Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ประลองแข่ง “โดรน” ขยับงานวิจัยสู่การใช้จริง   

     มากกว่าแข่งขันเพราะนี่คือการประเมินศักยภาพของงานวิจัย สู่การใช้จริง การแข่งขันประลอง “โดรน” อากาศยานไร้คนขับฝีมือไทย บนสนามแข่งขันภายใต้สถานการณ์จำลองที่อาจจะได้พบเจอในชีวิต
      ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมติดตามคณะจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งร่วมกับกองทัพบก จัดการประกวด “อากาศยานไร้คนขับ Unmanned Aerial Vehicle: UAV)” ประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 13 ส.ค.60 ณ สนามบินมณฑลทหารบกที่ 14 ภายในค่ายนวมินทราชินี กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ในสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อ.เมือง จ.ชลบุรี
      ถึงแม้นว่าสถานที่จัดการแข่งขันจะมีอากาศร้อนจัด แต่บรรยากาศภายในงานที่เป็นไปอย่างคึกคัก ทำให้เราลืมความร้อนแต่หันมาจกจ่อกับความระอุของบรรยากาศการแข่งขัน ที่มีทีมผ่านเข้ารอบชิงแชมป์ถึง 11 ทีม โดยก่อนการแข่งขันจริงแต่ละทีมได้ซักซ้อมกันหลายต่อหลายรอบ เพื่อให้แน่ใจว่ายานไร้คนขับหรือ UAV ของทีมนั้นจะพาพวกเขาคว้าแชมป์มาครองได้
      เมื่อถึงเวลาทีมที่เข้าแข่งขันนำ UAV มาตั้งตรงจุดที่ใช้ออกตัว จากนั้นแต่ละทีมมีเวลาตรวจเช็คสภาพ และทดสอบระบบได้อีกประมาณ 1 นาที ก่อนที่คณะกรรมการจะให้สัญญาณและทำการออกตัว โดยระบบที่ใช้ในการบังคับ UAV นั้นมีทั้งระบบ Autonomous (อัตโนมัติ) Semi- Autonomous (กึ่งอัตโนมัติ) และ Manual (บังคับโดยผู้ควบคุม)
      สิ้นเสียงสัญญาณการออกตัว ทีมที่เข้าแข่งขันจะบังคับ UAV ให้ค่อยๆ ลอยตัวขึ้นไปในอากาศ ซึ่งมีระดับความสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร ถึง 2 เมตรตามแต่ภารกิจ โดยในการแข่งขันจะเป็นการแข่งขันทีละทีม โดยแต่ละทีมจะต้องทำการบินออกไปทำภารกิจแต่ละด้าน และลงจอดภายในเวลา 5 นาทีเท่านั้น
        ภารกิจในการแข่งขันมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ การควบคุม UAV เข้าไปสำรวจแผ่นป้ายซึ่งจำลองเป็นพื้นที่สิ่งแวดล้อมในการแข่งขันด้านทรัพยากรธรรมชาติ การควบคุม UAV เข้าไปฉีดยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยในแปลงเกษตร สำหรับการแข่งขันด้านการเกษตร การควบคุม UAVบินสำรวจพื้นที่ชุมนุมหรือพื้นที่อันตราย ในการแข่งขันด้านความมั่นคง และการควบคุม UAV เพื่อส่งของให้ตรงจุดซึ่งเป็นภารกิจสำหรับ ด้านการขนส่งและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่ง UAV ของทีมใดสามารถทำภารกิจได้สำเร็จและรวดเร็วที่สุดก็จะได้แชมป์ไปครอง
      ในการแข่งขันครั้งนี้นอกจากผู้ชนะในแต่ละด้านแล้ว มีทีมที่ได้รางวัลพิเศษและเป็นสุดยอดแชมป์ในฐานะ “แชมป์ออฟเดอะแชมป์” (Champ of the Champ) นั่นคือทีม โดรนยุทธการและควบคุมฝูงชน ของโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ซึ่งเป็นทีมที่ใช้เวลาในการทำภารกิจน้อยที่สุดในการแข่งขัน
       เรืออากาศเอกหญิงวรรษพร แก้ววัฒนะ ครูแผนกวิชาช่างอากาศ กองการศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ผู้คุมทีม โดรนยุทการและควบคุมฝูงชน ให้สัมภาษณ์พิเศษทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมของทีม และจุดเด่นของทีมที่ทำให้คว้าชัยมาได้
       “การทำงานของทีมเราจะพยายามทำงานให้ตอบสนองต่อความต้องการ โดยโรงเรียนจ่าอากาศนั้นส่งมาสองทีม เป็นทีมทางด้านสิ่งแวดล้อม 1 ทีม และทีมทางด้านความมั่นคง 1 ทีม โดยโดรนที่นำมาแข่งนั้น เป็นโครงงานของนักเรียน และมีการนำเอามาประยุกต์ปรับแต่งเพย์โหลดให้เหมาะสมกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย” เรืออากาศเอกหญิงวรรษพรกล่าว
      ในส่วนภารกิจด้านความมั่นคงนั้น จุดเด่นของทีมโรงเรียนจ่าอากาศจะอยู่ในส่วนของวอกระจายเสียง ตัวจับระเบิดควัน และการส่องกล้องเวลากลางคืนที่ทำให้เห็นในเวลากลางคืน ส่วนโดรนทางสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นการป้องกันคนบุกรุกป่า ซึ่งตรวจพบจากการตรวจควัน ความร้อนการเผาไฟ โดยการประมวนผลนั้นจะดูจากกล้องอย่างเดียว เมื่อมีไฟขึ้นผู้ควบคุมจะหมุนกล้องเข้าไปดูไฟ เมื่อตรวจพบว่ามีผู้บุกรุกก็จะจุดพลุ
       สำหรับจุดเด่นของทีมนั้น เรืออากาศเอกหญิงวรรษพรระบุว่า เน้นความคิดสร้างสรรค์ ราคาประหยัดและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่นำไปใช้ได้ UAV ด้านความมั่นคงที่ชนะนั้น สามารถใช้ในการกระจายเสียงได้ และในตัวเพย์โหลดนั้น มีต้นทุนต่ำแต่ใช้งานได้ดี ส่วนตัวเครื่องนั้นเป็นเครื่องมือสอง และมีการดัดแปลงให้เป็นนวัตกรรมที่บินเร็วขึ้น บินดีขึ้น และแม่นยำขึ้น
        “การแข่งขันโดรนในครั้งนี้เป็นการขยับขึ้นไปอีกขั้นของการวิจัย เพิ่มจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางวิชาการ เนื่องจากเห็นว่าอากาศยานไร้คนขับหรือ UAV ประเทศไทยได้สร้างศักยภาพมาระยะหนึ่งแล้ว จากเดิมที่ประเทศไทยมีทั้งคนทั้งความรู้แล้ว จึงอยากท้าทายนักวิจัยและนักประดิษฐ์ ทั้งจากภาพรัฐและภาคเอกชนว่าถ้าหากนำมาใช้งานในสภาวะจริงจะเป็นเช่นไร ในการประกวดครั้งนี้จึงมีความคาดหวังว่าจะได้ขยับจากงานวิจัยจากงานวิจัยเพื่อความรู้ไปสู่งานวิจัยที่สามารถใช้งานได้จริง” ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกล่าว
       สำหรับความท้าทายของ UAV ในสภาวะจริงนั้น ศ.นพ.สิริฤกษ์แจงว่า มีความท้าทายทั้งในเรื่องของสภาพลม สภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศ และยังมีเรื่องความเร็วและความแม่นยำในการบินและส่งของบรรทุก นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระยะเวลาในการบิน รวมถึงเรื่องอายุการใช้งานของแบตเตอรี ว่า เพียงพอต่อภารกิจหนึ่งๆ หรือไม่ พร้อมทั้งแสดงความคาดหวังว่า ต้องการให้ UAV ฝีมือคนไทยพัฒนาความสามารถทั้งสี่ด้านคือ ด้านโครงสร้างและความแม่นย่ำ ด้านการพัฒนาพลังงานให้เพียงพอต่อการทำภารกิจ ด้านวัตถุที่มีน้ำหนักเบา และด้านเทคโนโลยีที่จะมาสนับสนุนความสามารถของ UAV อย่างการใช้นาโนเทคโนโลยี

 

manageronline 14.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร