Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สารสกัดขมิ้นชันอภ.ขึ้นทะเบียน"ยา"  

          อย.ไฟเขียว สารสกัดขมิ้นชัน “แอนติออกซ์” ของ อภ.ขึ้นทะเบียนเป็น "ยา" เผยเป็นสมุนไพรรายแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาปัจจุบัน ใช้แทนยาตัวอื่น บรรเทาปวดโรคข้อเข่าเสื่อม เทียบกับยาต้านอักเสบ ไอบูโปรเฟน ทำการทดลองคนไข้ รพ.ศิริราช มีผลข้างเคียงท้องอืด เฟ้อ น้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน ไม่ก่อพิษเรื้อรัง อภ.เผยเตรียมวิจัยต่อเพื่อใช้เป็นยาแก้อักเสบทดแทนนำเข้า
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า แอนติออกซ์ (Antiox) สารสกัดขมิ้นชันในรูปแบบแคปซูล เป็นสมุนไพรตัวแรกของ อภ.ที่ได้ขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นยาแผนปัจจุบันสามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันที่ใช้บรรเทาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ สตรีมีครรภ์หรือระยะให้นมบุตรไม่ควรใช้ และผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีควรระวังในการใช้ โดยสารสกัดขมิ้นชัน 1 แคปซูลจะเทียบเท่าเคอร์คูมินอยด์ 250 มิลลิกรัม ซึ่งไม่เคยมีสมุนไพรได้รับการขึ้นทะเบียนในกลุ่มนี้มาก่อน ที่ผ่านมายาสมุนไพรจะนำมาใช้เป็นยาเสริมร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
นพ.นพพรกล่าวอีกว่า อภ.ได้ศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน โดยการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยเปรียบเทียบกับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟนในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ รพ.ศิริราช จำนวน 367 คน แบบสหสถาบัน การทดลองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูล 3 ครั้งต่อวัน นาน 4 สัปดาห์ จำนวน 185 คน และกลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบไอบูโปรเฟน รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน จำนวน 182 คน ซึ่งพบว่าแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดข้อของโรคข้อเข่าเสื่อม และช่วยให้ข้อเข่าดีขึ้น ไม่แตกต่างกับการใช้ยาไอบูโบรเฟน และแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันพบผลข้างเคียงด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องอืด น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาไอบูโปรเฟนอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการศึกษาทางพิษวิทยา มีการศึกษาพิษเรื้อรังในสัตว์ทดลอง พบว่าปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง
“การที่สารสกัดขมิ้นชันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน แปลว่าสามารถใช้เป็นยาแทนยาแผนปัจจุบันที่มีสรรพคุณเหมือนกันได้เลย คือถ้าใช้สารสกัดขมิ้นชันแล้วก็ไม่ต้องยาแผนปัจจุบันตัวอื่นควบคู่กันไปอีก ซึ่งผลการศึกษาสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างจากยาไอบูโปรเฟนที่เป็นยาแผนปัจจุบัน และมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า เพราะโดยสรรพคุณของขมิ้นชันปกติใช้เป็นยาแก้ท้องอืดอยู่แล้ว และ อภ.มีเป้าหมายที่จะศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อใช้ทดแทนยาแก้อักเสบ เพราะแต่ละปีประเทศไทยมีมูลค่าการใช้ยากลุ่มนี้หลายพันล้านบาท” นพ.นพพรกล่าว.

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร