำไบโอดีเซลให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายๆ ครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในการลดมลพิษที่จะออกสู่สิ่งแวดล้อม ด้วยการลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยใช้คอมพิวเตอร์ในจำลองการเกิดปฏิกิริยาของตัวเร่งชนิดต่างๆ เพื่อดูว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีประสิทธิภาพที่ขนาดเท่าใด
  จากนั้นทีมวิจัยได้ผลิตตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาที่พัฒนาขึ้นมานี้ มีความพรุนสูงและมีขนาดเล็กกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาตัวเดิม ที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้ตัวสารตั้งต้นที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวภาพ เข้าทำปฏิกิริยาได้กับตัวเร่งง่ายขึ้นและเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีตัวเร่งปฏิกิริยามีพื้นผิวให้สารตั้งต้นเข้าไปทำปฏิกิริยาได้เยอะขึ้น
 งานวิจัยอีกส่วนของทีมวิจัย คือการพัฒนา “ไบโอไฮโดรออกซิจิเนตดีเซล” หรือ “กรีนไบโอดีเซล” ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดเรื่องคุณสมบัติของไบโอดีเซล ที่มีความแตกต่างกับน้ำมันดีเซล โดยทีมวิจัยได้ศึกษาการผลิตกรีนไบโอดีเซลจากปาล์มและไขมันไก่ โดยใช้โลหะนิกเกิลโมลิดินัมซัลเฟต (NiMoS2) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตกรีนไบโอดีเซลผ่านกระบวนการกระบวนการกำจัดออกซิเจนออกมาในรูปของน้ำ (Hydrodeoxygenation)
 ทว่าโลหะนิกเกิลโมลิดินัมซัลเฟตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีกระบวนการเตรียมค่อนข้างยุ่งยาก ราคาแพงและก่อให้เกิดมลพิษ เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยาตัวนี้มีซัลเฟต (S) ซึ่งเป็นสารมลพิษและโมลิดินัม (Mo) ซึ่งมีราคาแพง เป็นองค์ประกอบ ทางทีมวิจัยจึงได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะนิกเกิล (Ni) และโคบอลต์ (Co) เปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะทองคำขาว (Pt) และแพลเลเดียม (Pd) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยามีความไวสูง เพื่อใช้เร่งปฏิกิริยาในการผลิตกรีนไบโอดีเซลผ่านกระบวนการกำจัดออกซิเจนโดยอาศัยไฮโดรเจน หรือดีโอซีจีเนชัน (Deoxygenation)
  “ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะนิกเกิลและโคบอลต์นั้นมีความสามารถเทียบเท่าตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะทองคำขาว และแพลเลเดียม และนอกจากตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะนิกเกิลกับโคบอลต์จะราคาถูกกว่าทองคำขาว และแพลเลเดียมแล้ว ยังทำให้ได้น้ำมันไบโอดีเซลออกมามีประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำมันดีเซลที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมด้วย” ดร.ขจรศักดิ์กล่าว
  นอกจากนี้ทางทีมวิจัยยังได้ศึกษากระบวนการแปรรูปสารตั้งต้นจากชีวมวลอย่างชานอ้อย จุกสับประรด กากชาน้ำมัน เพื่อผลิตเป็นสารเคมีเพิ่มมูลค่า ที่สามารถใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบของเชื้อเพลิงชีวภาพหรือสารเติมแต่งเชื้อเพลิง เช่น กระบวนการเปลี่ยนเฮมิเซลลูโลส และน้ำตาลไซโลส ที่ได้จากชีวมวลเป็นกรดออเกนิคอย่าง กรดกรดลีวูลินิค (levulinic) การเปลี่ยนชีวมวลเป็นวัสดุคาร์บอนเพื่อทำเป็นตัวดูดซับ (Activated Carbon)
  ดร.ขจรศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา สำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ และกรีนไบโอดีเซลนั้น มีส่วนช่วยในการลดค่าใช้จ่าย ในเรื่องของการนำเข้าน้ำมันดีเซลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของอากาศยาน เนื่องจากมีการประเมินว่าจะมีการใช้อากาศยานในการเดินทางมากยิ่งขึ้น และในอนาคตจะมีการลงทุนในส่วนของโรงงานต้นแบบเพื่อผลิตกรีนไบโอดีเซลและเชื้อเพลิงชีวภาพจากตัวเร่งปฏิกิริยาที่พัฒนาขึ้น ซึ่งมีการคาดการว่าโรงงานต้นแบบนี้จะสามารถผลิตได้ 100 ลิตรต่อวัน

manageronline   10.08.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร