Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

หลังคาติดกันแดด สิ่งประดิษฐ์ลดบ้านร้อน  

          “ชุดช่องแสงประหยัดพลังงาน-อุปกรณ์กันแดดให้หลังคา” อีกหนึ่งเทคโนโลยีช่วยให้บ้านเย็นลง 3-4 องศาเซลเซียส ป้องกันรังสียูวีสะสมในบ้าน จากการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ในมุมมองที่แตกต่างจากอดีต
เตรียมจับมือภาคเอกชนขยายสเกลการผลิตระดับอุตสาหกรรมในปี 2562
          กระเบื้องหลังคาใสจะช่วยให้บ้านสว่างด้วยแสงจากธรรมชาติ แต่บ่อยครั้งที่ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญแสงจ้าไม่สบายตาและความร้อนสะสมจากยูวี จึงกลายเป็นโจทย์โครงการวิจัยในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาทั้งประเด็นแสงที่ไม่พอดีและเทคโนโลยีต่างประเทศที่ต้นทุนสูง
ดีไซน์ตามแสงตะวัน
          โสภา วิศิษฏ์ศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า อาคารบ้านเรือนต่างๆ มักพบปัญหาแสงสว่างภายในอาคารไม่เพียงพอ บางคนเลือกที่จะเพิ่มความสว่างด้วยกระเบื้องโปร่งแสง แต่ก็ไม่สามารถควบคุมความจ้าที่ทำให้ไม่สบายตาแถมยังสะสมความร้อนไว้ภายในอาคาร ทำให้ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศมากขึ้น
          รวมทั้งรังสียูวีที่มาพร้อมแสง นอกจากส่งผลต่อร้ายต่อผิวหนังแล้ว ยังส่งผลต่อเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งอื่นๆ จึงเป็นที่มาการออกแบบรูปทรงช่องรับแสงแบบใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากแสงทางอ้อม ร่วมกับข้อมูลทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์
โครงการ “ชุดช่องแสงและอุปกรณ์กันแดดสำหรับหลังคาที่มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ” ดำเนินการร่วมกับนางสาวณัฏรี ศรีดารานนท์ นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ ศ.โจเซฟ เคดารี วิทยาลัยพลังงานและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นโดยศึกษาทฤษฎีการเดินทางของแสงและคำนวณมุมเพื่อดูที่ตั้งว่า ไทยอยู่ตรงไหนของโลก พร้อมทั้งออกแบบรูปทรงช่องรับแสงที่มี 3 ส่วนคือ ส่วนทึบแสง ส่วนโปร่งใสและส่วนระบายอากาศ
          ส่วนทึบแสงจะอยู่ในมุมที่กันแดดและป้องกันรังสียูวีโดยตรงได้ 100% ตลอดทั้งปี ขณะที่ส่วนโปร่งแสงจะอยู่ในมุมที่สามารถรับแสงทางอ้อม เป็นความสว่างในระดับที่สบายตา มีความสม่ำเสมอและทำให้ผู้ใช้อาคารสามารถมองเห็นท้องฟ้า สำหรับส่วนระบายอากาศจะอยู่ขอบล่างที่เป็นตะแกรง ซึ่งเหมาะกับการไหลเวียนอากาศ
          รูปทรงช่องรับแสงจะเป็นทรงโค้งลู่ลม ช่วยดันลมร้อนจากภายในตัวอาคารออกไปในมุมที่จะไม่ตีกลับเข้ามาในอาคาร ขณะเดียวกันก็ช่วยพัดพาฝุ่นที่เกาะในส่วนโปร่งแสงออกไปด้วย
นักวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของชุดรับแสงนี้ในกล่องทดสอบซึ่งเป็นบ้านจำลองขนาดเล็ก เบื้องต้นพบว่า สามารถลดอุณหภูมิภายในได้ 3-4 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลต่อสภาวะน่าสบายและการประหยัดพลังงานไฟฟ้า แสงสว่าง และระบบปรับอากาศ
          “เราพัฒนาโมเดลนี้โดยใช้ความรู้และอุปกรณ์ในประเทศ ไม่ต้องใช้เครื่องกลปรับมุมกันแดด ทำให้ต้นทุนต่ำ ง่ายในการผลิต เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศอย่างเซนเซอร์ ทำให้มีต้นทุนอุปกรณ์และการติดตั้งในราคาหลักหมื่นถึงหลักแสน” โสภา กล่าว

 

Bangkokbiznews 25.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร