Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สายเขียวไม่รักษ์โลก...นักวิจัยพบปลูกกัญชาปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมจนน่าตกใจ  

  นักวิจัยพบกัญชาที่ลักลอบปลูกอย่างผิดกฎหมายในแคลิฟอร์เนีย ปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมเพียบ ทั้งยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา ปุ๋ยเคมี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ รวมถึงสัตว์ป่าหายาก
    ปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว มูราด กาเบรียล (Mourad Gabriel) นักนิเวศวิทยา ซึ่งทำงานกับศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาครบวงจร (Integral Ecology Research Center) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ เผยถึงเรื่องดังกล่าวแก่รอยเตอร์ ว่าเป็นปัญหาร้ายแรงกว่าที่นักวิจัยและทางการคาดคิดไว้
     กาเบรียลประมาณว่าพื้นที่ปลูกกัญชาอย่างผินกฎหมายในที่ดินส่วนกลางของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพบการปลูกกัญชามากที่สุดนั้น มีปริมาณปุ๋ยเม็ดแข็งประมาณ 731,000 ปอนด์ (331,576 กิโลกรัม) ปุ๋ยแบบน้ำ 491,000 ออนซ์ (14,500 ลิตร) และยาฆ่าแมลงที่เป็นพิษ 200,000 ออนซ์ (6,000 ลิตร)
     สารพิษปริมาณดังกล่าวมากพอจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่เข้าไปตรวจค้นพื้นที่เพาะปลูก และสัมผัสสารเคมีเหล่านี้ ระหว่างบุกจู่โจมและค้นหาฟาร์มปลูกกัญชาผิดกฎหมาย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 5 คนถูกส่งโรงพยาบาล เพราะมีอาการผื่นคันที่ผิวหนังและหายใจลำบาก
     กาเบรียลผู้มีประสบการณ์ในการลงไปในพื้นที่ลักษณะนี้กว่า 100 แห่ง ยังพบด้วยว่าของเสียเหล่านี้ไม่ได้ถูกจัดการอย่างเหมาะสม โดยเขาได้บอกว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่ลงมากวาดล้างไม่ได้ทำงานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทำให้หลายพื้นที่ยังคงมีปริมาณของเสียหลงเหลือเกือบครึ่งของปริมาณของเสียเดิมที่มี และมลพิษจากฟาร์มปลูกกัญชาอย่างผิดกฎหมายนี้ยังอยู่ในระดับเตือนอันตราย
นอกจากนี้ผลจากหลายๆ การศึกษาหลายยังระบุว่า ของเสียจากการปลูกกัญชานั้นเป็นอันตรายต่อสัตว์หายากหลายชนิด อย่างการศึกษาโดยทีมของกาเบรียลพบว่า 10% ของตัวฟิชเชอร์ (fishers) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหน้าตาคล้ายพังพอนที่พบในแคลิฟอร์เนีย นั้นตายด้วยยาเบื่อพวกหนู ซึ่งเป็นสารเคมีมักจะถูกกักตุนไว้ที่ฟาร์มกัญชา เพื่อควบคุมประชากรหนู
     สารเคมีเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วทั้งฟาร์มเพื่อป้องกันศัตรูพืชที่จะเข้ามาทำลายกัญชา ทว่าท้ายสุดกลับกลายเป็นพิษต่อสัตว์อื่นๆ อย่างไม่ตั้งใจ ฟิซเชอร์บางตัวมีสารพิษในระบบทางเดินอาหาร มากกว่า 6 ชนิด ซึ่งบ่งบอกถึงระดับการปนเปื้อนที่ค่อนข้างน่ากังวล
สารพิษเหล่านี้ยังมีผลต่อสัตว์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน โดย บิล ซีลินสกี (Bill Zielinski) นักวิจัย ซึ่งทำงานทีสถานีวิจัยแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ (Pacific Southwest Research Station) ของกรมป่าไม้สหรัฐฯ (Forest Service) กล่าวว่า ตัวฟิชเชอร์นั้นเป็นเหมือนตัวชี้วัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อ
      ซิลินสกีบอกนิวส์วีคว่า เขากังวลว่าความหนาแน่นของพื้นที่ปลูกในที่ดินสาธารณะในแคลิฟอร์เนียนั้น อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มสิ่งมีชีวิต รวมถึงส่งผลต่อดินและสิ่งมีชีวิตในน้ำตามธรรมชาติด้วย และงานวิจัยก่อนหน้ายังชี้นำว่า สารพิษจากฟาร์มเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่คร่านกฮูกในแคลิฟอร์เนียที่กินสัตว์ฟันแทะซึ่งตายจากการได้รับสารพิษ
     นอกจากการใช้สารเคมีเกษตรที่เป็นอันตรายแล้ว การเตรียมการเพาะปลูกกัญชายังต้องการน้ำมาก ซึ่งมากกว่าน้ำที่ใช้ในการปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์ถึง 2 เท่า และจากการศึกษาในปี 2015 ที่เผยแพร่ในวารสารพีเอลโอเอส วัน (PLOS One) ระบุว่า พื้นที่ปลูกกัญชาอย่างผิดกฎหมาย ในแคลิฟอร์เนียตะวันตกเฉียงใต้นั้นได้ผันน้ำถึง 1 ใน 4 ของน้ำที่ไหลในพื้นที่เข้าไปใน ลุ่มน้ำของพวกเขาเอง รายงานยังระบุว่า พบปริมาณยาฆ่าแมลง ปุ๋ย ยาฆ่าหญ้า สารฆ่าเชื้อรา ที่ถูกชะออกมาจากพื้นที่เพาะปลูกกัญชาในปริมาณสูงด้วย

manageronline 11.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร