Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

แคลเซียมไม่ใช่ทางออก นักวิจัยใช้ “แสงซินโครตรอน” หาสาเหตุข้อเข่าเสื่อม  

          กินแคลเซียมไม่ใช่ทางแก้ นักวิจัยไทย ใช้ “แสงซินโครตรอน” หาสาเหตุที่แท้จริงของโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้การรักษาถูกจุด ผลศึกษาพบข้อเข่าเสื่อมเกิดจากโปรตีนคอลลาเจนน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น
              พ.ท.นพ.บุระ สินธุภากร อาจารย์สำนักแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่า จากสถิติของผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในประเทศไทยของมูลนิธิโรคข้อ พบว่า ในปี 2549 ไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 34.5-45.6 ของประชากรทั้งประเทศ
              “จากเดิมโรคข้อเข่าเสื่อมจะพบในผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้พบผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยลง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสริมหลายๆ อย่างประกอบกัน”
              สำหรับปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมคือ 1.อายุ ในผู้ที่อายุมากจะเป็นการเสื่อมไปตามกาลเวลา 2.น้ำหนัก เราพบว่าผู้ป่วยที่เป็นข้อเข่าเสื่อมมักจะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 3.การใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การยกของหนักมากๆ หรือการขึ้นลงบันได โดยไม่จำเป็น และท่านั่งต่างๆ ที่เราต้องงอเข่ามาก 4.เคยมีการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่ามาก่อน เช่น กระดูกหัก เส้นเอ็น หรือหมอนรองข้องเข่าฉีกขาด
              “ข้อเข่าถือเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อที่รับน้ำหนักของร่างกาย ข้อเข่าจะประกอบไปด้วยกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกลูกสะบ้า บริเวณส่วนปลายของกระดูกจะมีกระดูกอ่อนซึ่งทำหน้าที่เป็นผิวข้อเข่า หน้าที่กระดูกอ่อนหรือกระดูกผิวข้อจะมีหน้าที่รับน้ำหนัก ช่วยให้การขยับของข้อจะเรียบและลื่น”
              “สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะข้อเข่าผ่านการใช้งาน มาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ จากการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ และเนื้อเยื่อหรืออาจะเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณข้อ การบิดหมุนข้อหรือแรงกระทำซ้ำๆ โดยสัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะพบมากในผู้สูงอายุมากกว่า 1 ใน 3 อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ”
              พ.ท.นพ.บุระ กล่าวอีกว่า สำนักแพทย์ศาสตร์และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มทส. จึงร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนโดย ดร.กาญจนา ธรรมนู และ ดร.พินิจ กิจขุนทด นักวิจัยของสถาบันฯ ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคแสงซินโครตรอน IR-microspectroscopy ซึ่งเป็นแสงย่านอินฟราเรดที่มีขนาดเล็ก ความเข้มสูงและใช้เทคนิค XAS และ X ray fluorescence ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์ประกอบทางชีวเคมีในตัวอย่างกระดูก
             ทีมวิจัยใช้แสงซินโครตรอนวิเคราะห์กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกใต้ผิวข้อ เพื่อทำการศึกษาพยาธิสภาพของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจากการตัวอย่างข้อเข่าทั้งหมด 6 ราย เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ขององค์ประกอบทางชีวเคมีในตัวอย่างกระดูก เช่น โปรตีนคอลลาเจน โปรติโอไกลแคน แคลเซี่ยม และ ฟอสฟอรัส ในช่วงอายุที่แตกต่างกัน
              3 ช่วงอายุ ประกอบด้วย 20-30 ปี, 40-50 ปี และ 70-80 ปี เทคนิคดังกล่าว สามารถตรวจสอบเนื้อเยื่อกระดูกในส่วนต่างๆ ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) กระดูกผิวใต้ข้อ (Subchondral bone)
           ทั้งนี้พบว่า ในช่วงกลุ่มอายุ 70-80 ปี มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนโครงสร้าง ของโปรตีนในบริเวณกระดูกอ่อน (Cartilage) อย่างชัดเจน ซึ่งมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดการย่อยสลายของ โครงสร้างโปรตีนคอลลาเจนเมื่ออายุมากขึ้น และมีการเสื่อมของโครงสร้างแคลเซียมในกระดูกใต้ผิวข้อ ซึ่งเป็นการพิสูจน์แล้วว่าการกินแคลเซียมไม่ช่วยเรื่องการเสื่อมของข้อ
              นักวิจัยคาดว่าการศึกษาในลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้สามารถพิสูจน์ทราบสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม อันจะนำมาซึ่งวิธีการรักษาใหม่ๆ โดยการใช้สารเคมีเพิ่มเติมให้ผู้ป่วยเพื่อทดแทนสารที่ขาดพร่องไป หรือการใช้ยารักษาให้ตรงกับสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ด้วย

 

manager online 21.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร