Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

‘สยามทบพัน’พลิกตัวรับดิจิทัล  

     QR Translator เทคโนโลยีบนบรรจุภัณฑ์ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือบรรจุภัณฑ์มีกลิ่น Scent-Packaging เป็นเทคโนโลยีและเทคนิคใหม่ๆ
     QR Translator เทคโนโลยีบนบรรจุภัณฑ์ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือบรรจุภัณฑ์มีกลิ่น Scent-Packaging เป็นเทคโนโลยีและเทคนิคใหม่ๆ ที่ “สยามทบพันฯ” นำมาให้บริการคู่ค้า ย้ำบทบาทบรรจุภัณฑ์กลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้านั้นๆ ไม่ใช่แค่ความสวยงามเท่านั้น เทคโนโลยีบนบรรจุภัณฑ์ หนึ่งในกลยุทธ์การปรับตัวของ “สยามทบพันแพกเกจจิ้ง” พร้อมๆ กับการโฟกัสลูกค้ากลุ่มอาหารเพิ่มเติมจากกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และขยายฐานลูกค้าสู่เอสเอ็มอี/ธุรกิจอีคอมเมิร์ซจากภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ 1,500 ล้านบาท
จับฟู้ดส์-เอสเอ็มอีลดเสี่ยง
บริษัท สยามทบพันแพคเกจจิ้ง จำกัด ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องออฟเซทสำหรับอุตสาหกรรมรายใหญ่ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วนรายได้เป็นอันดับต้นๆ ต่อมาคู่ค้าในกลุ่มนี้เริ่มย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านที่ค่าแรงราคาถูก ส่งผลให้รายได้ลดลง จึงต้องเปลี่ยนแผนการตลาดมาโฟกัสกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีศักยภาพสูงในไทย ขณะเดียวกันในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่จำหน่ายผ่านการค้าออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มมาใช้บริการบรรจุภัณฑ์มากขึ้น จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของบริษัท ล่าสุดชิมลางตลาดเซกเมนต์นี้โดยมีลูกค้า 30 ราย คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 1% จากรายได้รวม แม้จะไม่มากแต่ถือเป็นสัญญาณที่ดีเพราะเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต อาทิ ขนมเปี๊ยะ ข้าวแต๋น จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆ
"แนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น รายเล็กรายใหญ่ นอกจากการมีผลิตภัณฑ์ดีมีคุณภาพแล้ว บรรจุภัณฑ์ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้านั้นๆ ได้อีกทางหนึ่ง” รัชนี ชัยชาติ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท สยามทบพันแพคเกจจิ้ง จำกัด กล่าว
ทั้งนี้ สยามทบพันฯ เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (49%) กับบริษัท ทบพัน พริ้นติ้ง จำกัด (51%) ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของบริษัทจากลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร 35% คอนซูเมอร์โปรดักส์ 20% เครื่องใช้ไฟฟ้า 15% ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ประมาณ 1,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ปัจจุบันการพัฒนาอย่างรวดเร็วของดิจิทัลเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภค ที่ทำให้เทรนด์บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนไป โดยยอดการสั่งผลิตต่อครั้งเล็กลงเนื่องจากความต้องการที่หลากหลายและมีขนาดเล็กลง อีกทั้งมีการเปลี่ยนดีไซน์บ่อยขึ้นหรือเฉลี่ย 6 เดือน-1ปี จากเดิม 4-5 ปี โดยเฉพาะสินค้าคอนซูเมอร์ หรือแม้กระทั่งเครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมกับใช้เทคโนโลยีในการบรรจุสินค้าแทนแรงงานคน ทำให้ลดเวลาและปลอดภัยมากขึ้น
เทคโนโลยีเปลี่ยนตลาด
ยกตัวอย่าง QR Translator (GRT) เทคโนโลยีที่ปรากฏอยู่บนบรรจุภัณฑ์ ทำหน้าที่อ่านและแปลข้อความในคิวอาร์โค้ดผ่านสมาร์ทโฟนให้เป็นภาษาที่ต้องการได้ถึง 15 ภาษารวมถึงภาษาไทย อีกทั้งสามารถช่วยกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตาเนื่องจากมีเสียงออกมาได้ด้วย
เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้เจ้าของสินค้าสื่อสารกับผู้บริโภคได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานแนะนำผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสาธิตผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่แนะนำบริษัทในกรณีที่มีผู้บริโภคหรือคู่ค้าสนใจอยากทราบประวัติความเป็นมาของบริษัทผู้ผลิตสินค้า เป็นต้น
ทุกวันนี้บรรจุภัณฑ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดจำหน่ายสินค้า นอกจากจะทำหน้าที่ในการปกป้องสินค้าภายในแล้วยังช่วยในการส่งเสริมการขายอีกด้วย บรรจุภัณฑ์ที่มีรูปแบบที่น่าสนใจจะช่วยดึงดูดให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการที่จะซื้อสินค้า ความต้องการของบรรจุภัณฑ์จึงมีมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณ รูปแบบ และคุณภาพ
ความท้าทายของการผลิตบรรจุภัณฑ์ต่อจากนี้คือ การบริหารจัดการออเดอร์ของคู่ค้าที่มีขนาดเล็กลงทั้งปริมาณและขนาด เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมและกำลังซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างความแตกต่าง อาทิ การพัฒนาการตรวจสอบการลอกเลียนแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตสามารถตรวจสอบได้ แต่ผู้บริโภคยังไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านสมาร์ทโฟน เป็นต้น
สยามทบพันมุ่งพัฒนาสินค้าโดยเน้นการผลิตสินค้าที่สวยงาม แข็งแรงโดดเด่น ด้วยการนำเทคโนโลยีและเทคนิคในการผลิตใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตสินค้า อาทิ การพิมพ์บน Metallized Paper พลาสติก ทำให้บรรจุภัณฑ์มีความโดดเด่น หรือสามารถเพิ่มการรับรู้ของผู้บริโภคด้วยประสาทสัมผัส โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ที่ทันสมัยแบบ Emboss Look หรือบรรจุภัณฑ์มีกลิ่น ที่สร้างความแตกต่างจากบรรจุภัณฑ์ทั่วไปที่เชิญชวนให้ผู้ซื้อได้ทดลองกลิ่นและเร่งการตัดสินใจซื้อให้เร็วขึ้นอีกด้วย

 

Bangkokbiznews 16.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร