Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ถอดความล้มเหลว-ความสำเร็จการทำงาน 2 นักวิจัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  

          กว่าจะไปถึงความสำเร็จต้องเรียนรู้ความล้มเหลวให้ถ่องแท้เสียก่อน เช่นเดียวกับ 2 นักวิจัยเทคโนโลยีป้องกันประเทศต่างรุ่น ที่เรียนรู้ความผิดพลาดในการทำงานของตัวเอง จนสร้างผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งกระจกกันกระสุน การสร้างจรวดดินขับและกระสุนทำฝนหลวง
              พล.อ.ต.เจษฎา คีรีรัฐนิคม รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และ น.ส.ชิดชนก ชัยชื่นชอบ นักวิจัยส่วนงานวิศวกรรมระบบขับเคลื่อน สทป.ร่วมถ่ายประสบการณ์ทำงานภายในกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-2 ก.ย.60 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งมีนักเรียนเข้าร่วมประมาณ 60 คน
              พล.อ.ต.เจษฎาเล่าว่าย้อนไปเมื่อประมาณปี 2538 เมื่อครั้งยังเป็นวิศวกรอายุน้อย ได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่ให้พัฒนาจรวดขัวเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงดินระเบิด และโครงการพัฒนากระสุนซิลเวอร์ไอโอไดน์ สำหรับยิ่งขึ้นฟ้าเพื่อทำฝนหลวง ทว่าทั้งสองโครงการเกิดปัญหาไปสามารถพัฒนาให้สำร็จได้
              ในส่วนโครงการจรวดเชื้อเพลิงดินระเบิดหรือเชื้อเพลิงแข็งชนิดคอมโพสิตน้นเกิดปัญหาเชื้อเพลิงหนืดจนไม่สามารถส่งจรวดได้ โดยเชื้อเพลิงจะแบ่งเป็นส่วนที่เป็นผงและส่วนที่เป็นของเหลว ซึ่งในช่วงนนั้น พล.อ.ต.เจษฎากล่าวว่าได้รับแรงกดดันมาก แต่ก็พยายามศึกษาจากตำราและแหล่งความรู้ต่างๆ จึงขนาดอนุภาคที่ใช้ผสมของเหลวนั้นไม่เหมาะสม จากทดลองในภาชนะเล็กๆ ได้ผล แต่เมื่อขยายขนาดกลับล้มเหลวเพราะความหนืดสูง
              พล.อ.ต.เจษฎาจึงนำเชื้อเพลิงดินมาศึกษาเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงของขนาดอนุภาคที่เหมาะสม โดยใช้เวลา 3 ปีโครงการจึงสำเร็จ และในปี 2541 ผลงานดังกล่าวได้รับรางวังชมเชยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่วนโครงการผลิตกระสุนซิลเวอร์ไอโอไดน์พบปัญหาปลอกกระสุนบวม เมื่อหาสาเหตุจึงพบว่าผ้าโทเรที่ใช้นั้นไม่เหมาะสมจึงได้เปลี่ยนไปใช้ผัาชนิดอื่น และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำผลงานดังกล่าวไปใชืเพื่อทำฝนหลวงตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน
              ส่วน น.ส.ชิดชนกมีงานวิจัยระหว่างเรียนในการพัฒนากระจกกันกระสุน ซึ่งเป็นกระจกที่ใช้วัสดุหลายชนิดประกบกันเป็นชั้นๆ เพื่อช่วยกระจายแรง โดยใช้เวลาถึง 2 ปีพัฒนารูปร่างและความหนาที่เหมาะสมของวัสดุแต่ละชั้นได้ออกมาเป็นต้นแบบ 5 แบบ และแต่ละแบบมีจำนวนสำรอง 3 ชิ้น จากนั้นได้นำผลงานไปทดสอบแต่ปรากฎว่ากระสุนทะลุกระจกทั้งหมด ทำให้เสียความมั่นใจไปมาก แต่ก็กลับมาหาสาเหตุและพัฒนาใหม่จนได้กระจกกันกระสุนที่นำไปใช้งานจริงที่ภาคใต้
              สำหรับ น.ส.ชิดชนกนั้นได้กลายมาเป็นนักเทคโนโลยีป้องกันประเทศจากความต้องการที่ชัดเจนว่า อยากพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ จึงหาคำตอบว่าจะต้องเรียนอะไรเพื่อได้ทำงานในด้านนี้ และได้พบว่าต้องเรียนทางด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์อีกสาขาหนึ่งที่เมื่อก่อนไม่เป็นทีรู้จักมากนัก
              ขณะที่ พล.อ.ต.เจษฎา เคยสอบเข้าและเรียนแพทย์ตามความต้องการของพ่อแม่ แต่ส่วนตัวนั้นมีความสนใจและอยากศึกษาทางวิศวกรรม จนกระทั่งมีโอกาสได้สมัครรับทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อเรียนต่อทางด้านวิศวกรรมตามความต้องการ ซึ่งเป็นแง่คิดว่าเมื่อมีโอกาสเข้ามาให้รีบคว้าไว้
              กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 นั้นจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง สทป.และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย พลเอกชนินทร์ จันทรโชติ ที่ปรึกษา สทป.กล่าวถึงการจัดค่ายนี้ว่า ต้องการให้เป็นเวทีทางด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน และเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าเรียนวิทยาศาสตร์แล้วทำอะไรได้บ้าง
              พลเอกชนินทร์กล่าวว่าค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 6 นี้ เป็นครั้งแรกที่จัดนอกกรุงเทพฯ เนื่องจาก สทป.มีความร่วมมือกับ ม.แม่โจ้ แต่ค่ายล่าสุดนี้มีความแตกต่างจากค่ายก่อนหน้าในเรื่องเชื้อเพลิงขับเคลื่อนจรวด จากเดิมใช้ดินระเบิด เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงแข็งที่เป็นน้ำตาล ซึ่งได้แนวคิดนี้หลังไปร่วมการแข่งขันอากาศยานไร้คนขับที่ญี่ปุ่น
              “การเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงน้ำตาลช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขนย้ายเชื้อเพลิง ซึ่งแบบเดิมเป็นวัตถุใช้ทำระเบิดได้ ดังนั้นการเคลื่อนย้ายต้องขออนุญาต คสช.*แต่เรื่องประสิทธิภาพของเชื้อเพลิงน้ำตาลนั้นอาจไม่สู้ดินระเบิด โดยจรวดที่ใช้น้ำตาลจะพุ่งขึ้นในแนวดิ่งได้สูง 350 เมตร แต่ดินระเบิดส่งจรวดได้สูงประมาณ 7,000 เมตร และพุ่งในวิถีโค้งไปได้ไกล 180 กิโลเมตร”พลเอกชนินทร์กล่าว

 

ผู้จัดการออนไลน์ 30.08.17

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร