Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

โชว์ "เอนไซม์เอนอีซ" ปฏิวัติวงการสิ่งทอไทย ใช้ลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว  

      ก.วิทย์ฯ สวทช. โชว์เทคโนโลยี “เอนไซม์เอนอีซ” ทู อิน วัน ใช้ในกระบวนการผลิตสิ่งทอ ทดแทนสารเคมีในกระบวนการผลิตแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกได้ในขั้นตอนเดียว ลดต้นทุนการผลิต-เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่มสิ่งทอไทย
              กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จัดสัมมนา “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีเอนไซม์” เพื่อถ่ายทอดความรู้การใช้เทคโนโลยีผลงานวิจัย “เอนไซม์เอนอีซ” ผลงานนักวิจัย สวทช. เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค กรุงเทพฯ
              ผลงานดังกล่าวจะนำไปใช้ในวงการสิ่งทอไทย นั่นคือ “เอนไซม์เอนอีซ” สำหรับทดแทนสารเคมีในกระบวนการผลิตแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้งการลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกได้ในขั้นตอนเดียว ทำให้ประหยัดพลังงาน ลดการใช้สารเคมีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมี นายณัชนพงศ์ วชิรวงษ์บุรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงานและมีผู้ประกอบการสิ่งทอตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กว่า 200 ราย เข้าร่วมฟังสัมมนาเพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซของ สวทช.
              นายณัชนพงศ์ วชิรวงษ์บุรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเปิดสัมมนา ว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อันดับต้นที่มีการจ้างงานสูงก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ประชากร ทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับธุรกิจในหลายส่วน ตั้งแต่การผลิตเส้นด้าย การทอผ้าผืน จนถึงการตัดเย็บเสื้อสำเร็จรูปเพื่อการจำหน่าย ทั้งนี้การส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากคู่แข่งขันในตลาดระดับล่าง ซึ่งมีความได้เปรียบเชิงต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่าประเทศไทย อันได้แก่ ประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ดังนั้นเพื่อให้การส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาดโลก จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการในอุตสาสหกรรมสิ่งทอไทย ต้องนำเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากระบวนการผลิตให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพรวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
              "ตัวอย่างของงานวิจัยที่ผู้ประกอบการจะได้รับรู้และเข้าถึงนวัตกรรมในวันนี้ ถือเป็นความสำเร็จของวงการวิจัยไทย เนื่องจาก “เทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซ” ได้ผ่านมาตรฐานการทดสอบการใช้งานในการลอกแป้งและการกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียว ทั้งในระดับอุตสาหกรรมจากโรงงานนำร่อง กระบวนการของวิสาหกิจชุมชน รวมถึงร่วมทดสอบกับสถาบันพัฒนาสิ่งทอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นตัวช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย ที่สำคัญช่วยลดการนำเข้าเอนไซม์จากต่างประเทศมีมูลค่าหลายพันล้านบาทต่อปี จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย ลดการใช้สารเคมีและช่วยประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตได้อย่างดีหากผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้อย่างแพร่หลาย เชื่อว่าจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านราคาของผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย และสามารถที่จะแข่งขันในตลาดระดับบน จากการเพิ่มมูลค่าสิ่งทอด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างมูลค่าเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน" นายณัชนพงศ์กล่าว
              ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัย สวทช. โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และโรงงานสิ่งทอธนไพศาล ได้บูรณาการองค์ความรู้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อพัฒนา “เอนอีซ” เอนไซม์อัจฉริยะ ทู อิน วัน ให้สามารถใช้เพื่อกำจัดแป้งและสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้ ทั้ง 2 ขั้นตอนในครั้งเดียว ทดแทนสารเคมีในกระบวนการผลิต นอกจากนั้นกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายโดยใช้เอนไซม์เอนอีซ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทดแทนกระบวนการผลิตผ้าแบบดั้งเดิมในระดับอุตสาหกรรมได้ง่าย ลดระยะเวลา พลังงาน แรงงาน และช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการผลิตฝ้าฝ้าย เพราะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรใดๆ เป็นผลดีให้ผู้ประกอบการเพิ่มกำลังการผลิตผ้าฝ้ายต่อวันได้มากขึ้น และค่าใช้จ่ายโดยรวมในการผลิตลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งของกระบวนการแบบดั้งเดิม โดยที่ผ่านมาทีมวิจัยได้นำไปเทคโนโลยีดังกล่าว ทดสอบภาคสนามแล้ว ที่ โรงงานสิ่งทอธนไพศาล, วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ, ผู้ประกอบการร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น จ.แพร่ และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
              “ผลการทดสอบภาคสนาม พบว่าผ้าที่ได้มีระดับการลอกแป้งและการซึมน้ำที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความนุ่ม ความแข็งแรง และความสามารถในการติดสีย้อมที่มากกว่าผ้าที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยวิธีทางเคมี และสามารถนำเข้าสู่กระบวนการฟอกย้อมและพิมพ์ลายต่อไปได้ ดังนั้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอนไซม์ดังกล่าว ในอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยปฏิวัติกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สวทช. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเอนไซม์เอนอีซให้กับบริษัท เอเซีย สตาร์ เทรด จำกัด เพื่อผลิตเอนไซม์สูตรน้ำขายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะวางขายในท้องตลาดได้ภายในปีนี้ โดย สวทช. หวังว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยลดการขาดดุลทางการค้า ที่ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้จากการนำเข้าเอนไซม์จากต่างประเทศปีละ 2,600 ล้านบาท และมีอัตราการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง 8.4 % ต่อปี อย่างไรก็ตามการจัดงานสัมมนาครั้งนี้ ทีมวิจัย สวทช. ต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอนไซม์ การนำเอนไซม์ประยุกต์ใช้เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตลอดจนช่วยสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสิ่งทอที่มุ่งเน้นกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลงงาน ลดการใช้สารเคมี ทำให้กระบวนการผลิตสิ่งทอเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป” ผู้อำนวยการสวทช. กล่าว

 

manager online 17.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร