Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เผยโฉมงานวิจัย “แคลเซียมอัดเม็ด” จาก “เกล็ดปลานิล”   

      หลังจากพัฒนาตามโจทย์เอกชนอยู่หลายปี ในที่สุดนักวิจัยจากมหิดลประสบความสำเร็จ ในการเปลี่ยน “เกล็ดปลานิล” เป็นแคลเซียมเสริมแบบอัดเม็ด และยังต่อยอดสู่เครื่องดื่มเสริมแคลเซีียมไม่มีสีไม่มีกลิ่นได้อีกผลิตภัณฑ์
        ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ จากภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ได้รับโจทย์วิจัยจากบริษัท แสงทอง จังหวัดสมุทรสาคร เกล็ดปลา บริษัทเอกชนที่รับซื้อเกล็ดปลาแล้วส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อสกัดเป็นแคลเซียมผงที่มีราคาแพง แต่จำนวนเกล็ดปลานั้นมีเยอะมากจนเหลือทิ้ง ทางบริษัทจึงอยากเพิ่มมูลค่าของเกล็ดปลา และกำจัดปัญหาเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์
            เมื่อทีมวิจัยได้เกล็ดปลามาจากบริษัทแล้ว ได้นำเกล็ดปลาไปทำการทดสอบก่อนว่าในเกล็ดปลานั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีสารพิษอย่างโลหะหนัก ปรอทปะปนมาหรือไม่ เนื่องจากเป็นเกล็ดปลาที่ได้มาจากอุตสาหกรรม จึงต้องทดสอบหาความเป็นพิษ และยังต้องเก็บรักษาที่ไว้ที่อุณหภูมิต่ำถึง -20 องศาเซลเซียส เนื่องจากเกล็ดปลาเน่าเสียง่าย และเมื่อสกัดออกมาเป็นก้อนแคลเซียม ก็ยังต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิเดิม จึงเป็นเหตุให้มีต้นทุนในการเก็บรักษาสูง
              เป้าหมายของทีมวิจัยคือพัฒนาสูตรแคลเซียมเสริมที่สักดได้จากเกล็ดปลา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากนักวิจัยหลายสาขา ทั้งด้านชีวเคมี ด้านชีววิทยา ด้านคณิตศาสตร์ในการมาสร้างแบบจำลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านฟิสิกส์ ซึ่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นทีทิพย์ บอกว่าได้ความร่วมมือจาก ผศ. ดร.วีรพัฒน์ พลอัน อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร
            “ในขั้นตอนการทำวิจัยนั้นจะสกัดเอาโปรตีนออกจากส่วนผสมแคลเซียมสกัดบางส่วน เพื่อทำให้สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้ แล้วนำแคลเซียมสกัดที่ได้ ไปทดลองกับหนูในระยะให้นมลูก เนื่องจากในช่วงระยะดังกล่าว แม่หนูจะสร้างและการสลายของแคลเซียมประมาณร้อยละ 5 ของร่างกาย โดยแคลเซียมจากร่างกายของแม่หนูนั้น จะถูกสลายจากกระดูกและเข้าไปละลายในน้ำนม เมื่อนำไปทดลองกับแคลเซียมที่สกัดออกมาจากเกล็ดปลา จะทำให้เห็นผลได้ชัดกว่าหนูในสภาวะปกติ”
              จากการทดลองดังกล่าวนั้นทำให้เกิดการต่อยอดศึกษาตัวแปรที่ส่งผลในการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกายต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาทีมวิจัยพบว่ามี โซเดียม น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและมีกรดอะมิโนบางตัว เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย จากนั้นจะนำข้อมูลไปศึกษาเรื่องสูตรของผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมว่า ต้องใส่ตัวแปรต่างๆ กับแคลเซียมในสัดส่วนเท่าใด เพื่อที่จะทำให้ดูดซึมแคลเซียมเสริมได้ดีที่สุด โดยแคลเซียมที่มีขายตามท้องตลาดตอนนี้นั้น ร่างกายสามารถดูดซึมได้ร้อยละ 20 แต่ตอนนี้ทีมวิจัยยังหาตัวแปรที่จะช่วยเสริมการดูดซึมของร่างกายได้ยากมาก
              “ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้น หากเปลี่ยนวัตถุดิบจากเกล็ดปลานิลเป็นปลาน้ำจืดอื่น หรือแม้แต่ปลาทะเล โครงสร้างของแคลเซียมก็ไม่ต่างกันเพราะเป็น “ไฮดรอกซีอะพาไทด์” คล้ายๆ กัน แต่ถ้าใช้เกล็ดปลาจากปลาทะเลจะมีข้อจำกัดเรื่องจำนวน เนื่องจากบางฤดูไม่สามารถออกไปจับปลาได้ แต่หากใช้เกล็ดปลานิล ซึ่งเป็นปลาฟาร์มหรือปลาเลี้ยงนั้น จะทำให้กระบวนการผลิตมีวัตถุดิบอยู่ตลอด ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่ตลาดผู้บริโภค นอกจากนี้ยังสามารถใช้เกล็ดปลาชนิดอื่นมาทดแทนในกรณีที่เกล็ดปลานิลขาดตลาดได้” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นทีทิพย์ กล่าวเสริม
             สำหรับอุปสรรคในงานวิจัยนั้นเป็นเรื่องของเงินทุนด้านการจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับงานวิจัย เนื่องจากทุนวิจัยที่ได้รับนั้นไม่รวมในส่วนของการจัดซื้อครุภัณฑ์มาด้วย และในระหว่างงานวิจัยนั้นก็อาจจะได้ผลไม่ตรงกับทฤษฏีบ้าง ซึ่งในส่วนนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นทีทิพย์ กล่าวว่าเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักวิจัย
              งานวิจัยสกัดแคลเซียมจากเกล็ดปลานี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา และพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ จึงยังไม่มีผลิตภัณฑ์เป็นชิ้นเป็นอันออกมาให้เห็น แต่ตอนนี้ทีมวิจัยได้ผลิตผลิตภัณฑ์ออกให้เห็น และได้ต่อยอดสู่การวิจัยคอลลาเจน โดยหาคำตอบว่าในโปรตีนของเกล็ดปลานั้นมีกรดอะมิโนตัวใดบ้าง และกรดอะมิโนตัวใดบ้างที่ส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย ซึ่งจากการวิจัยพบว่าเกล็ดปลานั้นมีโปรตีนและคอลลาเจนไทป์ 1 (type 1)
             นอกจากนี้ยังทีมวิจัยมีผลิตภัณฑ์อีกอย่างที่ต่อยอดจากงานวิจัยพัฒนาแคลเซียมเสริมจากเกล็ดปลา นั่นคือ “น้ำแคลเซียม” ซึ่งเป็นแคลเซียมที่ได้มาจากการสกัดเกล็ดปลา และแคลเซียมธรรมชาติที่ได้จากงานวิจัยชิ้นอื่นของทีมวิจัย โดยน้ำแคลเซียมที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นน้ำที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีลักษณะเหมือนน้ำเปล่า
         “สำหรับสิทธิบัตรของงานวิจัยชิ้นนี้เป็นสิทธบัตรร่วมระหว่างทางทีมวิจัยและทางบริษัท โดยบริษัทสามารถนำงานวิจัยนี้ไปต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งผลดีของงานวิจัยนี้คือเอกชนได้ทางแก้ไขปัญหา ส่วนทีมวิจัยเองก็ได้องค์ความรู้มาต่อยอด” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นทีทิพย์ กล่าว

 

Mangeronline 17.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร