Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

รู้จัก "สารพัดพิษ" ที่อยู่ใกล้ตัว  

           “ยาพิษ” ไม้ตายไม้เด็ดของบรรดาพ่อมดแม่มดในนิยาย ที่มีวัตถุดิบในการปรุงที่หาได้ตามธรรมชาติ จากสัตว์เอย จากพืชเอย หรือแม้แต่จากตัวละครในเทพนิยายอย่างยักษ์ หรือยูนิคอร์น ซึ่งเวลาปรุงก็ยุ่งยากวุ่นวายกว่าจะได้ยาพิษออกมาซักขวดหนึ่ง แต่สำหรับพวกสัตว์มีพิษนั้นสามารถฆ่าเราได้ง่าย แค่เพียงเราสัมผัสโดนตัวสัตว์มีพิษเหล่านั้น
              ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์เก็บตกนิทรรศการ ‘สารพัดพิษ’ ในมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2560 ซึ่งได้นำสัตว์และพืชมีพิษ มาจัดแสดงเพื่อที่จะเปิดโลกการเรียนรู้ถึงโทษของสารพิษ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็สามารถใช้พิษ มาทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางการแพทย์และความงามได้
              ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับสัตว์และพืชมีพิษ ก็ต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมีพิษไว้เพื่ออะไร สำหรับผู้ล่าอย่างงู หรือแมงมุมนั้นพวกมันจำเป็นต้องมีพิษเพื่อใช้ล่าเหยื่อ แต่ในขณะเดียวกันเหยื่ออย่างกบบางชนิดหรือพืช ก็ต้องมีพิษไว้เพื่อป้องกันตัว...จะว่าไปแล้วก็ร้ายพอๆ กันทั้งผู้ล่าและเหยื่อ
              บางคนอาจจะคุ้นๆ หูกับประโยคที่ว่า ผู้หญิงก็เหมือนกุหลาบ ทั้งสวยและอันตราย ซึ่งก็ไม่ต่างกับแมลงบางชนิด อย่างผีเสื้อที่ดูภายนอกนั้นสวยงาม แต่หากสัตว์ตัวใดเกิดตะกละและกินมันเข้าไปเป็นฝูงละก็ โอกาสรอดมีน้อย นอกจากนั้นยังมีพวกแมลงอย่างต่อชนิดต่างๆ มดแดง มดคันไฟ บางตัวหน้าตาสวยงานเกินว่าจะเป็นเพชฌฆาต
              สิ่งมีชีวิตมีพิษที่จัดแสดงภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ นั้น มีอยู่มากมาก ทั้งหมามุ่ย มันสำปะหลัง ลูกชิด แอปเปิล มะกล่ำตาหนู สำหรับลูกแอปเปิลที่จัดแสดงอยู่ภายในนิทรรศการนั้นจุดประเด็นให้ทีมข่าวรู้สึกสงสัยว่า แอปเปิลนั้นจะเป็นแอปเปิลอาบยาพิษ เหมือนในเรื่องสโนไวท์หรือไม่ แต่ความจริงแล้วแอปเปิลมีพิษอยู่ในตัวเอง โดยพิษของแอปเปิลจะอยู่ในส่วนที่เป็นเมล็ด ซึ่งต้องมีการกินเข้าไปเป็นปริมาณมากจึงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
              พืชอาหารบางอย่างที่เราใช้ทำทั้งอาหารจานหลักและขนมหวานอย่างมันสำปะหลังและลูกชิดนั้นก็มีพิษ ถ้าหากเรากินเข้าไปโดยไม่ผ่านกระบวนการล้างหรือผ่านความร้อน โดยมีการแบ่งพืชพิษออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ พิษต่อระบบอาหาร พิษต่อระบบเลือดและหัวใจ พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง พิษที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และพิษต่อระบบอื่นๆ
              ถัดไปนั้นเป็นส่วนของสัตว์เลื้อยคลานอย่าง งู ตะขาบ แมงมุม มังกรโคโมโด ซึ่งมีทั้งตัวจริงและตัวที่อยู่ในโลกมาจัดแสดงให้ชม โดยสัตว์แต่ละชนิดก็มีระดับความอันตรายของพิษที่ไม่เท่ากัน สัตว์มีพิษบางตัวเมื่อกัดเราแล้วทำให้เราเสียชีวิตได้ทันที ส่วนสัตว์มีพิษบางชนิดแค่ทำให้เราอาการล่อแล่ แต่สัตว์มีพิษบางตัวนั้นจะทำอันตรายเราเมื่อเราได้รับพิษในปริมาณที่มากพอ หากได้รับพิษปริมาณน้อยก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้เลย
              นอกจากจะมีแมลง แมง พืช สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมาจัดแสดงแล้วยังสัตว์ทะเลอย่าง ปลาปักเป้า แมงกะพรุนกล่อง แมงกะพรุนโปรตุเกส ที่ทำอันตรายนักท่องเที่ยวมานักต่อนักจากการกินและการสัมผัส หอยพิษมรณะอย่างหอยเต้าปูนซึ่งอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น พวกมันชอบออกล่าเหยื่อในเวลากลางคืนโดยการใช้งวงที่มีลูกดอกพิษยิงใส่เหยื่อ ทำให้เหยื่อมีอาการปวด เป็นอัมพาตหมดความรู้สึกและกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ
              สัตว์ทะเลอย่างกระเบนนั้น มีพิษอยู่ที่เงี่ยงซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาว ปลายแหลมขอบทั้งสองมีรอยหยักเป็นฟันเลื้อย ด้านบนมีร่องจากโค่นถึงปลาย มีกลุ่มเซลล์สร้างพิษหรือต่อมพิษ อยู่ใต้ผิวชั้นนอก เมื่อเหยื่อโดนเงี่ยงกระเบนตำ แผลจะมีลักษณะคล้ายมีดบาด และ มีอาการปวดเป็นระยะ
              ส่วนแมงดาทะเลทั้ง “แมงดาถ้วย” และ “แมงดาจาน” ทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้มีต่อมพิษอยู่ในร่างกาย แต่แมงดาทะเลสะสมพิษจากอาหารที่กินเข้าไป เช่น สาหร่ายเซลล์เดียวจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate) และนอคติลูกา (Noctiluca) ซึ่งพิษเหล่านี้จะไม่ทำร้ายแมงดาทะเลโดยตรง แต่จะถูกสะสมไว้ที่ระบบทางเดินอาหารและไข่ของแมงดาทะเล โดยพิษดังกล่าวนั้นเป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า
              เหล่านี้เป็นความรู้เกี่ยวกับพิษที่อยู่ใกล้ตัวที่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์เก็บตกจากการมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งความรู้เหล่านี้อาจจะเป็นประโยชน์และช่วยชีวิตเราได้

Manager online 29.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร