Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไอเดียนักศึกษาใช้ “นุ่น” แทนฟองน้ำไม่ต้องใช้น้ำยาล้างจาน  

    มจธ. โชว์นวัตกรรมฟองน้ำเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำมันโดยไม่ต้องใช้น้ำยาล้างจาน รวมทั้งประยุกต์ใช้เป็นเส้นใยดูดซับน้ำมันจากอาหารทอด ซับได้มากกว่า อาหารไม่อมน้ำมันและกรอบ รวมทั้งผลิตเป็นแผ่นเช็ดเครื่องสำอางจากเส้นใยนุ่น
   จากจุดเด่นของเส้นใยนุ่น คือ เป็นเส้นใยธรรมชาติจากฝักของต้นนุ่น ปราศจากยาฆ่าแมลงและสิ่งสกปรก นุ่นมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวที่สามารถดูดซับน้ำมัน และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สามารถคว้ารางวัลจากเกาหลี
   นายชุติพนธ์ ลิ้มนิวัติกุล นางสาวจิรัฐติกาล แดงด้วง นายภูวนัตถ์ รัตนเสถียร และนายธนาคาร จันทราคีรี นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. จึงนำเส้นใยนุ่นมาวิจัย และพัฒนาให้เกิดประโยชน์จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเส้นใยนุ่นได้จนเป็นผลงาน ฟองน้ำเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำมันบนภาชนะ และเครื่องครัว (SuperClean Sponge: Oily-Utensil Cleaning Material)
   ขณะที่นายฉัตรชัย กล่อมแก้ว นายธนธรณ์ เผือกวิสุทธิ์ นายปริวรรต บุญยะไทย และนายวุฒิสิทธิ์ กิจเกรียงไกร นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ได้พัฒนาเป็นแผ่นเช็ดทำความสะอาดผิว (NViro Pad: Biodegradable Cosmetic Pad)
   สำหรับผลงาน SuperClean Sponge คว้ารางวัล Gold Medal 1 รางวัล ถ้วยรางวัลพิเศษจาก WIA และรางวัลพิเศษจาก TISIAS Special Award ในงานประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ The 3rd World Invention Innovation Contest (WiC 2017) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ส่วน NViro Pad คว้า Gold Medal 1 รางวัล และถ้วยรางวัลพิเศษจาก KINEWS จากงานประกวดเดียวกัน
   นายชุติพนธ์ กล่าวว่า เส้นใยนุ่นมีสารเคลือบผิวตามธรรมชาติ หรือแว็กซ์ ซึ่งจะป้องกันน้ำทำให้เส้นใยนุ่นไม่เปียกน้ำ และมีคุณสมบัติป้องกันแมลง ไรฝุ่น และเชื้อรา ทีมวิจัยนำเส้นใยนุ่นมาลอกแว็กซ์ และเคลือบสาร 2 ชนิด คือ สารทึบน้ำ และสารลดแรงตึงผิว จะได้เส้นใยนุ่นที่มีคุณสมบัติไม่เปียกน้ำแต่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำมันได้ จึงออกแบบสำหรับการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ แผ่นทำความสะอาดภาชนะ เครื่องครัว และใช้ดูดซับน้ำมันจากอาหารทอด
  “เส้นใยพิเศษของนุ่นที่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำมันที่บรรจุใน SuperClean Sponge จำนวน 20 กรัม สามารถดูดซับน้ำมันได้ 50 เท่าของน้ำหนักเส้นใย SuperClean สามารถกำจัดคราบน้ำมันบนภาชนะโดยไม่ต้องใช้น้ำยาล้างจาน ดังนั้นการทำความสะอาดเครื่องครัวจะใช้น้ำน้อยลง ด้วยเวลาที่สั้น แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้ SuperClean Sponge เช็ดที่ผิวของในภาชนะ และล้างด้วยน้ำอุ่น ภาชนะและเครื่องครัวก็จะสะอาด”
  นายชุติพนธ์ อธิบายอีกว่าหากใช้ SuperClean ดูดซับน้ำมันจากอาหารทอด เส้นใยนุ่นสามารถทำให้อาหารทอดคายความร้อนได้ช้า น้ำมันจะออกมาจากอาหารได้มาก อาหารจะไม่อมน้ำมันและคงความกรอบ ส่วนน้ำมันถูกดูดซึมบน SuperClean Sponge สามารถบีบออกได้ง่าย สามารถใช้ซ้ำได้มากกว่า 10 ครั้ง เทียบกับการดูดซับน้ำมันได้ถึง 10 ลิตร น้ำมันเหล่านี้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลได้
  ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ที่ปรึกษาทั้ง 2 ผลงาน กล่าวว่าเส้นใยนุ่นเป็นไฟเบอร์ที่เป็นท่อสั้น และผนังบาง จึงสร้างความสมดุลระหว่างความนุ่ม และความยึดหยุ่น เหมาะสำหรับการทำความสะอาดผิวที่บอบบาง พื้นที่ผิวของ NViro Pad จะเก็บกักความชื้น คายตัวได้ดี จึงลดปริมาณการใช้คลีนซิ่งและโทนเนอร์ และยาฆ่าเชื้อโรค สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยล้างทำความสะอาดด้วยการต้มในน้ำเดือด แล้วนำมาผึ่งในสภาพอากาศปกติเพียง30 นาที เส้นใยจะแห้ง ซึ่งแผ่นเส้นใยนุ่นที่ใช้แล้วสามารถย่อยสลายได้ภายใน 60 วันกลายเป็นสารอินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยในดินได้
  ผศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวว่านอกเหนือจากการทำโปรเจกต์ของนักศึกษาแล้ว ภาควิชาต้องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่นำไปสู่การตอบโจทย์ของสัมคมได้จริง ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กลุ่มอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สอนนักศึกษาและทำวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นนักลงทุนผู้ทำหน้าที่ผลิต ได้ผลงานวิจัยที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปผลิตได้จริง และได้ทรัพยากรบุคคลที่จะเข้าไปทำงานกับบริษัท และกลุ่มนักศึกษาที่ร่วมเรียนรู้การทำวิจัยที่ตอบโจทย์จริงของสังคมและมีคุณค่าผลิตได้จริง โดยเมื่อนักศึกษาจบจะมีสถานประกอบการรอรับเข้าไปทำงานเพราะเป็นส่วนหนึ่งในการทำผลงาน
  “การทำโปรเจกต์ลักษณะนี้นักศึกษาได้ใช้ความรู้แบบบูรณาการทำให้นักศึกษาได้คิดและมองครบทุกด้าน เนื่องจากผลงานนี้ไม่ใช่เป็นงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างดียว ต้องเกี่ยวกับงานชุมชน และเกษตรกรรมด้วย และสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อการแก้ปัญหาระดับโลก เช่น เส้นใยนุ่นดูดซับน้ำมันที่รั่วไหลในทะเล หรือผ้าอ้อมเด็กที่ย่อยสลายได้”

 

manageronline 09.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร