Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“แอนโทรโปซีน” ยุคที่กำหนดขึ้นใหม่เมื่อมนุษย์ครองโลก  

        “อ่อนแอก็สูญพันธ์ไป ถ้าไหวก็ครองโลก” ไม่มีวลีไหนอีกแล้วที่เหมาะสำหรับอธิบาย ยุคที่พวกเราเหล่ามนุษย์ เป็นคนกำหนดอนาคตของโลก ยุคที่มนุษย์เป็นใหญ่สุดในระบบสิ่งมีชีวิตอย่างแท้จริง ยิ่งใหญ่ขนาดวงการธรณีวิทยาต้องมีการบัญญัติติศัพท์ใหม่ออกมาว่า “แอนโทรโปซีน”
              “แอนโทรโปซีน” (Anthrophocene) ถูกกล่าวถึงโดย พอล ครูตเซน (Paul Crutzen) นักฟิสิกส์เคมีชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี จากงานวิจัยด้านเคมีในบรรยากาศ ระหว่างการบรรยายทางวิชาการครั้งหนึ่งเมื่อปี 2000 เขาเสนอว่า แอนโทโปรซีน อาจเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ที่อุณหภูมิสูงขึ้น มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากพลาสติก และความเสื่อมถอยของระบบนิเวศปะการัง รวมถึงการสูญพันธ์ของสัตว์และพืชจำนวนมาก
              เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2560 ที่จัดขึ้นระหว่าง 17-27 ส.ค.60 ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยนิทรรศการได้บอกเล่า เรื่องการวิวัฒนาการของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอดีตจนถึงปัจจุบันผ่านนิทรรศการในรูปแบบ Carbon Playground
              นิทรรศการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวิกฤติที่โลกกำลังเผชิญอยู่ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะ ปัญหามลพิษ ภาวะโลกร้อน ปะการังฟอกขาว ผ่านทางรูปแบบของหนังสือพิมพ์เหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษทางน้ำที่มาจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการซักผ้าและล้างจาน
              เมื่อเกิดปัญหาย่อมต้องหาทางแก้ไข ดังนั้น มาตรฐานเพื่อโลกอย่าง ฉลากคาร์บอน ฉลากเขียว และมาตรฐานการประเมินอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม (LEED Building Standard) จึงเกิดขึ้นมา ซึ่งมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้เอง นำไปสู่วิถีคาร์บอนต่ำ หนึ่งในตัวอย่างนั้นคือการอุดหนุนแฟชั่นที่ยั่งยืนจากธรรมชาติ โดยเสื้อผ้าตัวที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการนั้น เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากใยไผ่ หรือการใช้วัสดุสร้างบ้านจากกากเบียร์ ซึ่งให้ลักษณะและความรู้สึกเหมือนไม้อัด แต่มีข้อดีกว่าคือกันชื้น กันน้ำ กันปลวก ไม่ติดไฟ และมีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี นอกจากจะช่วยประหยัดเงินจากการซ่อมบ้านแล้ว ยังเป็นการนำของเสียอย่างกากเบียร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย และยังมีสินค้าคาร์บอนต่ำอย่างกระเป๋าโซล่าเซลล์ และบ้านที่สามารถปิดเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านทางแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน
              นอกเหนือจากส่วนผลิตภัณฑ์แล้วนั้นยังมี โมเดลเมืองในอุดมคติอย่าง Venus project ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกออกแบบเป็นรูปวงกลม ด้วยสาเหตุที่ว่าสามารถเพิ่มเติมส่วนพื้นที่สีเขียว และยังทำให้การคมนาคมสะดวกลื่นไหลได้มากกว่าแบบสี่เหลี่ยม มีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ และเมืองแบบ นี้เกิดขึ้นจริงแล้วเมื่อปี 2538 โดยตั้งอยู่ในรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ จากการก่อตั้งโดย แจ๊ค เฟรสโก ซึ่งเมืองต้นแบบนี้สร้างบนพื้นที่ขนาด 62 ไร่ แต่ตอนนี้ยังไม่มีผู้อาศัยอยู่จริง คาดว่าเมืองอนาคตแห่งนี้ จะนำไปสู่โครงสร้างเมืองสีเขียวต่างๆ เช่น ถนนแห่งอนาคตที่เป็นทางจักรยานพลังงานแสงอาทิตย์ บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตที่บรรจุน้ำใส่ในฟิล์มสาหร่าย เพื่อลดการใช้ขวดพลาสติก
              เรื่องราวที่เล่ามานี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการ Anthropocene เท่านั้น ถ้าหากต้องการรู้ว่านิทรรศการนี้จะบอกเล่าเรื่องราวอะไรอีก ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ขอแนะนำให้ไปสัมผัสด้วยตัวเองในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2560 ณ. อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี ตั้งแต่ เวลา 9:00 – 19:00 น. ถึงวันที่ 27 ส.ค.60

Manager online 22.08.17

 

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร