Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

จิสด้าประกาศผลผู้ชนะไอเดียการทดลองงานวิจัยในอวกาศ   

          จิสด้าประกาศผลผู้ชนะไอเดียการทดลองงานวิจัยในอวกาศ พร้อมการปรากฏตัวของหลิว-หยาง นักบินอวกาศหญิงคนแรกของจีนที่จะช่วยสานฝันให้เยาวชนไทยสนใจภารกิจด้านอวกาศ 26 สิงหาคม 2560 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2560 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. จัดพิธีมอบรางวัลกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์อวกาศภายใต้โครงการ National Space Exploration 2017 กิจกรรมดังกล่าวโดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมด้านการทดลองวิทยาศาสตร์ในอวกาศ และในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำของไทย อีกทั้งเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักวิจัยและเยาวชน ที่อุทิศความตั้งใจให้กับกิจกรรมของรัฐ ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับโอกาสให้ทดลองในอวกาศ ได้แก่ 1.โครงการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน-สารยับยั้ง และโปรตีน-โปรตีนสำหรับการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดย ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์และทีมงาน 2.โครงการอาหารไทยไปอวกาศ โดย นายกฤษณ์ คุนผลินและทีมงาน 3.โครงการชักนำหัวของพืชสร้างหัวภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก โดย ดร. สุริยันตร์ ฉะอุ่มและทีมงาน 4.โครงการเครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อผลิตอาหารในอวกาศ โดย นายตะวัน ถิ่นถาวรกุล และทีมงาน พร้อมกันนี้ หลิว หยาง (Ms. Liu Yang) นักบินอวกาศหญิงคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาปรากฏตัวครั้งแรกภายในการประกาศผลด้วย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เร็วๆ นี้ประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ 20 ปี ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีแผนพัฒนาด้านอวกาศระยะยาวที่ชัดเจน และครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ การพัฒนาบุคลากร และการใช้ประโยชน์จากอวกาศ โดยที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านอวกาศในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศที่ได้สร้างผลพวงเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์มากมายให้กับมนุษยชาติ เช่น ดาวเทียม “การวางแผนด้านอวกาศจึงเป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคง สำหรับการรับมือต่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้การเข้าไปมีส่วนร่วมกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและพัฒนาดาวเทียม ยานสำรวจอวกาศ การทดลองงานวิจัยในอวกาศ หรือสร้างมนุษย์อวกาศตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ และเทคนิครวมถึงอรรถประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากอวกาศที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมต่างๆ ให้กับประเทศของเราได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ในอวกาศที่ผ่านมา เพื่อต้องการผลักดันวงการวิจัยไทยให้นักวิจัยไทยของเรา ได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานและองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อการทดลองในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงได้เทียบเท่าประเทศอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจที่มีมูลค่าและยั่งยืน “สำหรับการมอบรางวัลในวันนี้ เรายังได้รับเกียรติจากนักบินอวกาศหญิงคนแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน คุณหลิว หยาง มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับเส้นทางการเป็นนักบินอวกาศ ภารกิจการทดลองงานวิทยาศาสตร์อวกาศ และการปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง รวมถึงการค้นพบต่างๆ ในอวกาศ เพื่อช่วยเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนไทยทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนไทยที่จะเป็นอนาคตของชาติ ให้สามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์อวกาศต่อไป” ดร.อรรชกา กล่าว ทางด้าน ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการจิสด้า กล่าวว่า กว่าทศวรรษที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจิสด้า ได้พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศให้กับประเทศมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาและพัฒนาระบบรับสัญญาณดาวเทียม การพัฒนาดาวเทียมทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก ตลอดจนบทบาทในการเป็น data provider ให้กับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศ และวันนี้สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาได้สร้างกลไกและขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิสด้าจึงขอนำพาประเทศไปสู่อีกขั้นของกิจการอวกาศไทย นั่นคือ การศึกษา การวิจัย และการสำรวจความรู้ใหม่ๆ ในอวกาศ “จิสด้า ได้ร่วมกับ สวทช. ในการประสานความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยงานวิทยาศาสตร์อวกาศ ภายใต้โครงการ National Space Exploration หรือ NSE ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและการสำรวจในห้วงอวกาศ และรวมถึงการสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยที่มีคุณค่า และการพัฒนาต่อยอดให้เป็นนวัตกรรมอวกาศ เพื่อการพัฒนาประเทศ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย และด้านการยกระดับงานวิจัยในประเทศ ตลอดจนการขยายอุตสาหกรรมอวกาศได้ต่อไปในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องและรองรับต่อแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ 20 ปี ซึ่งในวันนี้จิสด้าได้จัดพิธีมอบรางวัลให้แก่นักวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกจากการนำเสนอโครงการวิจัยไปทดลองในอวกาศจำนวน 4 โครงการ และเยาวชนผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านอวกาศของประเทศไทยจำนวน 10 กลุ่ม เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักวิจัยและเยาวชนที่อุทิศความตั้งใจให้กับกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปรับทราบและเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศไทย ซึ่งเป็นการสร้างสังคมให้เป็นสังคมวิทยาศาสตร์ และเกิดการพัฒนาด้านองค์ความรู้ และเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป” ผอ.จิสด้ากล่าว ทางด้าน ดร.อัมรินทร์ พิมพ์หนู หัวหน้าโครงการ National Space Exploration ของจิสด้า กล่าวว่า ในห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่ยังมีสิ่งที่รอการค้นพบและตีแผ่อีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึงการวางแนวทางในอนาคตให้กับเยาวชนไทยสู่การเป็นนักบินอวกาศที่ไม่ว่าจะเป็นการเล็งเห็นความสำคัญในการแข่งขันกับนานาประเทศหรือความต้องการยกระดับงานวิจัยและระบบความเป็นอยู่พื้นฐานของคนไทยก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะเป็นใบเบิกทางให้คนไทยได้ขึ้นทำการวิจัยและสำรวจอวกาศได้ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ นักวิจัย อาจารย์ และเยาวชนคนไทยทั้งประเทศ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและขีดเส้นทางไปอวกาศ ไปดวงจันทร์ ไปดาวอังคาร และการสำรวจในห้วงอวกาศลึกของคนไทยได้ต่อไปในอนาคต ผู้จัดการออนไลน์ 27.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร