Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

4 ข้อต้องทำก่อนจะถูกนำด้วย AI  

          ใครที่ยังปฏิเสธว่าคงต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเข้าสู่โลกยุค AI หรือปัญญาประดิษฐ์ครองเมือง อาจต้องพิจารณาบทความนี้กันสักนิด เพราะในระยะนี้พบว่า มีบรรดาผู้นำในโลกเทคโนโลยีออกมาเตือนเกี่ยวกับการไม่เตรียมตัวรับมือยุคของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์กันหนาหูมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว
           โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ หลายคนรู้ว่า AI กำลังจะมา และจะเกิดอิมแพคกับโลกอย่างมาก แต่ก็ไม่่รู้ว่าจะเตรียมตัวอย่างไรดี วันนี้เราจึงรวบรวมมุมมอง ความคิดความเห็นและคำแนะนำของผู้รู้จากหลาย ๆ วงการมาฝากกัน ว่าเขาเหล่านั้นแนะนำให้เตรียมตัวรับมืออย่างไรได้บ้าง
              1. ยอมรับความจริงว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต้องเกิดขึ้น
              คำแนะนำให้ยอมรับความจริงอาจเป็นออกที่ดี เพราะแม้กระทั่ง Klaus Schwab ผู้ก่อตั้ง World Economic Forum ก็ยังเคยกล่าวเอาไว้ว่า บางทีอาจเป็นการดีกว่าหากเราจะยอมรับแต่เนิ่น ๆ ว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้
              โดย Klaus Schwab มองว่า ทุกคนในตอนนี้มีชีวิตอยู่ท่ามกลาง "ฝุ่นควันแห่งความเปลี่ยนแปลง" ซึ่งทำให้เรามองสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าทิศทางไหนคือสิ่งที่จะต้องเดินต่อไป ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่ควรต้องโฟกัสเป็นอันดับแรก
              ท่ามกลางฝุ่นแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้ สิ่งหนึ่งที่แน่ใจได้ก็คือ เรากำลังอยู่ช่วงคาบเกี่ยวของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่มีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้ามาเกี่ยวข้อง และความพยายามทำให้ปัญญาประดิษฐ์นั้นกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
              สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาจึงอาจเป็นการที่มนุษย์ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์มากขึ้น การมาถึงของอาชีพใหม่ ๆ ที่ต้องการทักษะพิเศษจึงจะทำงานได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้คนส่วนหนึ่งไม่มีงานทำ และสามารถนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ในสังคมได้เลยทีเดียว
              ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่มนุษย์ต้องยอมที่จะเหนื่อยมากขึ้น เรียนรู้ให้มากขึ้น และเป็นการเรียนรู้ชนิดที่ไม่อาจรับประกันได้ด้วยว่า สิ่งที่เรียนรู้ไปนั้นจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในอนาคตหรือไม่
    2. งานที่ AI จะมาทำแทนยังมีแค่สองประเภท
              ข้อดีของ AI คือ AI (ในตอนนี้) ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อแทนที่งานทุกประเภท โดยงานหลัก ๆ ที่ AI จะเข้ามาแทนที่ในตอนนี้ จากผลการวิจัยของ McKinsey และ OECD พบว่ามีอยู่สองประเภท คือ 1. งานรูทีน เหตุเพราะงานในลักษณะนี้เริ่มได้รับความนิยมน้อยลงมาก ๆ ในหมู่คนรุ่นใหม่ การเข้ามาของ AI จึงเป็นคำตอบที่ลงตัว กับแบบที่สองคืองานที่มีความท้าทายสูง หรืองานที่ต้องแก้ไขโจทย์ยาก ๆ ภายในเวลาจำกัด ซึ่งยากเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ดี และการพัฒนา AI ขึ้นทำงานแทนแม้จะมีต้นทุนสูงแต่ก็คุ้มค่าที่จะลงทุน
              ในส่วนนี้ เพื่อไม่ให้ตกงาน หรือต้องทำงานที่ควบคุมโดย AI อาจเป็นการดีกว่าหากเราได้ศึกษาเครื่องมือที่มีความเกี่ยวพันกับ AI เอาไว้บ้าง หรืออย่างน้อยเฉพาะในฟิลด์ที่ทำงานอยู่ ลองไปศึกษาดูว่า จะใช้งานมันได้อย่างไร ควบคุมมันได้อย่างไร และใช้มันเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเราได้อย่างไร เพื่อให้เมื่อเวลานั้นมาถึง ตำแหน่งงานของเราจะยังคงอยู่ในฐานะผู้ควบคุม AI
              3. แรงงานระดับกลางยังปลอดภัยไปอีกสักพัก
              ในมุมมองของ Stephane Kasriel ซีอีโอ UpWork เผยว่า ทักษะในการทำงานระดับกลางเป็นงานที่ถูกแทนที่่ได้ยากที่สุด เพราะแรงงานในระดับดังกล่าว หากจะพัฒนา AI ให้ขึ้นมาแทนได้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่สูงมากกว่า AI ระดับล่าง และมูลค่าของงานเมื่อเทียบกับการพัฒนา AI ขึ้นมาแทนก็ยังไม่สูงเท่า จึงอาจกล่าวได้ว่า งานที่ใช้ทักษะระดับกลางเป็นงานที่ "ปลอดภัย" และไม่ถูกเลิกจ้างในอนาคตอันใกล้
              อย่างไรก็ดี หากวันหนึ่งแรงงานระดับกลางถูกแทนที่ด้วย AI ขึ้นมา ถ้าคนเหล่านั้นไม่มีทักษะการทำงานขั้นสูง พวกเขาก็จะไม่ได้ไปต่อ และอาจต้องเปลี่ยนไปทำงานที่ได้รับค่าแรงต่ำแทน ซึ่งในจุดนี้จะทำให้เกิดปัญหาคนล้นงานและปัญหาสังคมตามมาได้มากมาย
              ในขณะเดียวกัน งานที่ต้องการทักษะระดับสูงก็จะขาดแคลนมากขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงานคนกลุ่มดังกล่าวด้วยค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว นำไปสู่ปัญหาช่องว่างด้านรายได้ที่กว้างมากขึ้น
              เพื่อลดปัญหานี้ สังคมต้องให้การศึกษา และให้โอกาสในการทำงานกับกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากการมาถึงของระบบออโตเมชั่นเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พวกเขามีบันไดได้ก้าวต่อไปนั่นเอง
    4. การกระจายตัวของโอกาสไม่ได้เกิดอย่างเท่าเทียม
              ในสหรัฐอเมริกามีการศึกษาของสองนักวิจัยอย่าง Daron Acemoglu และ Pascual Restrepo ที่พบว่า ทุก ๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวหุ่นยนต์ใหม่ ๆ ขึ้นนั้น คาดการณ์ได้ว่าจะเกิดการลดการจ้างงาน 6.2 ตำแหน่งตามมา
              โดยงานที่แรงงานคนนั้นยังทำได้อาจมีหลงเหลืออยู่ แต่อาจไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกันแล้ว ยกตัวอย่างเช่น งานออโตเมชั่นอาจเข้ามาในภูมิภาคหนึ่งของประเทศจนทำให้เกิดการตกงานจำนวนมาก แต่ในภูมิภาคอื่น อาจยังหางานในลักษณะเดียวกันนี้ทำได้ ซึ่งอาจเกิดการย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ ถ้าอยากทำงานในลักษณะเดิมอยู่
              ในจุดนี้ ไม่เฉพาะคนที่ถูกหุ่นยนต์แย่งงานที่ต้องได้รับการศึกษาเพิ่ม แต่เด็ก ๆ ที่กำลังเติบโตก็เช่นกัน เราต้องการการศึกษาแบบใหม่ที่สามารถสร้างคนให้รองรับกับงานในอนาคตให้ได้ด้วย
              คำเตือนเรื่องการสร้างเทคโนโลยีที่มาพร้อมความรับผิดชอบดูจะเป็นคำเตือนที่ยากที่สุด เพราะหากเป็นเมื่อก่อน การสร้างหุ่นยนต์อาจเป็นแค่งานอดิเรก หรืองานที่ทำตามคำสั่งของมนุษย์ แต่ในตอนนี้ทำแค่นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะหุ่นยนต์ในทุกวันนี้เข้ามาอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากขึ้น ดังนั้นหุ่นยนต์ก็ต้องถูกป้อนโปรแกรมให้มีจริยธรรม และคนที่จะทำให้เกิดสิ่งนั้นได้ก็คือผู้สร้างหุ่นยนต์นั่นเอง

Manager online 21.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร